แนวทางชัดเจนต่อการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนักลงทุนต่างชาติของตลาดหลักทรัพย์จนโครงสร้างการซื้อขายเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นจะเป็นของนักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่..
แต่ช่วงกลางปี 2019 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่านักลงทุนทั่วไปในประเทศมีสัดส่วนในการซื้อขายหุ้นลดลงโดยตลอดจากปี 2014 จนถึงปัจจุบัน ส่วนนักลงทุนต่างประเทศกลับมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นโดยตลอดอย่างมีนัยยะสำคัญ…. เพราะอะไร?(ดูภาพประกอบ)
ทำไมถึงเป็นเช่นนี้… จากภาพประกอบรูปที่ 3 พบว่า จะเห็นได้ว่า จากปี 2013 อัตราการเพิ่มลดลงโดยตลอด โดยเฉพาะจากปี 2013 ที่มีอัตราการเพิ่มที่ร้อยละ 22.3 เหลือเพียงร้อยละ 3.9 ในไตรมาสแรสของปี 2019 ซึ่งน้อยที่สุดเมื่อนับจากปี 2010 น่าใจหาย…. กลัวเหลือเกินถ้าไม่ทำอะไร อัตราการเพิ่มติดลบเมื่อไหร่คือ นักลงทุนปิดบัญชี ก็จบกันตลาดทุนไทย…. ยังไม่พอนะ
มาวิเคราะห์กันอีกว่า แล้วที่เปิดบัญชีมาทั้งหมดเนี่ย ซื้อขายกันเยอะมั้ย เราก็เอาจำนวนบัญชีที่ซื้อขายเทียบกับจำนวนบัญชีทั้งหมด เราก็จะได้สัดส่วนบัญชีที่เคลื่อนไหว ฝรั่งเค้าเรียก Active Account แล้วถ้าสัดส่วนยิ่งเยอะก็ยิ่งดีเนอะ และถ้าเพิ่มขึ้นทุกปีก็ยิ่งดีเนอะ ผลเป็นไงละ…. ภาพที่ 4 จะเห็นได้ว่าสัดส่วนบัญชีที่เคลื่อนไหวลดลงอย่างน่าใจหายจากร้อยละ 31.4 ในปี 2014 เหลือร้อยละ 20.3 ในไตรมาสแรกของปี 2019 ซึ่งน้อยที่สุดนับจากปี 2010 เอาละสิ…..แสดงว่า เปิดบัญชีก็เปิดไป จำนวนบัญชีที่ซื้อขายไม่ได้เพิ่มขึ้นตามที่เปิด หรืออาจจะมีการเลิกซื้อขายแล้วก็เป็นได้ จึงทำให้สัดส่วนบัญชีที่ซื้อขายเทียบกับจำนวนบัญชีทั้งหมดลดลง….
หรือนี่จะเป็นแผนงานการพัฒนาตลาดทุนของสมาคมหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ กลต.ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ต้องการส่งเสริมการซื้อขายให้กับนักลงทุนต่างชาติ
แสดงว่านโยบายส่งเสริมนักลงทุนในประเทศ(ซึ่งเป็นนักลงทุนทั่วไปและรายย่อย)…. ล้มเหลว….การที่สมาคมหลักทรัพย์เรียกเก็บเงินส่วนเกินค่าธรรมเนียมซื้อขายของลูกค้าจาก กลต. ไปเข้าสมาคม บอกว่าจะเอาไปเป็นงบประมาณส่งเสริมนักลงทุนรายย่อยในประเทศ…. แล้วเป็นยังไงละ…ตัวเลขมันฟ้องครับ ยังไม่ต้องคุยกันว่าเป็นเงินที่เรียกเก็บผิดประเภท และใช้ไม่ถูกวัตถุประสงค์หรือป่าว ประเด็นนี้ก็เอาเปรียบนักลงทุนในประเทศละ…. ตรงนี้แตะไว้เบาๆก่อน เด่วดิ้นพราดๆๆ
ภาพที่ 5 ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบของนักลงทุนในประเทศที่เกิดจากกระบวนการพัฒนา หล่อหลอมและขับเคลื่อนให้ออกมาเป็นกฎเกณฑ์ดังกล่าวในช่วง 4- 5 ปีที่ผ่านมา…..รายละเอียดในภาพจะเห็นได้ชัดละครับว่าแล้วนักลงทุนในประเทศจะไปซื้อขายสู้ต่างชาติได้อย่างไร…..นี่ก็เป็นคำตอบที่คงไม่ต้องอธิบายอะไรให้ยืดยาวนะครับ….. นักลงทุนในประเทศขอจะทำอะไรก้อมีข้ออ้างว่าไม่รู้ ไม่ชำนาญ สู้ต่างประเทศเค้าไม่ได้… ก้อยกตลาดหุ้นให้ต่างประเทศเค้าไปเลยมั้ย… ส่วนการเปลี่ยนแปลงในตัวอุตสาหกรรมเองเช่นการใช้โปรแกรมอัตโนมัติในการซื้อขาย การใช้ AI เข้ามาช่วยต่างๆ ผมว่าเป็นประเด็นรอง นักลงทุนในประเทศก็ต้องพัฒนาให้ทัน ซึ่งผมเชื่อว่านักลงทุนไทยเราก็ไม่แพ้ต่างชาติ….. แต่ก็นั่นละติดปัญหาอีก นักลงทุนไทยจะขอทำบ้าง ก็ไม่อนุมัติกันสักที…. เหนื่อยใจ…
ที่มา : FB -Prajuab Sirirutbunkajorn
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon