ไทยพัฒน์ แถลงทิศทางความยั่งยืน ปี 67 มอง ESG คือ License to Earn ในระยะยาว

53

มิติหุ้น – สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คาดการณ์ทิศทางความยั่งยืนองภาคธุรกิจไทย ปี 67 ตอกย้ำเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) ที่กลายเป็นเงื่อนไขทางธุรกิจสู่อนาคต เสมือนเป็น License to Earn หรือใบอนุญาตรับผลตอบแทนของธุรกิจที่จำเป็นต้องมีในระยะยาว

กระแสเรื่อง ESG ที่แต่เดิม ถูกขับเคลื่อนอยู่ภายในแวดวงตลาดทุน โดยเป็นเครื่องมือที่ผู้ลงทุนสถาบันใช้ผลักดันให้บริษัทที่ตนเข้าไปลงทุนมีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เอาจริงเอาจังกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ได้ถูกหยิบมาใช้อย่างแพร่หลาย จนปัจจุบันไดกลายเป็นคำสามัญที่นำมาใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง นอกเหนือจากที่ใช้สื่อสารกับกลุ่มผู้ลงทุนแรกเริ่ม

จากมุมมองเดิมต่อเรื่อง ESG ที่กิจการส่วนใหญ่ เห็นว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการความเสี่ยง มาสู่การใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจสำหรับรองรับโอกาสที่เกิดขึ้นจากปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่หลายกิจการเริ่มเห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ทั้งการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และความสามารถในการทำกำไร (Profitability) จากการใช้ประโยชน์ในประเด็นด้าน ESG ที่สอดคล้องกับบริบทของกิจการ

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ได้กล่าวในงานแถลงทิศทางความยั่งยืน ปี 2567 ที่จัดขึ้นวันนี้ (27 กุมภาพันธ์ 2567) ว่าทิศทาง ESG ในปีนี้ จะเป็นการเดินหน้าดำเนินงานในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สำหรับกิจการที่เห็นประโยชน์เป็นรูปธรรม ซึ่งเมื่อเห็นผลลัพธ์ที่ดี ก็จะมีความเชื่อมั่น และผลักดันการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นผลกระทบที่ดีทั้งกับกิจการและผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักกับการลงทุนที่ยั่งยืน ในลักษณะ “Who cares earns” (ยิ่งใส่ใจ ยิ่งได้รับ)

โดยกิจการที่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ย่อมสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในหลายระดับ คือ ในระดับแรก สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม ‘ได้รับ’ ประโยชน์จากการที่ธุรกิจใส่ใจดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการประกอบการ ในระดับต่อมา กิจการจะมีโอกาส ‘ได้รับ’ รายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น จากการใช้ประเด็น ESG สร้างการเติบโตและเพิ่มผลิตภาพ และในระดับท้ายสุด ผู้ลงทุนควรจะ ‘ได้รับ’ ผลตอบแทนทั้งกำไรจากส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ (Capital Gain) และเงินปันผลที่สูงขึ้นจากการลงทุนในกิจการที่ ‘ใส่ใจ’ เรื่อง ESG

ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ประมวล 3 กลยุทธ์ ESG เพื่อให้กิจการใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย Chance: หาโอกาสในมิติเศรษฐกิจ Choice: สร้างทางเลือกในมิติสังคมChange: เปลี่ยนแปลงในมิติสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการประเมินทิศทางความยั่งยืน ปี 2567 ใน 6 ทิศทางสำคัญ ได้แก่ 1) ESG -> License to Earn 2) One Report -> Double Materiality 3) Net Zero ->Scope 3 Emissions 4) Weaker Governance ->Greener Washing 5) Real Bottom Line -> Nature Profit 6) Sustainability Disclosure -> External Assurance สำหรับองค์กที่ต้องการใช้ประเด็นด้าน ESG ในการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่าง ๆ ได้แนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทของกิจการ เพื่อให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิผล

ในงานแถลงทิศทางามยั่งยืนปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ยังได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง ESG Premium: Care to Earn แนะนำเครื่องมือวัดมูลค่าความยั่งยืนของกิจการ ที่ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเสริมการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เพื่อเพิ่มมิติข้อมูลแก่ผู้ลงทุนที่ใช้ปัจจัยด้าน ESG สำหรับประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่เดิม

นายวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันทยพัฒน์ กล่าวว่า เครื่องมือ ESG Premium จะใช้ข้อมูล ESG Score ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ มาดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับข้อมูล ESG Portion ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อหาส่วนล้ำทางมูลค่า (Premium) ในผลตอบแทนจากการลงทุนของแต่ละหลักทรัพย์ ซึ่งนอกจากการใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในกระบวนการวิเคราะห์ตัดสินใจลงทุนแล้ว ยังใช้เป็นตัวช่วยในการติดตามตรวจสอบการลงทุน เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนสอดคล้องกับหลักการด้านความยั่งยืนตามที่สากลยอมรับ รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ให้ภาพเชิงลึกกว่าการอ้างอิงดัชนีชี้วัดที่มีองค์ประกอบเป็นหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน

นายฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ กรรมการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวเสริมว่ การประเมินมูลค่าความยั่งยืนของกิจการด้วยเครื่องมือ ESG Premium มีส่วนสำคัญในการช่วยให้กิจการเข้าใจและทราบถึงช่องว่าง (Gap) เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้าน ESG ขององค์กร ที่สะท้อนมูลค่าความยั่งยืนของกิจการผ่านสมรรถนะการดำเนินงาน (ESG Performance) สู่ส่วนล้ำทางมูลค่า (ESG Premium) ในผลตอบแทนจากการลงทุนของกิจการ

บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ ESG Premium สถาบันไทยพัฒน์ ได้เปิดรับองค์กรนำร่อง (Pilot Organizations) ที่ต้องการยกระดับสมรรถนะการดำเนินงานด้าน ESG ของกิจการ สู่การสร้างส่วนล้ำทางมูลค่าจากปัจจัย ESG โดยองค์กรที่สนใจสามารถแสดงความจำนงเข้าร่วมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon