TOP วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

87

ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังอุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลก
ที่ชะลอตัวและความกังวลต่ออุปทานที่อาจเพิ่มขึ้นจากกลุ่ม OPEC+

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา

– ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับตัวลดลงกว่า 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังอุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงของโลกอ่อนตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในสหรัฐฯ จีน และยุโรป ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก โดยอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเป็นปัจจัยกดดันต่อความต้องการของผู้บริโภค และกิจกรรมทางอุตสาหกรรม ขณะที่อุปทานจากผู้ผลิตนอกกลุ่ม OPEC+ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

– ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดัน หลังการประชุมในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (2 มิ.ย. 67) กลุ่ม OPEC+ มีมติอนุญาตให้สมาชิกเลือกแนวทางการปรับลดกำลังการผลิตแบบสมัครใจได้ตั้งแต่เดือน ต.ค. 67 เป็นต้นไป หลังจากที่ใช้นโนบายดังกล่าวมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้อุปทานในตลาดมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นไวกว่าตลาดคาด อย่างไรก็ดีกลุ่ม OPEC+ ยังคงการลดกำลังการผลิตน้ำมันส่วนใหญ่กว่า 3.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ออกไปจนถึงปี 2568

– หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เปิดเผย ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง สหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 31 พ.ค. 67 ปรับเพิ่มขึ้นถึง 4.052 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางจากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับตัวลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล

ราคาน้ำมันเบนซิน : ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดูดิบไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ของสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นในช่วงฤดูการขับขี่ อย่างไรก็ดี ราคายังได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์อินเดียที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงมรสุม ขณะที่อุปทานสหรัฐฯ กลับมาเพิ่มขึ้นหลังโรงกลั่นเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุง

ราคาน้ำมันดีเซล : ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากอุปทานภูมิภาคที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้าน้ำมันดีเซลของอินโดนีเซียที่มีแนวโน้มลดลง

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon