GUNKUL เซ็นสัญญา PPA ซื้อขายไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มเพิ่มอีก 6 โครงการ กำลังผลิตรวม 191.8 เมกะวัตต์

86

มิติหุ้น  –  บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มเพิ่มเติมกับ กฟผ. และ กฟภ. ในส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 6 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 191.8 เมกะวัตต์ สัญญาระยะยาว 25 ปี คาดทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2571 จากเดิมที่ลงนามไปแล้ว 8 โครงการ กำลังการผลิต 429.6 เมกะวัตต์ หนุนให้บริษัทมีโครงการโซลาร์ฟาร์มใหม่เป็น 14 โครงการและกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ตามสัญญาโดยรวมสูงขึ้นเป็น  1,236.95  เมกะวัตต์ จากเดิม 615.55 เมกะวัตต์ เติบโตเพิ่มขึ้น 100%

นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะเวลา 25 ปี เพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (solar farm) และ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System : BESS) ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed – in Tariff (FiT) ปี 2565-2573  สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง

 

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 กลุ่มบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้น 100ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (“PPA”) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (“กฟผ”) แบ่งเป็น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) จำนวน 2 โครงการ กำลังผลิตรวม 106.6 เมกะวัตต์ และ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System : BESS) อีก จำนวน 3 โครงการ กำลังผลิตรวม 83.6 เมกะวัตต์ และเข้าลงนามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 256จำนวน โครงการในรูปแบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) กำลังการผลิตรวม 1.6 เมกกะวัตต์ ส่งผลให้ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่รวมเป็น 621.4 เมกะวัตต์ สัญญาระยะยาว 25 ปี คาดทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2571-2573 หนุนให้บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาโดยรวมสูงขึ้นเป็น 1,236.95 เมกะวัตต์ จากเดิม 615.55 เมกะวัตต์ เติบโตเพิ่มขึ้น 100% ซึ่งรายละเอียดของแต่ละโครงการมีดังต่อไปนี้

 

บริษัทย่อยของบริษัทฯ

ประเภทโครงการ พลังงานแสงอาทิตย์

คู่สัญญา

กําลังการผลิตตามสัญญา (เมกกะวัตต์)

อัตรารับซื้อไฟฟ้า
FIT

1. บริษัท กันกุล โซลาร์ พาวเวอร์เจน จำกัด

ติดตั้งบนพื้นดิน

EGAT

67.8

2.1679

2. บริษัท กันกุล โซลาร์ พาวเวอร์เจน จํากัด

แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน

EGAT

33.0

2.8331

3. บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี จํากัด

แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน

EGAT

17.6

3.3331

4. บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี จํากัด

ติดตั้งบนพื้นดิน

EGAT

38.8

2.1679

5. บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี จํากัด

แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน

EGAT

33.0

2.8331

6. บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี จํากัด

ติดตั้งบนพื้นดิน

PEA

1.6

2.1679

รวม

191.8

 

โครงการดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในความตั้งใจของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจที่ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งนอกจากจะเป็นกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน เสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ ในการสนับสนุนการพัฒนาพลังงานสะอาดให้กับประเทศไทยแล้ว  ยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ การป็นผู้นําด้านธุรกิจพลังงานทดแทน อุปกรณ์ และระบบไฟฟ้าแบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน” นางสาวโศภชา กล่าวในที่สุด

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon