อิทธิพลของ คลาวด์ และ Embedded Finance รวมถึงการชำระเงินแบบทันทีที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการบริการทางการเงินในประเทศไทยปี 2566  

83

มิติหุ้น –  Mambu แพลตฟอร์มธนาคารบนคลาวด์ SaaS ชั้นนำ ได้มีการเผยการคาดการณ์ของคู่ค้าประจำปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มทางการเงินชั้นนำที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมในปี 2566 เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ ได้ทำการเตรียมการพัฒนา และทำให้กิจการเติบโต ในสถานการณ์ของเศรษฐกิจที่ผันผวน

จากการรายงานเผยให้เห็นถึงข้อคิดเห็นเชิงลึก จากผู้นำในอุตสาหกรรมทางการเงิน และ Fintech รวมถึงข้อคิดเห็นจากผู้บริหารจาก AWS, Backbase, Deloitte, Google Cloud และอีกมากมาย ได้ทำการแชร์ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประเด็นสำคัญ พร้อมทั้งกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมทางการเงิน ในปีหน้า

ผลกระทบของการแพร่ระบาดนั้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในทุกอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมทางการเงิน โดยเป็นส่วนนึงที่ทำให้ธนาคารดิจิทัลทั่วประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เติบโตอย่างรวดเร็ว และนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ในด้านการบริการทางการเงิน

สำหรับปีหน้าธนาคารส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดการค่าใช้จ่าย หรือการชำระเงินต่าง ๆ โดยจะเน้นที่การสร้างอินเทอร์เฟซของตนเองมากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้เข้าถึงผู้ใช้บริการที่มีส่วนร่วมง่ายขึ้น และยังเป็นอีกช่องทางที่เพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้บริการ รักและชื่นชอบต่อแบรนด์ มากกว่าการร่วมบริการ หรือสินค้าของตนเองเข้ากับแพลตฟอร์มอื่น ๆ

คุณแดน โจนส์ หุ้นส่วนของ Oliver Wyman Digital กล่าวในผลการรายงานว่า “ระบบ Super-app ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ของตัวเอง เช่น WeChat และ AliPay ในประเทศจีน หรือ Grab และ GoTo ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นเรื่องปกติมากกว่าการทำธุรกรรมการเงินด้วยบัตรเครดิตอยู่แล้ว และใช้การตั้งค่า POS ทั้งหมด ในปัจจุบันกว่า 72% ของประเทศต่าง ๆ มีรูปแบบการชำระเงินแบบเรียลไทม์ (RTP) ของตัวเองเช่นกัน สำหรับในปี 2566 เราคาดหวังว่ารูปแบบนี้จะได้ขยายข้ามพรมแดน ซึ่งการชำระเงินข้ามพรมแดนแบบเรียลไทม์ในปัจจุบันนั้นหาได้ค่อนข้างยาก เช่น การเชื่อมโยงผ่านทวิภาคี ของ PayNow ของสิงคโปร์และแต่ละแห่งของไทย มาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงแบบพหุภาคีนั้นกำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนได้มีการลงนามในข้อตกลงสำหรับการใช้ระบบแบบข้ามพรมแดนที่แท้จริงผ่านการระบบอย่าง QR code”

คุณ Pham Quang Minh ผู้จัดการทั่วไปของ Mambu ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2566 จะเป็นปีที่สดใสต่ออนาคตทางการเงินของประเทศไทยอย่างแน่นอน จากการคาดการณ์บางอย่างของ Mambu เมื่อปีที่แล้ว เช่น การเงินแบบแยกส่วนได้ (Composable banking) หรือการชำระเงินแบบดิจิทัล จะยังคงได้รับความสนใจจากเรา สำหรับปีนี้เราได้ให้ความสนใจในเรื่องของธนาคารดิจิทัล ที่คาดว่าจะได้รับใบอนุญาตเต็มรูปแบบ และสามารถเริ่มดำเนินการได้ในปี 2566 เราขอเป็นส่วนนึง ที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ในด้านการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้บริการใช้งานได้ง่ายขึ้น ครอบคลุม และเข้าถึงได้สำหรับทุกคน”

แนวโน้มและประเด็นอื่นๆ ที่คาดว่าอาจจะเป็นผลกระทบอย่างมากต่อภาคบริการทางการเงินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่:

  • Low code/no code: วิธีการนี้จะช่วยทำให้ระบบ และการบริการทางธนาคารดิจิทัลใหม่ ๆ สามารถเข้าสู่ท้องตลาดได้เร็วยิ่งขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ สามารถ สร้างต้นแบบ prototype ของตนเองได้อย่างง่ายดาย และเป็นโอกาสที่จะให้การเปิดตัวเป็นไปอย่างอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้กระบวนการพัฒนาแบบที่ซับซ้อนและใช้ชุดทักษะการเขียนโค้ดเฉพาะ
  • เทคโนโลยีขนาดใหญ่ในการธนาคาร: บริษัทเทคโนโลยีขนาดยักใหญ่หลายแห่ง ได้มีการย้ายเข้าสู่การธนาคารในเอเชีย โดยมีบริษัท เช่น Grab, AEON และ SEA Group ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทที่มีใบอนุญาตธนาคารดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่นี้ เป็นปัจจัยนึงที่ทำให้ทางธนาคารต้องมีการปรับรูปแบบทางดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ลูกค้ามีความคาดหวังที่สูงขึ้น สำหรับประสบการณ์ดิจิทัลที่จะได้รับ ดังนั้นการธนาคารแบบเดิม จึงจำเป็นต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการเทคโนโลยี เพื่อนำเสนอการบริการด้านธนาคารที่โดดเด่นและมีประสิทธิภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น
  • ESG และการเงินที่ส่งผลกระทบทางจริยธรรม: เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ ESG ทั่วเอเชียแปซิฟิก ซึ่งไม่เพียงขับเคลื่อนธนาคารแบบเดิม แต่ยังให้บริการทางการเงินแบบแยกส่วนได้ที่ครอบคลุมมากขึ้น และยังคงคำนึงถึงความยั่งยืน มั่นคง เพื่อผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ สำหรับเอเชีย จัดว่าเป็นอีกช่องทางสำหรับธนาคารอิสลาม ที่จะสามารถเห็นถึงความสนใจจากลูกค้าที่นับถือศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาอิสลามที่เพิ่มขึ้น ในด้านการบริการการเงินอย่างมีจริยธรรม
  • การเติบโตของการปลดล็อกข้อมูล: กว่า 90% ของข้อมูลทั้งหมดที่จัดทำโดยธนาคารนั้นจะสามารถดำเนินการได้แบบเรียลไทม์โดยใช้ Machine learning ภายในสิ้นปี 2568 อ้างอิงจาก Google Cloud สถาบันการเงินจะแปลงโฉมตนเองเป็น “บริษัทข้อมูลที่มีใบอนุญาตการธนาคาร” เพื่อเข้าถึงโอกาสทางนวัตกรรมที่ถูกล็อกไว้ก่อนหน้านี้ เช่น การขอสินเชื่อบ้านภายในหนึ่งชั่วโมง หรือผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คุณ Fernando Zandona ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี และ สินค้าของ Mambu ได้มีการพูดถึงข้อสรุปว่า “สถานการณ์ทางการเงินได้มีผลกระทบค่อนข้างมากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการทางการเงิน บริษัท Fintech ต้องการยืดหยุ่นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธนาคารต้องการปรับโฉมตัวเอง และแน่นอนว่ามันจะมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สุดท้ายผู้ใช้บริการจะเป็นผู้ตัดสินว่า ผู้ให้บริการรายใดมีความโดดเด่นมากที่สุด และเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาด ซึ่งผู้ใช้บริการเหล่านี้มักจะชื่นชอบผู้ให้บริการที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เสมอ การใช้เทคโนโลยีจะเป็นหนึ่งในวิธีแรกที่อุตสาหกรรมทางด้านบริการทางการเงินต้องการ เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนา”

 

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp