AIS จับมือ 8 เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญภาคอุตสาหกรรม พัฒนาบุคลากรในเขต EEC ติดอาวุธเทคโนโลยีดิจิทัล และ 5G เตรียมรองรับตลาดแรงงานอุตสาหกรรมเป้าหมาย

42

มิติหุ้น –  นายภูผา เอกะวิภาต  รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า “AIS มีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยี 5G มาพัฒนาเพื่อยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทุกภาคส่วนในทุกมิติ ซึ่งที่ผ่านมา AIS ทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วประเทศเพื่อเป็นการส่งต่อองค์ความรู้ และนำศักยภาพด้านดิจิทัลเทคโนโลยีของเราขยายผลให้เกิดการผลักดันแรงงานสู่ตลาดอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในพื้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมีความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี 5G อย่างสูง ซึ่งปัจจุบันภายในพื้นที่ EEC โครงข่าย AIS 5G ครอบคลุมพื้นที่แล้ว 100% รวมถึงการริเริ่มทดลองทดสอบ 5G Use case ตั้งแต่ปี 2562 จนเกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์ที่เป็นรูปธรรรมขึ้นในปัจจุบัน”

ด้าน ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า “ทิศทางการทำงานของเราคือการเปลี่ยนจากโลกใบเก่ามาสู่โลกใบใหม่ โดย Landscape ขององค์กรและการทำงานต้องตอบโจทย์การปรับตัวลงทุนและเทคโนโลยีใหม่ๆ เราต้องการให้สถาบันการศึกษาตอบโจทย์การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิเช่น ศูนย์ EEC Automation Park ศูนย์เชี่ยวชาญยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ศูนย์การท่องเที่ยวคุณภาพสูงยุคใหม่ ศูนย์พาณิชยนาวี ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ด้านแมคคาทรอนิกส์ ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านอากาศยาน เป็นต้น ซึ่งความร่วมมือกับ AIS ครั้งนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ EEC ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล ความสามารถในการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน จะทำให้เราสามารถสร้างศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ยุคใหม่ หรือ EEC NETs ที่ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ซึ่งโครงการผลิตและพัฒนาบุคลากร ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และ 5G ตอบสนองเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นั้นเป็นร่วมมือระหว่าง AIS และ ศูนย์เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญภาคอุตสาหกรรมพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC NETs) ซึ่งอยู่ภายใต้ความร่วมมือของคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC) มุ่งเน้นในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะเดิม (Re-Skill) การเพิ่มเติมทักษะใหม่ (Up-Skill) และการพัฒนาทักษะใหม่ (New skill) ให้ตระหนักรู้และเข้าใจเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และ 5G สำหรับการนำไปใช้และต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย

  • มหาวิทยาลัยบูรพา
    • ศูนย์เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม 4.0 หรือ EEC Automation Park
    • ศูนย์พัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงยุคใหม่ หรือ ENTOUR
    • ศูนย์เชี่ยวชาญยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง อีอีซี หรือ EV CONEX
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
    • ศูนย์เครือข่ายพาณิชยนาวี หรือ ENMATE
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ
    • ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ด้านแมคคาทรอนิกส์  หรือ ENMEC
  • สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ หรือ MARA
    • ศูนย์พัฒนาทักษะด้านออโตเมชั่นและหุ่นยนต์
  • สถาบันไทย-เยอรมัน
    • ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล AI และ 5G
  • วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
    • ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านอากาศยาน หรือ EEC AVIATION Center

“ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาบุคลากรและตลาดแรงงานในพื้นที่ EEC ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดย AIS มีความมุ่งมั่นที่จะนำศักยภาพของโครงข่าย 5G มาสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรและอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC เพื่อต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการยกระดับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา ร่วมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป” นายภูผา กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon