UOB ภาษีคาร์บอน ‘Carbon Tax’ ระเบียบการค้าของโลกยุคใหม่

238

มิติหุ้น – ปัจจุบันทั่วโลกหันมาให้ความสําคัญกับเรื่องความยั่งยืนและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่นอกจากจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อวิถีชีวิตของเราทุกคนแล้ว ยังส่งผลเสียต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วย

จนกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้ประเทศต่าง ๆ เริ่มตระหนักถึงปัญหานี้ ด้วยการมองหาวิธีเข้ามาควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission) ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทต่าง ๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินเป็นต้น

ซึ่งก็มีทั้งกลไกที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่าง คาร์บอนเครดิต ที่เป็นระบบ Cap and Trade คือ ใครปล่อยคาร์บอนเกินเพดานก็จะมีต้นทุนที่ต้องจ่าย ส่วนบริษัทที่ปล่อยต่ำกว่าเกณฑ์ก็จะสามารถนำส่วนต่างมาขายเป็นรายได้ นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งกลไกที่หลายประเทศเลือกหยิบมาใช้แบบเข้มข้นขึ้น นั่นคือมาตรการทางภาษีอย่าง ภาษีคาร์บอน หรือ Carbon Tax

ภาษีคาร์บอน คืออะไร?

ภาษีคาร์บอน คือ ภาษีที่รัฐบาลของแต่ละประเทศจะเรียกเก็บจากผู้ประกอบการและองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ กําหนด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และก๊าซกลุ่มฟลูออริเนต (F-Gases) เป็นต้น ที่เกิดจาก กระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ในการดําเนินธุรกิจ เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การบําบัดน้ําเสีย การใช้น้ํามันเชื้อเพลิง เพื่อเดินทางขนส่ง ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการตัดไม้ รวมถึงการเดินเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้วรูปแบบของการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนจะนําปริมาณคาร์บอนส่วนเกินมาคํานวณกับอัตราภาษีคาร์บอน ซึ่งแต่ละประเทศจะมีฐานภาษี ที่แตกต่างกันไป และส่วนใหญ่จะแบ่งประเภทของภาษีออกเป็น 2 แบบ คือ

  1. ภาษีคาร์บอนทางตรง คือ เก็บภาษีจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตสินค้าโดยตรง ซึ่งมักจะมีอัตราภาษีที่สูงกว่า เช่น การผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิล, การเผาไหม้ของเครื่องจักรในโรงงาน, การเผาขยะและการบําบัดน้ำเสีย, การเผาไหม้ของยานพาหนะต่าง ๆ, การผลิตปูนซีเมนต์และเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ฯลฯ
  2. ภาษีคาร์บอนทางอ้อม คือ เก็บภาษีจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามการบริโภคแต่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง เช่น การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก อาทิ เหล็ก กระดาษ บรรจุภัณฑ์ หมึกพิมพ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

นอกจากภาษีคาร์บอนภายในประเทศแล้ว ปัจจุบันยังเกิดแนวคิดใหม่ Carbon Border Tax หรือ ภาษีคาร์บอนข้ามแดน เป็นภาษีนําเข้าสินค้า ที่เรียกเก็บจากประเทศที่ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายภาษีคาร์บอน เท่ากับว่าผู้ประกอบการในประเทศไหนที่ไม่มีมาตรการทางภาษีสุดท้ายก็ต้องหัน มาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังเช่นกัน หากยังต้องการค้าขายกับต่างประเทศที่ให้ความสําคัญในเรื่องนี้

ประโยชน์และความสําคัญของภาษีคาร์บอน ภาษีคาร์บอนถือเป็นเครื่องมือสําคัญเพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกลไกของ Carbon Pricing ตามหลัก ทางเศรษฐศาสตร์ เพราะทําให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสิ่งที่มีราคาต้องจ่าย ไม่ใช่ของฟรีที่จะปล่อยเท่าไหร่ก็ได้อีกต่อไป และบังคับให้ผู้ประกอบการต้องร่วมรับผิดชอบต่อสังคม จนเกิดผลกระทบเชิงบวกเป็นวงกว้าง ดังนี้

1.ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ภาษีคาร์บอนทําให้การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมีต้นทุนแพงขึ้น และผลักดันให้ผู้ผลิตไฟฟ้าหันมาเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน เช่น พลังงาน แสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้สามารถแข่งขันได้ ขณะเดียวกัน ก็จะจูงใจให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน หันมาใช้พลังงานสะอาดมากข้ึนเช่นกันจากแนวโน้มราคาที่ถูกลง

2.ขยายตลาดให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกลไกด้านภาษีจะช่วยหนุนให้ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น และมีโอกาสขยายตลาดได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากสินค้า ที่ไม่ยึดมั่นในกระบวนการผลิตแบบยั่งยืน หรือเลือกใช้วัสดุที่ทําลายสิ่งแวดล้อม สินค้าเหล่านี้จะมีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากอัตราภาษี ทําให้ผู้บริโภค หันไปซื้อสินค้าอื่นที่มีราคาเหมาะสมกว่า

3.ช่วยลดภาวะโลกร้อน เป้าหมายสูงสุดของภาษีคาร์บอน คือ ลดปริมาณการปล่อยก๊าชเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อชะลอภาวะโลกร้อน ที่เป็นสาเหตุสําคัญของการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกทุกวันนี้

อัตราการจัดเก็บภาษีคาร์บอนในต่างประเทศ

ในต่างประเทศเริ่มนํานโยบายการจัดเก็บภาษีคาร์บอนมาใช้กันอย่างจริงจังแล้ว กรณีศึกษาที่น่าสนใจคือ ฟินแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศแรกที่บังคับใช้ Carbon Tax ในปี 1990 โดยเริ่มต้นแบบค่อยเป็นค่อยไปจากฐานภาษีที่ต่ําเพียง 1.75 ดอลลาร์ต่อตัน CO2 ก่อนที่จะค่อย ๆ ทยอยเพิ่มอัตรา ภาษีให้สูงขึ้น จนปัจจุบันฟินแลนด์เก็บภาษีคาร์บอนเฉลี่ยที่ 83.74 ดอลลาร์ต่อตัน CO2

ปัจจุบันมีกว่า 30 ประเทศทั่วโลกที่เริ่มเก็บภาษีคาร์บอนอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปยุโรป เช่น ฟินแลนด์ สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ให้ความสําคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น

ส่วนในทวีปเอเชียเอง ก็มีบางประเทศที่เริ่มขยับตัวเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน เช่น ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

อย่างไรก็ดี ระบบภาษีคาร์บอนที่บังคับใช้ยังคงมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะในแง่ของข้อกําหนดประเภทเชื้อเพลิง รวมถึงรูปแบบ การจัดเก็บภาษีที่มีทั้งทางตรงจากการผลิตและทางอ้อมจากการบริโภค ตลอดจนอัตราภาษีที่มีตั้งแต่ 0.08 จนถึง 155.87 ดอลลาร์ต่อตันCO2 ทั้งนี้ อุรุกวัยเป็นประเทศที่จัดเก็บภาษีคาร์บอนในอัตราสูงที่สุดในโลก โดยเริ่มในปี 2022 ที่ผ่านมา

แนวทางและเป้าหมายการจัดเก็บภาษีคาร์บอนในประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มนําแนวคิดการจัดเก็บภาษีคาร์บอนมาใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรรถยนต์ ตามกฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 โดยเป็นการจัดเก็บภาษีคาร์บอนทางอ้อมจากเชื้อเพลิงฟอสซิล อ้างอิงตามปริมาณ CO2 ที่ได้จากการเผาไหม้

โดยปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีตามปริมาณ CO2 ยกตัวอย่างรถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี คือ ปล่อย CO2 ไม่เกิน 150 กรัม/กิโลเมตร อัตราภาษี 25%, ปล่อย CO2 เกิน 150-200 กรัม/กิโลเมตร อัตราภาษี 30% และปล่อย CO2 เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร อัตราภาษี 35% ส่วนรถยนต์นั่งความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ซีซี อัตราภาษี 40%

หลังจากนั้นตั้งแต่ปี 2026 เป็นต้นไป จะเพิ่มภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเป็นขั้นบันไดจนไปถึงระดับสูงสุดในปี 2030 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

– รถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี ปล่อย CO2 ไม่เกิน 150 กรัม/กิโลเมตร อัตราภาษี 30%

– รถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี ปล่อย CO2 เกิน 150 กรัม/กิโลเมตร อัตราภาษี 40%

– รถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ซีซี อัตราภาษี 50%

อีกทั้งกรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการพิจาณาแนวทางการนำภาษีคาร์บอนมาบังคับใช้แบบเต็มระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ

ที่ต้องการเดินหน้าสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และขยับสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ภายในปี 2065

โดยจะนำมาปรับใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนสามารถปรับตัวไปพร้อมกันได้อย่างยั่งยืน คาดว่าจะเริ่มต้นเก็บจากผู้ผลิตสินค้า คือ สินค้าใดที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนก็จะโดนจัดเก็บภาษีกับสินค้านั้น ควบคู่ไปกับการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ก่อมลพิษเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม เพื่อส่งผลดีต่อทั้งทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

สุดท้ายนี้แนวทางการเก็บภาษีคาร์บอนอย่างเต็มรูปแบบคงต้องเกิดขึ้นแน่นอนไม่เร็วก็ช้า ทั้งมาตรการภายในประเทศ และภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดนที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในสหภาพยุโรป (EU) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2023 เป็นต้นไป ซึ่งจะกลายเป็นระเบียบการค้าของโลกยุคใหม่ที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือ

เพราะฉะนั้น การรีบปรับตัวให้ธุรกิจมีความยั่งยืนตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน เริ่มต้นได้ด้วยการหันมาให้ความสำคัญต่อการวางแผนการลงทุนในระยะยาวเพื่อปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานสะอาด พยายามลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต ควรตรวจวัด Carbon Footprint ขององค์กรอยู่เสมอ ตลอดจนมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งกำแพงภาษี และพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของ ESG อย่างเห็นได้ชัด

 

 

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon