BCP ทุ่มงบ10,000ล้านบ. ลุยก่อสร้างหน่อยผลิตSAF พร้อมให้บริการ Q4/67

203

มิติหุ้น -BCP โดยนายชัยวัฒน์ โควาวิสารัชประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการ         ผู้จัดการใหญ่ บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น หรือ BCP เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามสัญญาก่อสร้างหน่วยผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนจากน้ำมันพืชใช้แล้ว SAF รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ระหว่างบริษัท บีเอสจีเอฟจำกัด หรือ BSGF ” ซึ่งเป็น บริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท บีบีจีไอ จำกัด(มหาชน) และบริษัท ธนโชค
ออยล์ ไลท์ จำกัด กับ บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) หรือ TTCL ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านการออกแบบวิศวกรรมและก่อสร้างโรงงานจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจกับบางจากฯ มากว่า 20 ปี

โดยการหน่วยผลิตSAF โดย BSGF คาดใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ TTCL ประมาณ 5,000 ล้านบาท ภายใต้กำลังการผลิต 1ล้านลิตร/วัน และสามารถผลิตได้ถึง 2 ล้านลิตร/ วัน ซึ่งวัตถุดิบมาจากน้ำมันพืชใช้แล้ว รับซื้อจากครัวเรือนและธุรกิจผ่านโครงการทอดไม่ทิ้งคาดหน่อยผลิตจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเริ่มให้บริการได้ในช่วงQ4/67

ทั้งนี้หน่อยการผลิต SAF ของ BSGF ได้รับการออกแบบให้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานสากล ASTM D7566 สามารถใช้กับเครื่องยนต์ของเครื่องบิน และพร้อมเข้ารับรองด้านความยั่งยืนตามมาตรฐาน ISCC (International Sustainability and Carbon Certification) เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านกฎหมายของประเทศในสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆ เมื่อเริ่มดำเนินการผลิต

โดยSAF เป็นการร่วมสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการบินในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศตามแผนขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization) ซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ SAF เป็นอย่างมากในฐานะเชื้อเพลิงสำคัญที่จะช่วยบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น เมื่อปีที่แล้ว สหรัฐอเมริกา ได้กำหนดกฎหมายลดอัตราเงินเฟ้อ(Inflation Reduction Act of 2022 – IRA) สร้างแรงจูงใจและสนับสนุนผู้ผลิตด้วยการกำหนดภาษีในการผลิต 1.75 เหรียญสหรัฐต่อแกลลอน ในขณะที่ประเทศในทวีปยุโรป
มีการใช้มาตรการบังคับให้ผสม SAF ลงไปในน้ำมันอากาศยานทั่วไปในสัดส่วนอย่างน้อย 2% ในปี 2568 และกำหนดให้เพิ่มเป็น 5% ในปี 2573 จนถึงปี 2593 ที่ต้องผสมอยู่ที่ 70% ส่วนประเทศญี่ปุ่นก็ตั้งเป้าหมายให้เครื่องบินสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ใช้สนามบินญี่ปุ่นจะต้องมีสัดส่วนการใช้ SAF อยู่ที่ 10% ภายในปี 2573

สำหรับหน่วยผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน SAF ในโรงกลั่นน้ำมันบางจาก จะใช้เทคโนโลยีในการปรับสภาพน้ำมันพืชใช้แล้ว (Pre-Treatment) ของบริษัท Desmet ประเทศมาเลเซีย โดยรวบรวมน้ำมันพืชใช้แล้วจากครัวเรือนและภาคธุรกิจผ่านโครงการทอดไม่ทิ้งและช่องทางอื่นๆ และเทคโนโลยีกระบวนการกำจัดออกซิเจน ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและแตกโมเลกุลด้วยไฮโดรเจนด้วย UOP Ecofining Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนของบริษัท Honeywell UOP ประเทศสหรัฐอเมริกา มีกำลังการผลิต 1ล้านลิตรต่อวัน คาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง อากาศยานยั่งยืนได้ภายในQ4/67

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/

Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon

Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770

Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon