รวยจนติดอันดับต้นๆ ในทวีปเอเซีย ด้วยโมเดลธุรกิจ “สร้างอำนาจเหนือตลาด”
เป็นศาสตร์การทำธุรกิจ ที่สองบริษัทยักษ์ใหญ่ในสองประเทศอย่าง Ant Group ที่มี Jack Ma มหาเศรษฐีชาวจีนเป็นผู้ก่อตั้งและ กลุ่มธุรกิจอาณาจักร CP ที่มีคุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นผู้ก่อตั้ง
ซึ่งผู้นำของทั้งสองยักษ์ใหญ่เลือกใช้วิธีการในการดำเนินธุรกิจอย่างไร จนสร้างความยิ่งใหญ่และแข็งแกร่งเหนือคู่แข่งในประเทศ
คำถามคือ โมเดลธุรกิจ “สร้างพลังเหนือตลาด” ของ Ant Group ในประเทศจีน
และอาณาจักร CP ในประเทศไทย เหมือนและต่างกันอย่างไร
เริ่มต้นด้วย Ant Group ที่มีเจ้าของคือ Jack Ma และยังเป็นผู้ก่อตั้ง Alibaba Group
แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ในประเทศจีน ที่มีธุรกิจในเครือมากมาย
จนมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญเมื่อ Jack Ma ตัดสินใจสร้างอีกหนึ่งอาณาจักรธุรกิจ
ที่ชื่อว่า Ant Group พร้อมกับสร้าง “Alipay” แพลตฟอร์มชำระเงินออนไลน์
ที่มีผู้ใช้งานกว่า 1,000 ล้านบัญชี โดยปัจจุบันคนจีนใช้จ่ายผ่าน “Alipay” แทนการใช้เงินสดไปแล้ว
และที่ใดมีผู้คนมหาศาล ที่นั้นคือโอกาสในการสร้างโมเดลธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
Jack Ma เองก็คิดเช่นนั้น เพราะนอกจากมีบริการ Alipay ที่เป็นธุรกิจหลักทาง Ant Group
ยังมีบริการทางการเงินและธุรกิจอื่น ๆ มากมาย
โดยมี Alipay เป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้คนจำนวนมหาศาล
เช่น ธุรกิจ สินเชื่อรายบุคคล และ SMEs, บริการด้านการลงทุน Wealth Management, ธนาคารออนไลน์, ประเมินเครดิต,การจ่ายเงินข้ามประเทศ บริการคลาวด์,
โดยธุรกิจเหล่านี้ผ่านทั้งการร่วมทุนกับบริษัทอื่นและลงทุนเอง
น่าจะพอนึกภาพออกว่านอกจากคนจีนใช้ Alipay ชำระค่าสินค้าและบริการอื่นๆ แล้วนั้น
ก็ยังใช้บริการธุรกิจการเงินต่างๆ ของทาง Ant Group ผ่านทาง Alipay ด้วยนั้นเอง
ผลร้ายที่ตามมา คือในวงการธุรกิจการเงิน Ant Group มีอิทธิพลและอำนาจต่อรองในประเทศจีนสูงมาก ทำให้เป็นอีกหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่ทางรัฐบาลจีนต้องออกกฎหมาย Antitrust Law
หรือ กฎหมายต่อต้านการผูกขาดตลาด
โดย Alibaba Group บริษัทแม่เองก็เคยโดนรัฐบาลจีนเล่นงานในปี 2021
จากการใช้นโยบาย “Choose one” เพื่อให้ร้านค้าออนไลน์ขายสินค้าเฉพาะแพลตฟอร์มของ Alibaba เท่านั้น
อีกทั้ง ยังเป็นแพลตฟอร์มที่เข้าถึงลูกค้ามหาศาล
รัฐบาลจีนจึงมองว่าวิธีนี้หนุนให้ Alibaba เอาเปรียบคู่แข่งมากเกินไป
จึงได้สั่งปรับ 18,230 ล้านหยวน ราว 8.8 หมื่นล้านบาท
ตัดภาพกลับมาที ประเทศไทย
เชื่อหรือไม่ ในบ้านเรามีกฎหมายป้องกันการผูกขาดเป็นประเทศแรกในอาเซียน
คือเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงล่าสุด พ.ร.บ. การแข่งขันการค้า 2560
แต่กฏหมายฉบับดังกล่าวมีก็เหมือนไม่มี เมื่อประเทศไทยไม่เคยนำกฎหมายนี้มาใช้อย่างจริงจัง
มาดูที่กลุ่มธุรกิจ CP บ้าง ปัจจุบันมีถึง 8 ธุรกิจครอบคลุมการใช้ชีวิตของคนไทยทั่วประเทศ
- เกษตรและอาหาร, 2.ค้าปลีก 3.ธุรกิจยานยนต์ 4.ธุรกิจการเงิน
5.ธุรกิจยา 6.สื่อสารโทรคมนาคม 7.อสังหาริมทรัพย์ 8. อีคอมเมิร์ซ
โดยใน 8 ธุรกิจที่ถูกสังคมไทยมองว่าเป็นการสร้างอำนาจเหนือตลาดก็มี 3 ธุรกิจหลักๆ
- เกษตรและอาหาร : รู้หรือไม่ ในอาณาจักร CP มีถึง 11 บริษัทที่อยู่ในธุรกิจนี้
พร้อมกับสร้างสายพานการผลิตตั้งแต่มีฟาร์มเพราะเลี้ยงสัตว์เป็นของตัวเอง
จนไปถึงช่องทางเสิร์ฟอาหารและของสดต่างๆ ไปถึงโต๊ะอาหารของคนไทยทั่วประเทศ
อีกทั้งมีบริษัทในเครือส่งออกอาหารและเนื้อสัตว์ไปยังตลาดต่างประเทศ
ยกตัวอย่างแค่บริษัทเดียวก็เห็นภาพทั้งหมดก็คือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จํากัด (มหาชน)
หรือ CPF ที่มี 3 ธุรกิจหลักตั้งแต่ 1.ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ 2. ธุรกิจเลี้ยงสัตว์-แปรรูป
3) ธุรกิจอาหาร ผลิตเนื้อสัตว์เป็นสินค้ากึ่งปรุงสุกและปรุงสุกและอาหารพร้อมรับประทาน
จุดพีคมันอยู่ตรงที่ CPF ยังมีช่องทางกระจายสินค้าของตัวเองครอบคลุมทั่วประเทศ
เช่น CP FreshMart, ขายเนื้อสัตว์,อาหารสดและอาหารแช่แข็ง, ไก่ย่างห้าดาว, เชสเตอร์, เป็นต้น
เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อสารพัดเมนูอาหารที่ผลิตโดย CPF
ยังขยายช่องทางการขายไปยังกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเครือ CP ALL ที่เป็นเจ้าของและถือหุ้นใหญ่
7- Eleven, Makro, Lotus
คงหมดข้อสงสัยว่า ทำไมเวลาเราเข้าร้านค้าปลีกเหล่านี้
ชั้นวางสินค้าในกลุ่มอาหารจะเต็มไปด้วยสินค้าของ CPF และบริษัทในเครือ
โดยกินพื้นที่ชั้นวางสินค้ามากกว่าแบรนด์คู่แข่งในธุรกิจอาหาร
เมื่อตัวเลือกบนชั้นวางมีแบรนด์อื่นๆ น้อย ผู้บริโภคก็เสมือนถูกบังคับให้ซื้อสารพัดเมนูอาหารและเนื้อสัตว์ของ CPF ไปโดยปริยาย
เป็นการสร้างอำนาจเหนือตลาดธุกิจอาหารในเมืองไทยแบบเบ็ดเสร็จ
ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงช่องทางจัดจำหน่าย
2.ค้าปลีก : 7- Eleven, Makro, Lotus ปัจจุบันอยู่ในมืออาณาจักร CP หมดแล้ว
โดยข้อมูล ณ ไตรมาส 3 ของปี 2565 ระบุว่าทั้ง 3 แบรนด์ค้าปลีกรวมกัน
จะมีถึง 16,387 สาขาในประเทศไทย
7- Eleven แพลตฟอร์มร้านสะดวกซื้อ 13,660 สาขา
Makro เน้นค่าส่งให้กับร้านค้าโรงแรมต่างๆ มี 147 สาขาในประเทศไทย
Lotus ไฮเปอร์มาร์เก็ต ที่ทางกลุ่ม CP เพิ่งเข้าซื้อกิจการมี 2,580 สาขาในประเทศไทย
จะเห็นว่ากลุ่ม CP มีร้านค้าปลีกครบทุกแพลตฟอร์มอีกทั้งในทุกสนามค้าปลีกนั้น
ทั้ง 7- Eleven, Makro และ Lotus ต่างมีสถานะเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดในแง่จำนวนสาขา
ที่ทิ้งห่างคู่แข่งเบอร์ 2 ขาดลอย
สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริโภคคนไทยแทบหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้บริการธุรกิจค้าปลีกของ CP
เพราะหากต้องการความสะดวกก็แทบจะเป็นตัวเลือกแรกและตัวเลือกเดียว
โดยคนที่น่าจะโดนผลกระทบหนักในเรื่องนี้ก็น่าจะมีอยู่ 2 คนหลักๆ
คนแรกก็คือ พ่อค้าแม่ค้าและร้านโชว์ห่วยต่างๆ ที่ลูกค้าอาจจะหายไปพอสมควร
และอีกกลุ่มคือ แบรนด์สินค้าและซัพพลายเออร์ ที่ต้องการเข้าถึงลูกค้ามหาศาล ก็ต้องพึ่งพาโมเดลค้าปลีกของ CP
3..สื่อสารโทรคมนาคม : การควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC จะทำให้ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ธุรกิจบริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเหลือผู้ประกอบการแค่ 2 ราย
คือ TRUE + DTAC VS AIS
ที่น่าสนใจหากการควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์มีการประเมินว่าาจะทำให้ TRUE + DTAC
มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันราวๆ 57% เลยทีเดียว
และต้องยอมรับว่าการใช้สัญญาณ 4G และ 5G ปัจจุบันได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5
ในการใช้ชีวิตของคนไทย ทีนี้เมื่อเหลือผู้เล่นหลักแค่ 2 ราย
ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนกังวลว่าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค
ทั้งการหยุดพัฒนาโครงข่าย, เพิ่มอัตราค่าบริการ, เป็นต้น
และหากการควบรวมกิจการแล้วเสร็จ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงไหมในอนาคต
คงไม่มีใครจะตอบได้
แต่ที่แน่ ๆ กลุ่มธุรกิจ CP ก็ยังขับเคลื่อนแนวคิดธุรกิจ “ต้นน้ำถึงปลายน้ำ”
พร้อมกับใช้ธุรกิจในเครือทั้งหมดค่อยเกื้อหนุนแนวคิดนี้ให้ทรงพลัง
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon