มิติหุ้น – นางกาญจนา โรจวทัญญู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการตลาด ทีเอ็มบีธนชาต เผยว่า ธนาคารไม่เพียงต้องการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีให้กับลูกค้า ยังพร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงสิ่งดี ๆ และให้คืนสู่สังคมด้วย ซึ่งการจัดกิจกรรม “The Hall of Giving” พื้นที่แห่งการ “ให้” อย่างแท้จริง ในปี 2566 นี้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมซีเอสอาร์ ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของธนาคารในการสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับสังคม ซึ่งการจัดกิจกรรมจะมี 3 ช่วง ประเดิมด้วย The Hall of Giving#1 ระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2566
“The Hall of Giving ในครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2566 ที่ผ่านมานี้ ได้มีกิจกรรมเชิญชวนมาร่วมกัน “ให้” ผ่าน 3 โซนกิจกรรม ได้แก่ 1. ตลาดนัดขายสินค้าชุมชน สินค้าจากภาคเหนือ รวมถึงสินค้าจากชุมชนที่อาสาสมัครทีทีบีได้ไปร่วมพัฒนาสินค้าและสร้างอาชีพให้กับชุมชน โดยรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายสินค้า จะร่วมทำบุญกฐินพระราชทานฯ ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง จ. น่าน พร้อมด้วยบูธรับบริจาคของมูลนิธิและหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ใน “ปันบุญ” สื่อกลางในการรับบริจาคเงิน 2. อาสา…ช่วยกันทำ ผ่านกิจกรรมบัตรคำศัพท์ และสมุดทำมือเพื่อน้อง เพื่อเยาวชนที่ขาดแคลนอุปกรณ์การ 3. การแสดงของเด็กไฟ-ฟ้า พร้อมการจำหน่ายและประมูลภาพวาดของน้อง ๆ เพื่อนำรายได้ร่วมสมทบทำบุญกฐินพระราชทาน”
“ธนาคารปลูกฝังให้คนในองค์กร ตระหนักถึงการให้คืนกลับสู่สังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรในการจุดประกายการ “ให้” คืนสู่ชุมชน โดยมีทีมอาสาสมัครทีทีบีทั่วประเทศได้นำทักษะและองค์ความรู้เข้าไปช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ชุมชนสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งธนาคารอยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่สร้างแรงบันดาลใจ หรือ จุดประกายให้ผู้คนทั่วไปหันมาเป็น ผู้ให้ ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยตามกำลังที่เราทำได้ เท่านี้ก็ถือว่าเป็นการให้ที่แท้จริง” นางกาญจนา กล่าว
นายเชิดพันธุ์ เตี่ยไพบูลย์ ประธานชุมชนแผ่นดินทองคอยรุดดีน เขตหนองจอก ชุมชนที่เข้าร่วมงาน “The Hall of Giving#1 เล่าว่า “ในชุมชนมีสมาชิกทั้งหมด 135 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและทำงานรับจ้าง รวมทั้งมีผู้สูงอายุที่ครอบครัวไม่มีเวลาดูแล และได้เกิดแนวคิดนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่าง หัวปลี ที่มักเป็นส่วนเหลือทิ้งมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำพริกหัวปลี เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนและทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมร่วมกัน แต่ในช่วงแรกประสบปัญหาต้นทุนสูง เนื่องจากยังไม่รู้วิธีการจัดการที่ดี ทำให้ต้องขายในราคาที่สูงกว่าในท้องตลาดทั่วไป นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในกระบวนการผลิต
“ทีทีบีได้เข้ามาสนับสนุนในเรื่องของอุปกรณ์การผลิต เช่น เครื่องสลัดน้ำมัน และกระบวนการบรรจุด้วยเครื่องซีลกระป๋องสุญญากาศ ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนมีคุณภาพและเพิ่มมูลค่ามากขึ้น ตลอดจนให้ความรู้เรื่องการทำตลาดออนไลน์ด้วย และในอนาคตพร้อมที่จะพัฒนาสู่การเป็นชุมชนท่องเที่ยวและมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายหลากหลายตามความถนัดของแต่ละครัวเรือน อีกทั้งยังพัฒนาให้เป็นชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ซึ่งมีแนวทางในการจัดการ เช่น การจัดหาถุงผ้าเพื่อหมุนเวียนยืมคืนในร้านค้า การแยกขยะและนำขยะเศษอาหารมาทำน้ำหมักเพื่อเป็นปุ๋ย และโครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” เพื่อนำน้ำมันที่ใช้แล้วไปจำหน่ายให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเครื่อง โดยนำหลักศาสนาอิสลามมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสะอาดให้แก่ชุมชน”
ด้านนางสุนันทา ไพศาลมงคลกิจ คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านและที่ปรึกษาคณะกรรมการชุมชน ชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลู สะท้อนว่า แรกเริ่มในชุมชนมีสมาชิกอยู่ 249 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ทำอาชีพค้าขาย ซึ่งขายสินค้าตามความถนัดของแต่ละครอบครัว ทำให้ชุมชนไม่มีผลิตภัณฑ์กลางที่น่าสนใจ ทีทีบีได้เข้ามาสนับสนุนตั้งแต่การสร้างแบรนด์สินค้าให้ชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าที่โดดเด่นคือ แหนมกระดูกหมูและหมูแดดเดียว รวมทั้งยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังให้คำแนะนำและความรู้เรื่องการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ร่วมออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนให้ความรู้เรื่องการคำนวณบัญชีต้นทุนกำไร ทำให้คนในชุมชนมีรายได้และมีช่องทางการขายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน ส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี และเกิดความรักใคร่กลมเกลียวกันในชุมชน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ยังช่วยส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและเพิ่มโอกาสได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon