MiR รุกตลาดหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติในไทย

58

มิติหุ้น –  บริษัท โมบาย อินดัสเตรียล โรบอทส์  เอ/เอส (Mobile Industrial Robots A/S)  หรือ เอ็มไออาร์ (MiR) ประกาศแต่งตั้ง บริษัท  โซนิค ออโตเมชั่น จำกัด  (Sonic Automation Limited) เป็นพันธมิตรรายล่าสุดในประเทศไทย    โดยเอ็มไออาร์จะได้เครือข่ายการจัดจำหน่ายที่กว้างขวาง และประสบการณ์เชิงลึกภายในประเทศไทย ซึ่งตอบสนองความต้องการที่กำลังเติบโตของระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมการผลิต

ระบบอัตโนมัติยุคถัดไป (Next-lap Automation) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตของไทยประเทศไทยเป็นหนึ่งในอันดับต้นๆ ที่ถูกเลือกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผู้ผลิต เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การแพทย์ อาหาร และสิ่งทอ  อย่างไรก็ตาม สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ของประเทศไทยออกคำเตือนเมื่อเร็ว ๆ นี้เกี่ยวกับการลดจำนวนแรงงานของประเทศลง 3 ล้านคน จากข้อมูล ณ สิ้นปี 2566 ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรวัยทำงานเพียง 40.7 ล้านคน เทียบกับความต้องการแรงงาน 44.71 ล้านคนภายในปี 2580 ตามแนวโน้มปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สศช. จึงแนะนำให้ธุรกิจต่างๆ ควรพิจารณานำระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มการผลิต

เพื่อรองรับตลาดในประเทศที่กำลังเติบโตนี้   เอ็มไออาร์ร่วมมือกับโซนิค ออโตเมชัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้จัดจำหน่าย ชั้นนำของประเทศไทยในด้านผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม   เอ็มไออาร์และ โซนิค        ออโตเมชั่น  ได้ร่วมกันจัดเวิร์กช็อปครั้งแรก เรื่อง “การนำทางแห่งอนาคต – การเปลี่ยนแปลงโลจิสติกส์ด้วยหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMR)” เมื่อวันที่  24  พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยมีการจัดแสดงหุ่นยนต์เคลื่อนที่ของ     เอ็มไออาร์ ได้แก่หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติรุ่น MiR1200 Pallet Jack ที่ขับเคลื่อนด้วย AI และ MiR 250 ขนาดกะทัดรัด

MiR1200 Pallet Jack ขับเคลื่อนด้วย AI

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแนวโน้มของทั่วโลกที่ไม่สามารถปฏิเสธได้  รัฐบาลและอุตสาหกรรมต่างๆ ผลักดันให้นำไปใช้และยกระดับทักษะของแรงงาน   แนวโน้มของ AI นี้ ได้ขยายไปสู่โลกของหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ หรือเอเอ็มอาร์(Autonomous Mobile Robots : AMR) เช่นกัน  สำหรับหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติล่าสุดของเอ็มไออาร์ คือรุ่น MiR1200 Pallet Jack ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถเรียนรู้และอัปเดตการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล ช่วยให้สามารถจดจำพาเลทได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ปรับการเคลื่อนที่ของวัสดุภายในโรงงานให้

เหมาะสมผ่านข้อมูลที่รวบรวมไว้ การหยิบผิดผลาดน้อยลง และเวลาการหยิบและวางสินค้าก็ลดลง ด้วยน้ำหนักบรรทุก 1,200 กิโลกรัม และความเร็ว 1.5 เมตรต่อวินาที    หุ่นยนต์รถลากพาเลท (Pallet Jack) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพนี้  สามารถเข้ามาแทนที่รถยกธรรมดาขนาดใหญ่ในงานคลังสินค้าขนาดใหญ่และความซับซ้อนมากขององค์กร

พลังแห่ง MiR1200 ได้เสริมด้วยข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสากล  ISO3691-4  ซึ่งหุ่นยนต์รถลากพาเลท (Pallet Jack) ที่ล้ำสมัยนี้ใช้การมองเห็นแบบ 3 มิติเพื่อให้แน่ใจว่าครอบคลุม 300 องศาอย่างแม่นยำจากทุกมุมเมื่อแยกแยะ หยิบ และขนส่งพาเลท  ด้วยความปลอดภัยขั้นสูงและการตรวจจับสิ่งกีดขวาง   ถือได้ว่าเป็นความแม่นยำที่ไม่เคยมีมาก่อนทำให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยสูงสุดสำหรับมนุษย์และเครื่องอำนวยความสะดวก

“ด้วยการที่หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ หรือ เอเอ็มอาร์ เข้ามารับหน้าที่ด้านโลจิสติกส์ภายในของภาคอุตสาหกรรม ทำให้การผลิตจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ความเสี่ยงและต้นทุนที่ไม่จำเป็นในสภาพแวดล้อมการทำงานลดลงอย่างมาก  หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติหรือเอเอ็มอาร์เหล่านี้  ยังช่วยให้พนักงานไม่ต้องทำงานซ้ำๆ เช่น การเดินทางไปกลับหลายร้อยรอบทุกวันเพื่อไปรับและจัดส่งสิ่งของ และทำให้พนักงานสามารถเริ่มทำงานที่มีความหมายและมีมูลค่าสูงกว่าได้” นายตัง ปอย ตุง  (Tang Poi Toong) รองประธานฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท โมบาย  อินดัสเตรียล โรบอทส์  เอ/เอส (Mobile Industrial Robots A/S)  หรือ เอ็มไออาร์ (MiR)

MiR250 ขนาดกะทัดรัดและคล่องตัว

นอกเหนือจาก MiR 1200 รุ่นใหม่แล้ว เอ็มไออาร์ยังได้แสดง MiR250 ที่มีขนาดเล็กและทรงพลัง ซึ่งเป็นหนึ่ง      ในหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติที่คล่องตัวที่สุดในตลาด แม้จะมีขนาดเพียง 580X800 มิลิเมตรและสูงเพียง 30 เซนติเมตร   หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ MiR 250 มีความสามารถอย่างน่าประทับใจในการจัดการน้ำหนักสูงสุด 250 กิโลกรัมได้อย่างง่ายดายด้วยความเร็วสูงสุด 2 เมตรต่อวินาที MiR 250 สร้างขึ้นให้มีความทนทาน บำรุงรักษาง่าย และการทำงานต่อเนื่องในขณะที่ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยล่าสุด จึงทำให้เป็นหนึ่งในหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติที่ปลอดภัยที่สุดในตลาด

“จากการสนทนาเมื่อเร็วๆ นี้กับกลุ่มที่เป้าหมายในอุตสาหกรรมและลูกค้า เราได้มองเห็นถึงความสนใจในหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติเป็นอย่างมาก และเราคาดการณ์ว่าจะมีการนำไปใช้ในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว  นี่เป็นโอกาสอันดีโดยเฉพาะสำหรับโซนิค ออโตเมชั่นที่ได้ร่วมมือกับเอ็มไออาร์  ทำให้เราสามารถช่วยสร้างและเพิ่มขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมในประเทศของเราให้ก้าวกระโดดในด้านอุตสาหกรรมต่อไป” นายสุโรจน์    พนาสหธรรม กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท โซนิค ออโตเมชั่น  กล่าว

“ประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญมากสำหรับเอ็มไออาร์ เนื่องจากเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตทางอุตสาหกรรมในอาเซียน เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ก้าวไปข้างหน้าของช่วงเวลาที่สำคัญนี้กับบริษัท โซนิค ออโตเมชั่นในประเทศไทย และเราหวังว่าจะเติบโตและขยายการใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติของเอ็มไออาร์ที่นี่ได้”   นายตัง ปอย ตุง  รองประธานฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท โมบาย  อินดัส เตรียล โรบอทส์  เอ/เอส (Mobile Industrial Robots A/S)  หรือ เอ็มไออาร์ (MiR) กล่าว

เกี่ยวกับโซนิค ออโตเมชั่น(Sonic Automation)

บริษัท โซนิค ออโตเมชั่น (Sonic Automation) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2553  เป็นผู้จัดจำหน่ายชั้นนำและมีประสบการณ์ในการให้บริการ ‘ครบวงจร’ สำหรับผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และบริการที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติ ด้านอุตสาหกรรมในประเทศไทย   บริษัท โซนิค ออโตเมชั่น เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท โซเนปาร์  (Sonepar Group)  ซึ่งเป็นบริษัทอิสระและเป็นผู้นำระดับโลกในการจัดจำหน่ายแบบ B2B ด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า โซลูชัน และการบริการ  ในปี พ.ศ. 2566 โซเนปาร์มียอดขาย 33.3  พันล้านยูโร  ปัจจุบันดำเนินธุรกิจใน 40 ประเทศโดย มีเครือข่ายจำนวนมาก กลุ่มบริษัทแห่งนี้กำลังเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อทำให้ชีวิตของลูกค้าง่ายขึ้น ด้วยการให้ประสบการณ์ในหลายช่องทางและโซลูชั่นที่ยั่งยืนในตลาดอาคาร อุตสาหกรรม และพลังงานสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม    เยี่ยมชมได้ที่  https://sonicautomation.co.th

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon