Pi “บล.พาย” คาดเช้านี้ทางสหรัฐฯ ออกมาประกาศคุ้มครองเงินฝากกับผู้ฝาก SVB

197

มิติหุ้น – บทวิเคราะห์จาก บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) หรือ “Pi” “พาย” วิเคราะห์ ตลาดหุ้น Dow Jones คืนวันศุกร์ปิดลบ 1.07% นักลงทุนยังคงกังวลกับสถานการณ์ Silicon Valley ในสหรัฐฯที่อาจกระทบเป็นวงกว้าง แม้ตัวเลขการจ้างงานจะคล้ายกับว่าแสดงการอ่อนแรงก็ตาม ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปิดบวก 1.46%

สำหรับกรณี Silicon Valley สาเหตุหลักๆเกิดจากการขาดแคลนสภาพคล่องเนื่องจากเจ้าหนี้มีการระดมเงินฝากน้อยลงโดยงบดุล 4Q22 ของ SVB พบว่าปริมาณเงินฝากเริ่มชะลอตัวลง ในขณะเดียวกันเจ้าหนี้ส่วนใหญ่แล้วกว่า 50% อยู่ใน Tech , Start Up โดยทาง The Kobeissi Letter ระบุในทวิตเตอร์ว่า 3 อันดับแรกที่ฝากเงินไว้ใน SVB ได้แก่ Circle (3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) , Roku (487 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) BlockFi (227 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากการหาข้อมูลของเราพบว่า Roku ขาดทุน 237 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 4Q22 จึงพอจะสรุปได้เบื้องต้นว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ยังเป็น Tech ที่ไม่สร้างกำไรและประสบภาวะ Burn Cash ไปเรื่อยๆการระดมเงินฝากไปยัง SVB จึงน้อยลง อย่างไรก็ตามหากพิจารณาความสามารถในการทำกำไรของ SVB พบว่ามิได้แย่มากนัก 4Q22 กำไรต่อหุ้น (-36%QoQ -25.8%YoY) แต่สามารถบริหารคุณภาพสินทรัพย์ได้ดีด้วย NPL / Total Loan เพียง 0.18% และ ROE ราว 12% หากเทียบกับธนาคารพาณิชย์ไทยมี ROE ราว 8-10% และ NPL / Total loan ที่ 3.5% อนึ่ง Market Capitalization ของ SVB ก็อยู่ที่เพียง 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและเป็น Bank ที่อยู่ 3 อันดับท้ายของ S&P500 ขณะที่ Bank Of America มี Market Capitalization สูงถึง 2.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เบื้องต้น ณ ข้อมูลล่าสุดเรายังประเมินว่าผลกระทบไม่น่ารุนแรงแต่ที่ต้องติดตามจากนี้ได้แก่ (1) ธนาคารอื่นๆเผชิญการถอนเงินจากกลุ่มเจ้าหนี้หรือไม่และธนาคารอื่นๆจะต้องขายตราสารหนี้ออกมาคล้ายกับ SVB หรือไม่ (2) การประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม Start Up จะกระทบเป็นวงกว้างเพียงใด ส่วนปัจจัยสัปดาห์นี้ติดตาม (1) เงินเฟ้อสหรัฐฯ (CPI) ในวันอังคาร Bloomberg คาดที่ 6%YoY และเงินเฟ้อพื้นฐานคาดที่ 5.5%YoY หากรายงานต่ำกว่าคาดการณ์จะเป็นบวกกับตลาดหุ้น (2) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในวันพุธ Bloomberg คาดที่ 5.4%YoY หากต่ำกว่าคาดก็จะเป็นบวกกับตลาดหุ้นเช่นกัน สัปดาห์นี้ประเมิน SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1580 – 1620 เชิงกลยุทธ์ยังเน้น Domestic Play อาทิ ค้าปลีก (BJC CRC CPALL HMPRO) ธนาคาร (BBL KBANK SCB TTB TISCO) สื่อสาร (ADVANC) ศูนย์การค้า (CPN) ขนส่ง (BEM) โรงพยาบาล (BDMS) ร้านอาหาร (M)

                  CPALL (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 72.00 บาท) คงประมาณการกำไรปี 2023 ที่ 1.85 หมื่นล้านบาท (+39%YoY) หนุนจากยอดขายที่ฟื้นตัวในย่านท่องเที่ยวและมาตรการกระตุ้นภาครัฐก่อนเลือกตั้ง คาดค่าสาธารณูปโภคจะลดลงในครึ่งปีหลัง เพราะต้นทุนเชื้อเพลิงที่ลดลงตั้งแต่ต้นปี 2023

                  CPN (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 83.00 บาท) ในแง่การดำเนินงาน CPN ได้รับผลดีจากมาตรการเปิดประเทศของจีนที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวได้อย่างมาก โดยปี 23 เราประเมินรายได้อยู่ที่ 40,917 ลบ. และกำไรสุทธิ 12,855 ลบ. ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปี 19 แล้ว และหากนับตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาหลังจากจีนเปิดประเทศ ทำให้จำนวนผู้เข้าศูนย์ของ CPN ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 85% เป็นเกือบๆ 90% ของช่วงก่อนโควิด ได้แล้ว ทำให้การให้ส่วนลดมีโอกาสต่ำกว่าช่วง 4Q22 ได้

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon