Pi “บล.พาย” วิเคราะห์ สถิติย้อนหลังชี้ว่าตลาดหุ้นมักมีมูลค่าซื้อขายเบาบางช่วงใกล้สิ้นปี

157

มิติหุ้น – บทวิเคราะห์จาก บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) หรือ “Pi” “พาย” วิเคราะห์ ตลาดหุ้น Dow Jones วันศุกร์ปิดลบ 0.85% ปัจจัยกดดันยังคงมาจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยที่จะเกิดขึ้นหลัง FED เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ลดลง 2.7% ถูกกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยจะกดดันอุปสงค์น้ำมัน

สัปดาห์นี้เชื่อว่าบรรยากาศการลงทุนจะเริ่มเงียบและมูลค่าการซื้อขายก็อาจจะเบาบางไปด้วย เนื่องจากภาพรวมการลงทุนหมดปัจจัยใหญ่ๆ อย่างสัปดาห์ก่อนก็มีเงินเฟ้อสหรัฐฯและประชุม FED ขณะที่สัปดาห์นี้มีตัวเลขเศรษฐกิจที่มีผลต่อการลงทุนกลางๆ อาทิ (1) ในคืนวันอังคารราว 20.30 จะมีการรายงานยอดสร้างบ้านใหม่ของสหรัฐฯ และใบอนุญาตก่อสร้าง Bloomberg Consensus คาดที่ 1.4 ล้านหลังคาเรือนและ 1.48 ล้านใบอนุญาต (2) ในวันพุธจะมีการรายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ CB Bloomberg คาดที่ 101 (3) เงินเฟ้อ (PCE) ในวันศุกร์ช่วง 20.30 Bloomberg คาดเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 5.5%YoY 0.1%MoM เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 4.7%YoY หากประกาศมาแล้วต่ำกว่าตลาดคาดการณ์อาจเป็นแรงหนุนให้กับตลาดหุ้นได้ ทั้งนี้หากอิงมูลค่าการซื้อขายของ SET INDEX ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2018 – 2021 พบว่า 2 สัปดาห์สุดท้ายของ SET INDEX มักต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปี หากประเมินที่ปี 2018 พบว่ามูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 5.6 หมื่นล้านบาทแต่ 2 สัปดาห์สุดท้ายของ ธ.ค. 2018 อยู่ที่เพียง 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ปี 2019 พบว่าทั้งปีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาทแต่พบว่า 2 สัปดาห์สุดท้ายของ ธ.ค. ของปี 2019 อยู่ที่เพียง 3.4 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามสำหรับปี 2020 พบว่าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 6.7 หมื่นล้านบาทแต่ 2 สัปดาห์สุดท้ายของ ธ.ค. กลับสูงถึง 9.5 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดีเชื่อว่าส่วนนึงมาจากแรงเก็งกำไรเพราะช่วงนั้นทั่วโลกเริ่มประกาศค้นพบ Vaccine COVID-19 ส่วนปี 2021 ทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 8.8 หมื่นล้านบาทส่วนค่าเฉลี่ย 2 สัปดาห์สุดท้ายลดลงมาอยู่ที่ 6.68 หมื่นล้านบาท ในแง่ของผลตอบแทนช่วง 2 สัปดาห์สุดท้าย โดยสถิติแล้วมักปรับขึ้นมากกว่าปรับลง (ปี 2019 – 2021) มีเพียงปี 2018 ที่ 2 สัปดาห์สุดท้ายมีวันทำการ 7 วันแต่เป็นบวกเพียง 2 วันอีก 5 วันปรับลดลง ประเมินการเคลื่อนไหวทั้งสัปดาห์ 1600 – 1640 เชิงกลยุทธ์การลงทุน Trading ระยะสัปดาห์ได้จากสถิติที่ดูเป็นบวกเน้นหุ้น Domestic อาทิ ธนาคาร (BBL KBANK SCB TTB TISCO) ค้าปลีก (BJC HMPRO) สื่อสาร (ADVANC INTUCH) ท่องเที่ยว (AOT CENTEL ERW MINT SPA) ขนส่ง (BEM) โรงไฟฟ้า (BGRIM GSPC GULF RATCH) ร้านอาหาร (M)

BBL (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 171.00 บาท) แนวทางสำหรับไตรมาส 4/22 และปี 2022 คือ 1) คาดการเติบโตของสินเชื่อไตรมาส 4 จะทรงตัว QoQ จากการเติบโตของสินเชื่อทั้งปีที่ราว 8% (4%-6% ก่อนหน้านี้) 2) NIM ที่คาดว่าจะปรับดีขึ้นต่อเนื่องหนุนจากการปรับเพิ่มดอกเบี้ย แต่น่าจะเป็นการเติบโตระดับปานกลาง 3) คาดการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิที่ต่ำกว่าตัวเลขแนวทางบริษัทที่ 0% (น่าจะติดลบ) 4) ประเมินอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ที่ 50% ต้นตามเดิม

RATCH (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 55.00 บาท) ภาพรวมระยะยาวดูสดใส เพราะบริษัทมีโครงการในแผนการอยู่ 2.4GW ที่จะเดินเครื่องในปี 2023-26 ซึ่งจะช่วยขยายกำลังการผลิตขึ้นเป็น 10.7GW ภายในปี 2026 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 8.3%

 

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp