ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าคึกคัก DELTAควงFORTH สร้าง ‘เครื่องชาร์จEV’

1485

มิติหุ้น – ในหลายปีที่ผ่านประเทศไทยได้มีการพัฒนา และขยายด้านเทคโนโลยีเข้าสู่ยานพาหนะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้า(รถ EV) ได้เข้ามามีบทบาทในไทยเพิ่มขึ้น โดยในวันที่ 31 ม.ค.66 ทาง “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือส.อ.ท.” ได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขยานยนต์ที่จดทะเบียน ประเภท Battery Electric Vehicle (BEV) หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ จำนวนทั้งสิ้น 36,775 คัน  เพิ่มขึ้นจากปี65 206.33%

ดั้งนั้น ในปัจจุบัน “รถEV” ถือเป็นที่นิยมอย่างมาก ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี รวมถึงเริ่มเห็นการพัฒนาแบตเตอรี่รุ่นใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับในการชาร์จรถ EV จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เริ่มทยอยหันมาดำเนินการและลงทุนด้าน “ตู้ชาร์จรถ EV” มากขึ้น เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของรถEV ในอนาคตอันใกล้นี้

2 หุ้น สร้างแบรนด์เครื่องชาร์จEV

โดย บล.ดาโอ ประเมินว่า “บริษัทในตลาดหลักทรัพย์” ที่ดำเนินการรุกเครื่องชาร์จ EV จากการพัฒนาแบตเตอรี่ และสร้างแบรนด์เครื่องชาร์จ EV ด้วยตัวเอง ในปัจจุบันมีอยู่เพียง 2 บริษัท ได้แก่ FORTH, DELTA  เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ที่ดำเนินการด้านธุรกิจเครื่องชาร์จ EV จะนำเข้าจากต่างประเทศ

สำหรับ “สถานีชาร์จ EV” มองว่ายังคงเติบโตไม่มากนัก เพราะในปัจจุบันผู้ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่ ยังคงใช้รถแบบเดิมมากกว่ารถEV อย่างไรก็ตามหากความต้องการรถ EV เพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้การพัฒนาแบตเตอรี่เติบโตขึ้นตามไปด้วย และผู้ใช้รถ EV จะมีจุดชาร์จไฟฟ้า หรือสถานีชาร์จรถ EV เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดี คาดว่าในอนาคตบริษัทที่ดำเนินการสร้างเครื่องชาร์จ EV หรือสร้างแบรนด์ จะได้รับผลประโยชน์จากความต้องการของผู้ใช้รถEV เนื่องจากมีความต้องการที่จะนำเครื่องชาร์จรถEV เข้าไปติดตั้งในบริเวณบ้าน หรือที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ รถ EV

DELTA ลุยสตั้งเครื่องชาร์จEV

ด้านบมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือDELTA มองว่าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่เริ่มส่งสัญญาณความอ่อนแอ แต่ในส่วนของธุรกิจEV ยังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้บริษัทมีการเปิดตัวเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า AC และ DC  รวมถึงเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ V2X , อินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ (PVI) ระบบกักเก็บพลังงาน และระบบจัดการพลังงาน

ทั้งนี้ในปี 2566 บริษัทจะตั้งรูปแบบสถานีชาร์จจำลองอัดบรรจุไฟฟ้าแบบ “ไมโครกริดครบวงจร” ที่โรงงานบางปู และโรงงานบางปะกง เพื่อต้องการเพิ่มความสะดวกให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยเฉพาะคาดหวังกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ระดับ “เครือปตท.” และ “การไฟฟ้าต่างๆ” อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทมองว่า ต้องเผยแพร่ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลให้ลูกค้าเข้าใจในเบื้องต้นก่อน

ขณะเดียวกันในปี 2566 บริษัทได้ตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-20% จากปี 2565 เนื่องจากยอดขายของกลุ่มยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Data Center  และคาดว่าคำสั่งซื้อจะแข็งแกร่งในระยะต่อไป โดยบริษัทยังคงเดินหน้าขยายกำลังการผลิต โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์ ที่จะเพิ่มขึ้น 20% จากปี 2565

FORTH วางเป้าติดตั้ง GINKA 5 พันจุด

นอกจากนี้ บมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส หรือFSMART ได้เปิดตัว “GINKA Charge Point” ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) อัตโนมัติ หรือ จุดชาร์จ EV อัตโนโมัติ ซึ่งเป็นการชาร์จแบบไม่ต้องใช้แอปพลิเคชัน และจ่ายเงินได้หลากหลายรูปแบบ คาดการณ์ว่าจะเริ่มผลิต และออกสู่ตลาดภายในเดือนมี.ค.-พ.ค.66

โดยภายในสิ้นปี 2566 บริษัทตั้งเป้าว่าจะติดตั้ง ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า “GINKA” ได้ประมาณ 5,000 จุด ซึ่งบริษัทจะเข้าติดตั้งในพื้นที่ “อาคารสำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า, คอนโดมิเนียม, โรงพยาบาล เป็นต้น ดั้งนั้นบริษัทจะเน้นไปในฐานลูกค้าเดิมที่บริษัทได้ติดตั้ง “ตู้เต่าบิน” เป็นอันดับแรก

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon