ttb ร่วมกับจุฬาฯ เปิดมิติใหม่วงการศึกษาไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ครั้งแรก! กับการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นสร้างประสบการณ์ในโลกการทำงานจริง ปั้น Tech Talents ตอบโจทย์ความต้องการภาคธุรกิจ เสริมแกร่งเติบโตอย่างยั่งยืน

103

มิติหุ้น – ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ผนึกกำลังคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปั้น Tech Talent จับมือพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT-Computer Engineering & Digital Technology) เน้นสร้างประสบการณ์ในโลกการทำงานจริงให้กับนิสิต ครั้งแรกในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของวงการการศึกษาไทยที่ต้องปรับตัวให้แตกต่าง และตอบโจทย์โลกยุคใหม่ที่ต้องการบุคลากรที่มีทักษะตรงความต้องการของภาคธุรกิจ ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านคอมพิวเตอร์ เสริมความแข็งแกร่งให้ระบบนิเวศเติบโตอย่างยั่งยืน เผยสงครามแย่งชิงตัวรุนแรง มั่นใจนิสิตจบไปแล้วเป็นที่ต้องการ พร้อมเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อองค์กรภาคเอกชนต่อไป

นายปิติ  ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีถือเป็นปัญหาระดับชาติ ทีทีบีในฐานะธนาคารขนาดใหญ่ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนประเทศ และต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายให้กับชีวิตลูกค้าผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมี ttb spark เป็น Digital Hub และ ttb analytics ที่เชี่ยวชาญทางด้าน data เพื่อพัฒนาโซลูชัน รวมไปถึงนวัตกรรมดิจิทัลที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้าที่รวดเร็ว เพื่อให้ลูกค้าของเรามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง พร้อมนำองค์ความรู้และประสบการณ์มาส่งต่อให้กับสังคม โดยล่าสุดธนาคารได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนานิสิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล หรือ Tech Talents ตอบโจทย์โลกยุคใหม่และสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ มีทักษะตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

ทีทีบีต้องการร่วมสร้างบุคลากรมาช่วยขับเคลื่อนประเทศ ผ่านการร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร CEDT ของจุฬาฯ อย่างใกล้ชิด ทีทีบีจะมาเติมภาพความต้องการของภาคธุรกิจให้ชัดเจนและสร้างประสบการณ์ในโลกการทำงานจริง การพัฒนาหลักสูตรที่มีความแตกต่างจากเดิมก็เพื่อให้นิสิตได้เห็นและสร้างประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ปีที่ โดยธนาคารจะรับนิสิตเข้าฝึกงานในภาคเรียนที่ ของนิสิตปีที่ 1-3 และปีที่ เพื่อช่วยสร้างทักษะเชิงดิจิทัลและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี เพราะเป็นหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยคาดว่านิสิตที่จบหลักสูตรนี้จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ วิเคราะห์ และสามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาในสาขาอาชีพต่าง ๆ ด้านเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี พร้อมเป็นบุคลากรสำคัญที่ขับเคลื่อนประเทศต่อไป”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์  สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาฯ ได้ร่วมกับทีทีบี และพันธมิตรภาคเอกชน พัฒนาหลักสูตรใหม่ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ในการทำงานพร้อม ๆ ไปกับการสะสมองค์ความรู้เชิงวิชาการ เพื่อพัฒนาทักษะในโลกการทำงานจริงได้รวดเร็วและแม่นยำที่สุด ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของเมืองไทยในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาหลักสูตรที่แตกต่างจากเดิม มีจุดเด่น คือ นิสิตจะได้ทำงานและเรียนรู้ประสบการณ์จริงตั้งแต่ปี ถึงปี และเรียนจบภายใน 3.5 ปี ทำให้นิสิตได้เห็นว่าตัวเองถนัดสายงานใด รวมทั้งทางจุฬาฯ และองค์กรบริษัทก็จะสามารถวางเป้าหมายได้ว่าต้องพัฒนานิสิตในมุมไหน โดยเรามุ่งเน้นผลิตกำลังคนดิจิทัลคุณภาพสูงที่ผ่านการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา จำนวน 300 คนต่อรุ่น และตั้งเป้าหมายให้ครอบคลุมภาคธุรกิจที่หลากหลาย”   

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพที่ดีที่สุดของมนุษย์ การลงทุนการศึกษาสาขาด้านนี้จึงมีช่องทางไปต่อได้หลากหลายภาคธุรกิจและมีความยั่งยืน ซึ่งปัญหาการขาดแคลนบุคลากรอย่างรุนแรงได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่ควรเติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยดิจิทัล โดยในแต่ละปีจุฬาฯ ผลิตวิศวกรคอมพิวเตอร์ได้ไม่เกิน 150 คน ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการที่มีสูงถึงหลายหมื่นคนต่อปี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องร่วมกันวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยภาคการศึกษาต้องการให้เอกชนเข้ามาร่วมปรับปรุงหลักสูตรในหลาย ๆ แง่มุมให้ตอบโจทย์ตลาดได้อย่างแท้จริง ที่สำคัญตอนนี้จุฬาฯ ไม่ได้เน้นผลิตนิสิตเรียนเก่งเกรดดี แต่มุ่งสร้างคนที่ เก่งงาน คือ เข้าใจในงาน เก่งคน คือ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และที่สำคัญต้อง เก่งดี คือ มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ยุคนี้เป็นโอกาสทองของสาขาดิจิทัล เห็นได้จากทุกภาคธุรกิจมีการแย่งบุคลากร โดยเฉพาะภาคการเงินมีความรุนแรงมาก เป็นเหตุผลที่จุฬาฯ ชวนทีทีบีมาร่วมกันพัฒนาหลักสูตร ซึ่งขอย้ำให้มั่นใจว่าคณาจารย์ที่สอนจะเป็นทีมเดียวกับหลักสูตรปกติของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่เปิดสอนเป็นแห่งแรกในไทยมานานเกือบ 50 ปี โดยจะนำประสบการณ์มาปรับใช้ เพื่อสนองนโยบายการผลิตคนให้ตรงตามเป้าหมายของตลาดแรงงาน”  

“ทีทีบีเป็นหนึ่งในธนาคารที่เข้าไปร่วมมือกับจุฬาฯ โดยมีความตั้งใจจริงในการร่วมกับภาคการศึกษาเพื่อสร้างบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์และอยากช่วยสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี โดย Tech และ Data ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยีและแพลตฟอร์ม แต่เป็นเรื่องของคน ซึ่งธนาคารมี ttb spark academy ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ รวมถึงน้อง ๆ ได้มาสัมผัสและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงจากพี่ ๆ ผู้เชี่ยวชาญ ได้ร่วมออกไอเดียและลงมือทำ สร้างงานที่ Make REAL Change ตามความเชื่อของทีทีบี เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีให้กับคนไทย โดยมีพี่ ๆ  Mentor คอยให้คำปรึกษา ช่วยพัฒนาและต่อยอดความรู้ ความสามารถของน้อง ๆ ให้แข็งแกร่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้จัด Financial Well-being Hackathon for Thais เพื่อให้น้องท้าทายตัวเองด้วยการนำความรู้ด้าน Business, Tech และ Data มาแก้ปัญหาทางการเงินให้คนไทย และสุดท้ายนี้ เราอยากเชิญชวนให้องค์กรเอกชนอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรให้ตอบโจทย์ได้ครอบคลุมทุกความต้องการของภาคธุรกิจ” นายปิติ กล่าวสรุป

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon