มิติหุ้น – คุณลินดา เชง (Linda Cheng) นิสิตเก่า MBA ศศินทร์ (MBA 1990) ชาวไต้หวัน กรรมการผู้จัดการ River City Bangkok ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยน River City Bangkok ศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ด้านศิลปะวัฒนธรรมริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลายเป็น ecosystem แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ในการสร้าง “ประสบการณ์” ด้านการชื่นชมงานศิลปะ
คุณลินดาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจิตวิญญาณผู้ประกอบการในการนำนิทรรศการ “Up the River Between Qingming” จากพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไต้หวันมาจัดแสดงเมื่อปีพ.ศ. 2561 และจากนั้นก็ประสบความสำเร็จอีกหลายครั้งในการนำนิทรรศการอื่นๆ ได้แก่ “From Monet to Kandinsky”, “Italian Renaissance”, “Something Nouveau” และ “Van Gogh” เข้ามาจัดแสดงในประเทศไทย นิทรรศการเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างการมีส่วนร่วม ยังก้าวข้ามความจำเจ ได้สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ชมจากการสัมผัสและดื่มด่ำประสบการณ์ศิลปะในรูปแบบใหม่ๆ
อานุภาพแห่งศิลปะ
ระหว่างเรียนที่ศศินทร์ คุณลินดาได้เรียนทักษะในการศึกษาตลาด หาจุดบอดและประเด็นที่มาของปัญหา ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะเป็นแรงผลักดันทางธุรกิจอย่างยั่งยืน คุณลินดาพบว่าพื้นที่แสดงศิลปะที่ศิลปิน ผู้รักศิลปะและนักสะสมของโบราณมาพบปะกันเป็นที่ต้องการอย่างมาก เชื่อว่าศิลปะเป็นสื่อเชื่อมโยงกันระหว่างมนุษย์และช่วยหล่อหลอมการเติบโตของแต่ละบุคคล เป้าหมายในการจัดนิทรรศการนั้นเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ที่มีความหมาย กระตุ้นให้ผู้เข้าชมเห็นและสัมผัสศิลปะในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิม เน้นย้ำถึงความสำคัญของการได้สัมผัสศิลปะโดยตรง “การอยู่ในวงการศิลปะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะศิลปะสามารถเป็นอะไรก็ได้ เป็นนามธรรมก็ได้ คุณต้องสัมผัสและรู้จักศิลปะด้วยตัวคุณเอง” คุณลินดา กล่าว
อุปสรรคอย่างหนึ่งที่เธอเผชิญในการนำงานศิลปะจากต่างประเทศเข้ามาสู่เมืองไทย คือการโน้มน้าวให้ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ที่ National Museum Palace ในไต้หวันทำงานร่วมกับศูนย์ศิลปะที่ไม่ใช่หอศิลป์แห่งชาติที่เป็นที่รู้จัก “เราต้องเต็มใจ และกล้าพอที่จะบอกว่าเราต้องเปลี่ยน แม้ว่ามันจะยากมากที่จะเปลี่ยนคนและเปลี่ยนความคิดก็ตาม ดังนั้นการสนทนา การสื่อสาร การสนทนาต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอก สำคัญมาก” คุณลินดาเน้นย้ำ
ความยั่งยืนผ่านความคิดสร้างสรรค์
คุณลินดาเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของ creative industry แม้ว่านวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนจะมีความสำคัญ แต่ธุรกิจด้าน creative จะเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้นั้น ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ที่สูงกว่าองค์ประกอบอื่น
“แนวคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่เราต้องมีอยู่ในใจ ในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งเติบโตได้เรื่อยๆ จงอย่ากลัวที่จะฝัน อย่ากลัวที่จะจินตนาการถึงสิ่งที่ยังไม่มี” เธอกล่าว “ฉันคิดว่านั่นคือ สิ่งที่ท้าทายที่สุดในการอยากทำสิ่งที่แตกต่าง สร้างสรรค์และไม่ธรรมดา”
การผสมผสานความยั่งยืนเข้ากับธุรกิจ หรือศิลปะอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย การคิดสร้างสรรค์จึงมีความสำคัญมาก พันธกิจของ River City Bangkok คือการส่งเสริมวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอย่างยั่งยืนด้วยการมอบประสบการณ์ที่ไม่ได้เน้นเฉพาะการค้า คุณลินดาเชื่อว่า การให้ผู้คนได้มีโอกาสสัมผัสศิลปะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือในราคาที่เอื้อมถึงนั้นมีความสำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่ แม้ว่าพวกเขาอาจยังไม่สามารถซื้องานศิลปะหรือของโบราณได้ในตอนนี้ แต่ก็ยังสามารถมีส่วนร่วมและชื่นชมศิลปะได้ คุณลินดาตั้งเป้าหมายที่จะสร้างผลตอบแทนทางสังคม โดยสร้างความเป็นชุมชนศิลปะ ทำให้คนได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับศิลปะและให้ศิลปินได้แสดงผลงานสร้างสรรค์ของพวกเขา
“ดิฉันคิดว่าความยั่งยืนนั้นยังหมายถึงประสบการณ์ของมนุษย์ที่สามารถยืนยาวได้มากกว่าประสบการณ์ทางวัตถุ และสำหรับฉันประสบการณ์ทางจิตวิญญาณนั้นจะช่วยให้ผู้คนมีความสุขมากขึ้นด้วย” คุณลินดากล่าว ด้วยวิสัยทัศน์อันเปี่ยมไปด้วยจินตนาการ River City Bangkok ได้กลายเป็นสถานที่สำหรับผู้คนที่จะเพลิดเพลินไปกับศิลปะ เป็นความสำเร็จที่ตอนแรกดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ในเมืองที่เต็มไปด้วยห้างสรรพสินค้าหรูหรา ความฝันของเธอกลายเป็นความจริงแล้ว และเธอยังมีแผนโครงการในอนาคต คือการเปิดร้านหนังสือ ไลฟ์สไตล์ที่เน้นด้านศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีต้นแบบมาจากต่างประเทศ ซึ่งจะเปิดบริการในปลายปีนี้ที่ River City Bangkok
ความสำเร็จของคุณลินดาเป็นแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการในวงการของ creative industry ทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และการคิดนอกกรอบในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนตามแบบฉบับของ Sasin School of Management ในการ inspire. connect. transform เพื่อโลกที่ดีขึ้น ฉลาดขึ้น และยั่งยืน
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.chulatutor.com/gre/
https://www.chulatutor.com/blog/gre/
https://exam.chulatutor.com/gre/
https://course.chulatutor.com/p/gre
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon