หุ้นไฟแนนซ์- แบงก์ จะรอดหรือร่วง ธปท. อุ้มหนี้ครัวเรือน

1057

ตั้งแต่ปี 2563 มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่วนใหญ่จะเน้นช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ต่อมาเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ธปท. จึงปรับมาตรการไปเน้นการแก้หนี้ระยะยาวให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นั้น ทาง ธปท. ได้กำหนด “แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน” สะท้อนข้อมูลเชิงลึกของหนี้ครัวเรือนของไทย

ทั้งนี้ ทาง ธปท. ได้ออกมาตรการที่จะเร่งบังคับใช้ก่อน คือ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ส่วนที่เกี่ยวกับการการแก้หนี้เรื้อรังจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 เพื่อให้ผู้ให้บริการมีเวลาในการปรับระบบงาน และทยอยใช้ตามระดับรายได้ของลูกหนี้

ภายหลังการประกาศของ ธทป. ข้างต้น จะจะได้รับผลกระทบอย่างไรต่อกลุ่มแบงก์ และกลุ่มไฟแนนซ์ ดังนั้นกลุ่มนักวิเคราะห์ หรือกลุ่มโบรกเกอร์ ได้เริ่มทยอยออกมาวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเหล่านี้ โดยเริ่มจาก……

“แก้หนี้ครัวเรือน” สะท้อนสินเชื่อโตช้า

บล.กสิกรไทย ระบุว่า การออกมาตรการสำหรับการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ผ่านมาตรการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบของ ธปท. นั้น คาดว่าส่งผลกระทบต่อการเติบโตของยอดปล่อยสินเชื่อในภาพรวม

โดยที่ผ่านมา การปล่อยสินเชื่อนั้น ไม่ได้ประเมินรายได้มาก่อน หรือการเข้าเครดิตบูโร ฉะนั้น ทาง ธปท. ที่จะออกมาตรการดังกล่าว อาจทำให้การปล่อยสินเชื่อเติบโตช้าลง และส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นในกลุ่มไฟแนนซ์ รวมถึงอาจจะส่งผลกระทบถึงแนวโน้มการเติบโตของผลดำเนินงานธุรกิจไฟแนนซ์ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม บล.กสิกรไทย ยังคงรอดูมาตรการ ธปท. ฉบับเต็มอีกครั้ง ถึงจะประเมินผลกระทบต่อกำไรของหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ เบื้องต้นคาดว่าจะกระทบกับ AEONTS , MTC , TIDLOR , SAWAD ตามลำดับ

“มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนมีมุมมอง “เชิงลบ” ต่อหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ แนะนำให้นักลงทุน “หลีกเลี่ยง” เพื่อรอดูสถานการณ์และประเมินผลกระทบดังกล่าวรวมทั้งมองว่าหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังไม่จบขาขึ้น ซึ่งจะทำให้แนวโน้มกำไรกลุ่มดังกล่าวยังไม่ดีเนื่องจากยังมีต้นทุนกู้ยืมสูงขึ้น และการแข่งขันในอุตสาหกรรมก็ยังรุนแรงต่อเนื่อง”

KTC รับแรงกดดัน จาก “มาตรการแก้หนี้”

บล.อินโนเวสท์เอกซ์ ประเมิน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง ที่จะมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นปี 2567 จะทำให้ KTC ซึ่งเป็น 1 ในผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อบุคคล ได้รับผลกระทบ หากลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการ ด้านรายได้ดอกเบี้ยของ KTC จะลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน ผลกระทบหลังภาษีเทียบเท่ากับ 2% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2566

ดังนั้น บล.อินโนเวสท์เอกซ์ จึงปรับราคาเป้า KTC ลดลงจาก 52 บาท สู่ 44 บาท เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จากการปรับเพิ่มอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำสำหรับบัตรเครดิตจาก 5% สู่ 8% ในปี 2567 และ 10% ในปี 2568, เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง, ความเสี่ยงด้าน NIM จากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก และมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของ ธปท. เป็นต้น

ไฟแนนซ์- ธนาคาร รับอานิสงส์ “มาตรการควบคุมหนี้”

บล.ดาโอ มองว่า มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของ ธปท. เป็น sentiment “เชิงบวก” จากเกณฑ์การออกมาตรการควบคุมหนี้เรื้อรัง ที่มีความผ่อนคลายมากขึ้นจากช่วงก่อนหน้า ทั้ง ลูกหนี้ที่เข้าข่ายจะเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถปิดบัญชีได้ภายใน 5 ปี เดิม 4 ปีทำให้ปริมาณลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์การแก้ไขลูกหนี้เรื้อรังที่น้อยลง และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่น้อยลงเป็นสูงสุดไม่เกิน 10% อิงอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลที่ 25% เป็น 15% (เดิมลด 8-12%)

ขณะที่ Timeline ยังเป็นไปตามคาดที่ ธปท. จะออกมาตรการควบคุมในไตรมาส 3/66 รวมทั้งเราประเมินว่าโอกาสที่จะเกิด Moral Hazard ต่ำ เนื่องจากลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะถูกติด Flag NCB ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้จนกว่าที่จะเคลียร์หนี้จบ

ทางบล.ดาโอ จึงคงแนะนำกลุ่ม Finance โดยเลือก “ซื้อ” หุ้น TIDLOR ในราคาเป้า 33 บาท เนื่องจากแนวโน้มสินเชื่อที่จะกลับมาขยายตัวสูงตั้งแต่ครึ่งปีหลังปี 2566 และNPL ที่จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว และมีระดับสำรองที่สูงถึง 4.2%

สำหรับกลุ่มธนาคาร บล.ดาโอ คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะกระทบต่อกำไรสุทธิในกลุ่มธนาคารไม่มาก โดยจะเลือกซื้อหุ้น “BBL” ในราคาเป้า 195 บาท และเลือกซื้อหุ้น “KTB” ในราคาเป้า 21 บาท

จับตา AEONTS- TIDLOR Q3/66 ปรับตัวขึ้น  

บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ราคาหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ที่ปรับตัวลงแรงอาจจะมาจากความกังวลในมาตรการคุมหนี้ครัวเรือนของธปท. เพิ่มเติมเข้ามา จากเดิมที่มีสัญญาณลบกดดันผลดำเนินงานอยู่แล้ว จากผลกำไรไตรมาส 2 ปี 2566 ที่น่าจะปรับตัวลง เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น

ทั้งนี้ ยังคงต้องรอดูมาตรการแก้หนี้ของธปท. ที่ชัดเจนก่อน จึงจะสามารถประเมินผลกระทบต่อธุรกิจไฟแนนซ์จะมากน้อยแค่ไหน เพราะว่าปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มไหนบ้าง และเข้าใจว่าอาจเป็นมาตรการแบบสมัครใจ ซึ่งลูกหนี้อาจไม่ได้เข้ามามากนัก ทำให้โครงการมีโอกาสไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ก็ยังต่อรอติดตามก่อน

อย่างไรก็ตาม มาตรการแก้หนี้ของธปท.ดังกล่าว คาดว่าจะเริ่มใช้ในต้นปี 2567 จึงน่าจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจไฟแนน์ในปีนี้ ดังนั้น อาจจะเป็นปัจจัยกดดันกลุ่มไฟฟแนนซ์ในปีหน้า

ดังนั้น ในช่วงนี้เรายังคงแนะนำ “ซื้อ” เพียงแค่หุ้น AEONTS และ TIDLOR เพราะว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมาลึกมาก และ ยังไม่ปรับขึ้นมาก โดยมีโอกาสราคาหุ้นปรับขึ้นมาได้ในช่วงปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567 ซึ่งยังต้องรอติดตามต้นทุนที่อาจปรับขึ้นแค่ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 เท่านั้น และหลังจากนั้นรอประเมินสถานการณ์ NPL ต่อไป

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon