บลจ. ไทยพาณิชย์ ชูปันผล-ลดทุน กองทุนอสังหาฯ – อินฟราฟันด์ ไตรมาส 4/66 ดีกว่าทุกไตรมาส พร้อมจ่ายผู้ถือหน่วยกว่า 2,740 ล้านบาท ย้ำเป็นจังหวะเข้าสะสม สร้างโอกาสรับผลประโยชน์ตอบแทนที่สม่ำเสมอ

61

มิติหุ้น  –  นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBAM เปิดเผยว่า SCBAM มีมุมมองเชิงบวกต่อการเข้าลงทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือกที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาว เน้นรับเงินปันผล/ประโยชน์ตอบแทนที่สม่ำเสมอในช่วงที่ตลาดทุนผันผวนและเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินเฟ้อสูง โดยเฉพาะในจังหวะที่ราคาหน่วยลงทุนปรับลดลงมาจากผลกระทบที่ยืดเยื้อของสถานการณ์ Covid-19 วัฏจักรของการปรับดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี SCBAM มีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารอยู่ 6 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 1 กองทุน และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 5 กองทุน ซึ่งทั้งหมดมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ผู้ถือหน่วยตามโครงการจัดการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่จัดตั้งกองทุน โดยล่าสุด SCBAM เตรียมนำจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนของงวดผลการดำเนินงาน และ/หรือกำไรสะสมรอบไตรมาส 4/2566 รอบวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566 รวมเป็นมูลค่ากว่า2,740 ล้านบาท

สำหรับการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนของกองทุน ประกอบด้วย กองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม นั่นคือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล (“DIF”) กองทุน Flagship มีรายได้หลักจากสัญญาให้เช่าทรัพย์สินเสาโทรคมนาคม และสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ระยะยาวกับกลุ่มบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) สำหรับรอบไตรมาส 4/2566 กองทุนมีมติจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.2264 บาท/หน่วย คิดเป็นมูลค่าเงินกว่า 2,407 ล้านบาท โดยปี 2566 กองทุนจ่ายเงินปันผลมาแล้ว 3 ครั้ง ทำให้กองทุนมียอดจ่ายปันผลรวมของปี 2566 อยู่ที่ 0.9348 บาท/หน่วย นับเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ระดับ 8.74% คำนวณจากราคา

เฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งปีที่ 10.69 บาท/หน่วย(*) มีกำหนดจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยในวันที่ 4 มีนาคม 2567 ลำดับถัดมา คือ กองทุนอสังหาฯ ประเภทอาคารสำนักงานให้เช่า ประกอบด้วย 3 กองทุน คือ กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (“CPNCG”) ลงทุนในสิทธิการเช่าของอาคารสำนักงานเกรดเอบริเวณเขตปทุมวัน ที่มีอัตราการเช่าสูงถึงร้อยละ 99 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 และ 31 มกราคม 2567) สำหรับรอบไตรมาส 4/2566 กองทุนมีมติจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.2559 บาท/หน่วย และเงินลดทุนในอัตรา 0.0100 บาท(1)/หน่วย รวมเป็นอัตราการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนอยู่ที่ 0.2659 บาท/หน่วย คิดเป็นมูลค่าเงินกว่า 113 ล้านบาท โดยปี 2566 กองทุนจ่ายผลประโยชน์

ตอบแทนมาแล้ว 3 ครั้ง ทำให้กองทุนมียอดจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนรวมของปี 2566 อยู่ที่ 1.0434 บาท/หน่วย นับเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ระดับ 11.75% คำนวณจากราคาเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งปีที่ 8.88 บาท/หน่วย(*) (ทั้งนี้ ณ ไตรมาส 4/2566  ระยะเวลาสิทธิการเช่าช่วงของกองทุนลดลง 1 ปี คงเหลือประมาณ 9 ปี ) กองทุนมีกำหนดจ่ายให้ผู้ถือหน่วยในวันที่ 1 มีนาคม 2567 นี้ ถัดมาคือ กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ไพร์มออฟฟิศ (“POPF”) ลงทุนในสิทธิการเช่าของอาคารสำนักงาน 3 แห่ง คือ อาคารสมัชชาวานิช 2, อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ และ อาคารบางนา ทาวเวอร์ สำหรับรอบไตรมาส 4/2566 กองทุนมีมติจ่าย

เงินปันผลในอัตรา 0.1658 บาท/หน่วย และเงินลดทุนในอัตรา 0.1192 บาท(1)/หน่วย รวมเป็นอัตราการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนอยู่ที่ 0.2850 บาท/หน่วย คิดเป็นมูลค่าเงินกว่า 137 ล้านบาท โดยปี 2566 กองทุนจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนมาแล้ว 3 ครั้ง ทำให้กองทุนมียอดจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนรวมของปี 2566 อยู่ที่ 1.0750 บาท/หน่วย นับเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ระดับ 11.56 % คำนวณจากราคาเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งปีที่ 9.30 บาท/หน่วย(*) (ทั้งนี้ ณ ไตรมาส 4/2566  สิทธิการเช่าของกองทุนรวมลดลงไปอีก 1 ปี คง

เหลือระยะเวลาสิทธิการเช่าของอาคารบางนา ทาวเวอร์ ที่ประมาณ 21 ปี, อาคารสมัชชาวานิช 2 ที่ประมาณ 17 ปี และ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ที่ประมาณ 1 ปี) และกองทุนอสังหาฯ ประเภทอาคารสำนักงานให้เช่าลำดับสุดท้าย คือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แสนสิริ ไพร์มออฟฟิศ (“SIRIP”) ลงทุนในกรรมสิทธิของโครงการอาคารสิริภิญโญ สำหรับรอบไตรมาส 4/2566 กองทุนมีมติจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.0800 บาท/หน่วย ซึ่งเป็นอัตราการจ่ายที่สูงสุดในรอบปี 2566 คิดเป็นมูลค่าเงินกว่า 13 ล้านบาท โดยปี 2566 กองทุนจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนมาแล้ว 3 ครั้ง รวมทั้งปีแล้วคิดเป็นอัตราการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนอยู่ที่ 0.2550 บาท/หน่วย นับเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ระดับ 3.07% คำนวณจากราคาเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งปีที่ 8.30 บาท/หน่วย(*)

สำหรับอีก 2 กองทุนอสังหาฯ ที่สร้างผลงานได้อย่างโดดเด่นจากการฟื้นตัวของภาคบริการ ท่องเที่ยว และส่งออก นั่นคือกองทุนอสังหาฯ ประเภทโรงแรม และประเภทคลังสินค้า เริ่มด้วยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอราวัณ โฮเทล โกรท (“ERWPF”) ลงทุนในโรงแรมไอบิส ป่าตอง และโรงแรมไอบิส พัทยา โรงแรมในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวที่กลับมามีรายได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น สำหรับการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนรอบนี้ เป็นการพิจารณาจากกำไรไตรมาส 3 และ 4/2566 โดยกองทุนมีมติจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.1365 บาท/หน่วย คิดเป็นมูลค่าเงินกว่า 24 ล้านบาท โดยปี 2566 กองทุนจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนมาแล้ว 2 ครั้ง รวมทั้งปีแล้วคิดเป็นอัตราการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนอยู่ที่ 0.3900 บาท/หน่วย นับเป็นการให้ผลตอบแทนเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ระดับ 7.01% เมื่อ

 

เทียบกับราคาเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งปีที่ 5.56 บาท/หน่วย(*) และสุดท้าย กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค (“PPF”) ลงทุนในกรรมสิทธิ์ที่ดินอาคารโรงงานและคลังสินค้าในโครงการนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง สำหรับรอบไตรมาส 4/2566 กองทุนมีมติจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.2005 บาท/หน่วย เป็นอัตราการจ่ายที่สูงสุดในรอบปี 2566 คิดเป็นมูลค่าเงินกว่า 45 ล้านบาท โดยปี 2566 กองทุนจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนมาแล้ว 3 ครั้ง รวมทั้งปีแล้วคิดเป็นอัตราเฉลี่ยการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนอยู่ที่0.7532 บาท/หน่วย นับเป็นการให้ผลตอบแทนเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ระดับ 6.97% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งปีที่ 10.80 บาท/หน่วย(*) โดยกองทุน POPF กองทุน SIRIP  กองทุน ERWPF และกองทุน PPF มีกำหนดจ่ายให้ผู้ถือหน่วยในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 นี้

 

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon