‘CPAC Green Solution’ คว้ารางวัลชนะเลิศระดับโลก โชว์เคสสะพานคอนกรีตที่บางที่สุดแห่งแรกในไทยและอาเซียน จับมือองค์กรวิศวกรรมต่อยอดนวัตกรรมคอนกรีตสมรรถนะสูง ยกระดับการก่อสร้างไทย

94

มิติหุ้น  –  นายชนะ ภูมี Vice President  Cement and Green Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ทาง CPAC Green Solution ได้ส่งผลงานการก่อสร้างสะพานด้วยเทคโนโลยี UHPC (Ultrahigh Performance Concrete) เข้าประกวดกับทางสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย และได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง ต่อมาทางสมาคมฯ จึงส่งผลงานดังกล่าวเข้าร่วมประกวดงาน The ACI Excellence in Concrete Construction Awards 2022 ซึ่งจัดโดย American Concrete Institute (ACI) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ ในสาขา Infrastructure จากผลงานการก่อสร้างที่ตัวแทนของสมาคมคอนกรีตจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกส่งเข้าประกวด

“รางวัลนี้นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของเอสซีจีและ CPAC Green Solution ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรม การก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รางวัลนี้เป็นสิ่งการันตีว่าเทคโนโลยี UHPC (Ultrahigh Performance Concrete) ของเราเป็นนวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติว่าสามารถแก้ปัญหาทางวิศวกรรมได้จริง มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์ด้านการออกแบบให้สวยงาม สร้างแรงบันดาลใจให้วิศวกรและสถาปนิก และยกระดับการก่อสร้างไทยให้เทียบเท่าหรือสูงกว่าระดับสากล” นายชนะ กล่าว

จุดเด่นของนวัตกรรม CPAC Ultra Bridge Solution คือ การก่อสร้างสะพานด้วยเทคโนโลยี UHPC (Ultrahigh Performance Concrete) ซึ่งเป็นคอนกรีตสมรรถนะสูง เพื่อแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโครงสร้างของสะพานโค้ง (Arch Bridge) ที่ทำการก่อสร้างในพื้นที่สำนักงานใหญ่ของ SCG ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านความสูงของสะพาน ทำให้ฐานรากต้องแบกรับแรงถีบในปริมาณสูง ฐานรากจึงต้องมีขนาดใหญ่ ส่งผลให้ต้นทุนในการก่อสร้างสูงขึ้นเป็นอย่างมาก จึงมีการเปลี่ยนการออกแบบเป็นระบบคานยื่นออกจากสองฝั่งเพื่อกำจัดแรงถีบเข้าสู่ฐานรากดังกล่าว และใช้คอนกรีตสมรรถนะสูง UHPC ในการรับแรงดัดในคานโครงสร้างสะพาน ด้วยนวัตกรรมคอนกรีตดังกล่าวที่ไม่ต้องเสริมเหล็ก ทำให้ตัวสะพานมีความบางมาก และแข็งแกร่งมากกว่าเดิม รับน้ำหนักได้ถึง 500 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยคานสะพาน ช่วงที่บางที่สุดหนาเพียง 30 เซนติเมตร ส่วนพื้นของสะพานช่วงที่บางที่สุดเฉพาะงานโครงสร้างไม่รวมงานสถาปัตย์หนาเพียง 2.เซนติเมตรเท่านั้น ถือเป็นสะพานคอนกรีตที่บางที่สุดในประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบเครื่องจักรสมรรถนะสูง พัฒนาสารผสมเพิ่มกำลังคอนกรีต รวมถึงมีการออกแบบติดตั้งระบบ Internet of Things (IoT) ในการตรวจวัดสุขภาพสะพานเพื่อที่จะสามารถติดตามตรวจสอบความแข็งแรง ของโครงสร้างตลอดอายุการใช้งาน ที่สำคัญการก่อสร้างด้านเทคโนโลยี UHPC ยังลดปริมาณคาร์บอนในการก่อสร้าง ได้ไม่น้อยกว่า 20% และสามารถยืดอายุการใช้งานโครงสร้างในระดับเกินกว่า 100 ปี

นายชนะ กล่าวต่อว่า “นอกเหนือจากการก่อสร้างสะพาน ทาง CPAC Green Solution พยายามที่จะต่อยอดเทคโนโลยี UHPC โดยกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเปลี่ยนแบบโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ จากโครงสร้างคอนกรีตอัดแรงหรือโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ เป็นโครงสร้าง UHPC โดยมีจุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนการก่อสร้างในภาพรวม ย่นระยะเวลาก่อสร้าง ใช้แรงงานน้อยลง โครงสร้างมีความทนทานสูง ต้องการ การบำรุงดูแลรักษาน้อยลง รวมถึงช่วยลดปริมาณคาร์บอนในการก่อสร้างเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยสู่ความยั่งยืน ตามแนวทาง ESG 4 Plus ของเอสซีจี (มุ่ง Net Zero  Go Green  Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ ภายใต้ความเป็นธรรม โปร่งใส) ตลอดปีที่ผ่านมาทาง CPAC Green Solution มีการนำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี UHPC กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนราชการและเอกชนให้ทราบถึงความเป็นมาและประโยชน์ของเทคโนโลยีดังกล่าว นอกจากนี้ทางบริษัทยังร่วมกับสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศหลายแห่งจัดทำคู่มือเกี่ยวกับมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างด้วยเทคโนโลยี UHPC เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง และผลักดันการพัฒนาวงการก่อสร้างของประเทศไทยให้ทัดเทียมในระดับสากล”

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp