finbiz by ttb แนะ 4 ขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านที่ SME ต้องรู้…สู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน

62

มิติหุ้น  –  ในปัจจุบันการทำธุรกิจจะต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ทั้งของธุรกิจและของโลก ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งสร้างแผนสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ รวมถึงเป็นการเตรียมตัวรับกฎหมายต่าง ๆ ที่กำลังจะออกมาเร็ว ๆ นี้ การเปลี่ยนผ่านเพื่อความยั่งยืน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถสร้างโอกาสได้ โดยมีงานวิจัยในปี 2022 รองรับว่า 73% ของผู้บริโภคไทยเต็มใจจ่ายเงินเพิ่มสำหรับสินค้าและบริการจากบริษัทที่ยั่งยืน และ 87% ของนักลงทุนไทยต้องการลงทุนในบริษัทที่มี ESG ดังนั้น SME ควรต้องเริ่มเพื่ออนาคตของธุรกิจและโลก finbiz by ttb จึงขอนำเสนอ 4 ขั้นตอน ที่จะช่วยธุรกิจในการทำแผนเพื่อเปลี่ยนผ่าน (Transition Plan) สู่ความยั่งยืนได้อย่างราบรื่น

1.วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบัน เริ่มจากจัดเก็บ ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจตัวเอง จากนั้นตรวจสอบการดำเนินงานปัจจุบัน ทบทวนจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบว่าธุรกิจของเราอยู่ในตำแหน่งใด แล้วจึงศึกษาธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันที่มีลักษณะใกล้เคียงที่เริ่มลงมือการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (ESG) แล้ว รวมถึงประเมินความสามารถของธุรกิจ เช่น วิเคราะห์การใช้พลังงาน แหล่งที่มาของสินค้า และพฤติกรรมของผู้บริโภค

2.กำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้มีแผนการดำเนินงานสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันแล้ว จะทำให้ทราบว่ามีจุดไหนที่ธุรกิจสามารถพัฒนาสู่ความยั่งยืนได้บ้าง รวมถึงพิจารณาการลงทุนว่าเหมาะสมกับกำลังของธุรกิจในปัจจุบันหรือไม่ การกำหนดกลยุทธ์และการวางแผนดำเนินงานต้องเหมาะสมกับบริบทของธุรกิจและควรคำนึงถึงความคาดหมายของพันธมิตรธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เช่นกัน โดยสามารถเริ่มจากเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบันสำหรับธุรกิจ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียน เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ส่งเสริมการค้าและธุรกรรมออนไลน์ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการสูญเสียทรัพยากร

  1. เปลี่ยนแปลงการดำเนินงานลงมือตามแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและกำหนดแผนกำกับดูแล กระตุ้นความยั่งยืนให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย รวมถึงเสริมศักยภาพของพนักงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและตระหนักถึงความยั่งยืน ยกตัวอย่าง การดำเนินงานในขั้นตอนนี้ เช่น ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ พัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลัง ฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับความยั่งยืนองค์กร และพัฒนาระบบจัดการบุคลากรให้มีความสามารถและมีความสุขกายใจในการทำงาน
  1. รายงานความคืบหน้าหลังจากการวางแผนและดำเนินการในขั้นตอนที่ 1-3 แล้ว จะต้องสามารถรายงานความคืบหน้าและประเมินผลงานได้ โดยมีการเก็บข้อมูลการดำเนินการเพื่อนำเสนอต่อภายในและภายนอกองค์กร เช่น รายงานความคืบหน้าต่อผู้บริโภค นักลงทุน และหน่วยงานภาครัฐ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูล พัฒนาสนับสนุนกลยุทธ์และโครงการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต

มีที่ปรึกษาดี ช่วยให้ SME ไปถึงเป้าหมายได้ไม่ยาก

แผนเปลี่ยนผ่านธุรกิจเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคตที่ยั่งยืน โดยการดำเนินการและรายละเอียดใน 4 ขั้นตอนจะขึ้นอยู่กับบริบทและสถานการณ์ของแต่ละองค์กร ซึ่งปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG ทั้งจากภาครัฐฯ และเอกชนที่สามารถช่วยธุรกิจได้ เช่น

  • บริษัทที่ปรึกษาด้านESG และการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน
  • หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ เช่น กระทรวงพลังงาน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรต่าง ๆ
  • สถาบันการเงิน และธนาคาร ซึ่งสามารถเป็นที่ปรึกษาได้ และมีแหล่งเงินทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับธุรกิจ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะสามารถทำให้ธุรกิจไปถึงเป้าหมายความยั่งยืนได้อย่างราบรื่น

ดังนั้น ธุรกิจที่เตรียมพร้อมและปรับตัวได้ไว จะสร้างโอกาสในการแข่งขันและสามารถยกระดับเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ จะช่วยทั้งธุรกิจ และโลกของเราไปพร้อม ๆ กัน

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon