จากกรณีที่รัฐแสดงจุดยืนถึงความจำเป็นในการเก็บภาษีหุ้น โดยเมื่อวันที่ 29 พ.ย.65 ที่ประชุม ครม. เห็นชอบเก็บภาษีขายหุ้น โดยให้เวลาปรับตัว 90 วัน เริ่ม 1 เม.ย. 2566 โดยปีแรกจะเริ่มเก็บในอัตรา 0.055% (รวมภาษีท้องถิ่น) ก่อนจะปรับเพิ่มเป็น 0.11% (รวมภาษีท้องถิ่น) ในลำดับถัดไป
เสียงสะท้อนภาคตลาดทุน นักวิชาการ และที่สำคัญนักลงทุน ต่างก็แสดงจุดยืนถึงเหตผลของความไม่เหมาะไม่ควรในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุน (FETCO) เมื่อวันที่ 30 พ.ย.65 ก็โพสต์ เฟซบุ๊กไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และ FETCO ยังได้เคยได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 5 พ.ค.65 ที่ผ่านมาด้วย
โดยพอจะสรุปสาระสำคัญคือ ไม่ได้คัดค้านการจัดเก็บภาษีดังกล่าว แต่เป็นห่วงเรื่องไทม์มิ่งที่ ณ เวลานี้อาจจะเป็นการซ้ำเติมผู้ลงทุน จนสุดท้ายเป้าหมายการจัดเก็บภาษีที่ทางการคาดหวังไว้อาจจะไม่สัมฤทธิ์ผลหรือไม่
ขณะที่ก็มีกลุ่มนักลงทุนออกมาแสดงจุดยืนในโลกโซเชียล เพื่อนัดหยุดเทรดวันที่ 8 ธ.ค.65 ที่ผ่านมา พลังรายย่อยที่ทางการเมินเฉยว่ามีแค่แสนบัญชีและไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่ ก็ทำให้วอลุ่มตลาดซบเซาลงเหลือเพียง 3-4 หมื่นลบ.เท่านั้นหากดูวอลุ่มที่เคยเทรดวันละ7-8 หมื่นลบ.จนถึง1แสนลบ.ต่อวัน
ล่าสุดฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ระบุว่าจากการประเมินสิ่งที่นักลงทุนต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หากรัฐบาลมีการเรียกเก็บภาษีขายหุ้นในปี 2566 จะส่งผลต่อนักลงทุนและตลาดหุ้นดังนี้
1. ภาระค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นสูงขึ้นถึง 64% ของค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันธุรกิจโบรกเกอร์มีค่า Comm. เฉลี่ย 0.086% หากมีการเก็บภาษีขายหุ้น 0.11% (ซึ่งเป็นอัตราการเรียกเก็บภาษีที่กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2534 แต่ก่อนค่า Comm, สูงกว่าปัจจุบันมาก) จะทำให้นักลงทุนมีภาระค่า Comm ที่สูงขึ้นถึง 64%
2. ช่วงระยะเวลาในการขึ้นภาษีเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ตามกลไกช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น กดดันระดับ P/E ในการซื้อขายจะถูกลดทอนอยู่แล้ว หากขึ้นภาษีจะเป็นการตอกย้ำให้สภาพคล่องในระบบลดลงอีก
3. ช่วงระยะเวลาในการเก็บภาษีปีหน้าเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วง Rocession หากมีการขึ้นภาษีเวลานี้ จะทำให้เสนห์ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจน้อยลง ไป
4. นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้รับภาระค่า Comm. สูงกว่านักลงทุนในประเทศ เนื่องจาก ต่างชาติซื้อขายหุ้นไทย 2022 ต่อปี 8.40 ล้านล้านบาท แต่ ส่วนการถือ ครองหุ้นไทย – NVDR เพียง 28.2% คิดเป็นมูลค่าตลาด 5.58 ล้านล้านบาท แสดงว่ามี Turnover ในการซื้อขายสูงถึง 150% ต่างกับนักลงทุนไทยทั้งหมด ซื้อขายหุ้รไทย 2022 ต่อปี สูงกว่าต่างชาติเลิกน้อย 9.12 ล้านล้านบาท แต่มีสัดส่วนการถือครองหุ้นไทย สูงถึง 71.8% หรือราว 14.2 ล้านล้านบาท
5.สถิติในปี 2011 – 2022 (12 ปี) ชี้ให้เห็นว่าผลตอบแทนเฉลี่ยตลาดหุ้นไทยมักไม่ดีในช่วงที่สภาพคล่องซื้อขายต่ำสะท้อนได้จากข้อมูล Histogram Tumover ของ SET 2011-2022 เทียบกับผลตอบแทนเฉลี่ยรายวัน พบว่า เวลาที่มูลค่าซื้อขายสูงกว่า +1SD ตลาดหุ้น มีโอกาสให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 18.3% แต่ถ้ามูลค่าการซื้อขายอยู่ในระดับปกติ ช่วง(-1SD ถึง+1SD) ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจะลดหลั่นลงมาเหลือ+5.6% ต่อปี แต่เวลาที่มูลค่าซื้อขายต่ำกว่า -1SD (Turnovel 59.7% ต่อ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ -2.9% ดังนั้นภายใต้มูลค่าซื้อขายที่มีโอกาสลดลงในอนาคต
ทีนี้ “วิ” คงรู้แล้วนะว่าใครโดนผลกระทบหนักที่สุด!!!!!!
@mitihoonwealth