Entertainment complex หรือ สถานบันเทิงครบวงจร ที่จะเป็นการยกบริการหลากหลายประเภทที่เคยอยู่ใต้ดินทำให้กลายเป็นเรื่องถูกกฎหมายในสังคมไทย อาทิ คาสิโน บ่อนการพนันต่างๆ รวมไปถึงศูนย์รวมความบันเทิงตั้งแต่สวนสนุก สวนน้ำ โรงแรม ศูนย์การประชุม ซึ่งจะใช้พื้นที่เพียง 10% ของทั้งหมด แต่รายได้หลักถึง 70-80% จะมาจากการดำเนินงานของคาสิโน
ดังนั้นร่างกฎหมายต่างๆ จึงสำคัญ โดยร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ได้กำหนดว่าธุรกิจสถานบันเทิงประกอบด้วย 1.ห้างสรรพสินค้า 2.โรงแรม 3.ร้านอาหารในตึกเดียวกันหรือบริเวณใกล้เคียง 4.สนามกีฬา 5.ยอร์ชคลับหรือครูซชิพคลับ 6.สถานที่เล่นเกม 7.สวนน้ำและสวนสนุก 8.สวนสุขภาพ 9.พื้นที่สำหรับส่งเสริมวัฒนธรรมไทยและสินค้า OTOP 10.กิจการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
ไทม์ไลน์ของกฎหมายต่อจากนี้
- เสนอร่างกฎหมายต่อ ส.ส. และ ส.ว. ครบทั้ง 3 วาระ
- ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาร่างกฎหมาย
- ราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้กฎหมาย
- ขั้นตอนเฉพาะโครงการ เช่น การคัดเลือกผู้ประกอบการ
โดยประมาณการรายได้ของผู้ประกอบการกาสิโนอยู่ระหว่าง 56,250-82,917 ลบ. และรายได้ของรัฐบาลอยู่ระหว่าง 32,388-38,022 ลบ. ทำให้รายได้รวมอยู่ระหว่าง 88,638-120,938 ลบ. ขึ้นอยู่กับสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ใช้บริการ (10-30%) และอัตราภาษีกาสิโน (15-20%)
โครงสร้างรายได้จะแบ่งเป็นของผู้ประกอบการสถานบันเทิงครบวงจรและรัฐบาล โดยรายได้ของผู้ประกอบการสถานบันเทิงครบวงจรจะมาจากการเล่นเกม (Gross Gaming Revenue หรือ GGR) หรือเงินที่ได้จากการเล่นพนันคืนประมาณ 50-70% ของรายได้รวม ขณะที่รายได้จากการให้บริการอื่น ๆ จะเฉลี่ยอยู่ในช่วง 30-50% ของรายได้รวม
พื้นที่เป้าหมายการพัฒนา Entertainment Complex
- พื้นที่ท่าเรือคลองเตย (พื้นที่เตรียมย้ายออก) กทม
- พื้นที่โซนบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ
- พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC
- พื้นที่จังหวัดภูเก็ต
- พื้นที่จัดหวัดเชียงใหม่
ด้านนายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) มองการมี Entertainment Complex เป็นเรื่องที่ดี ไม่ใช่มีแต่เพียงแต่คาสิโนเท่านั้น ยังมีในส่วนอื่นๆ ที่เป็นเมกะโปรเจกต์ งานก่อสร้าง มีสถานที่ท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ซึ่งเราสามารถเลือกเที่ยวได้ รวมถึงกระตุ้นในเรื่องของการลงทุน โดย GDP ไทยจะโตแรงได้เมื่อปีนั้นมีงานเมกะโปรเจกต์ ดีกว่าการอัดฉีดเงินเข้าระบบทั้งแบบดิจิทัลหรือเงินสด
ประกอบกับมีเจ้าภาพอย่าง “ราชตฤณมัยสมาคม” หากได้งานนี้ถือว่าค่อนข้างดี เนื่องจากมีความเชียวชาญในงานที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ศักยภาพในการดึงดูดภาคเอกชนเข้ามาร่วมและให้จับตาว่าจะเป็นพื้นที่ตรงไหน มองว่าท่าเรือคลองเตยน่าสนใจ เพราะมีเรื่องของ “ยอร์ชคลับ” หากใช้เอกชนเข้ามาช่วย ท่าสหไทยหรือหุ้น PORT จะได้รับประโยชน์ รวมถึงหุ้น SJWD ส่วนงานเมกะโปรเจกต์ที่จะเกิดขึ้นในปลายปี 68 จะเป็นหุ้นกลุ่มรับเหมาอย่าง CK, STEC กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่เป็นหุ้นใหญ่
ขณะที่บล.กรุงศรีแนะหุ้นในกลุ่มที่มีฐานทุนสูงและมีกระแสข่าวเข้าร่วมโครงการ อาทิ AWC, กลุ่ม บ.อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ UTA (BA+BTS+STEC), กลุ่ม CP และกลุ่มเดอะ มอลล์ หุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่จะมีโอกาสจาก Mega Projects ขนาดใหญ่ เน้น STEC ที่มีโอกาสเดินหน้าไปกับกลุ่ม UTA หุ้นธนาคารที่คาดมีการปล่อยสินเชื่อขนาดใหญ่สนับสนุนโครงการ อาทิ BBL, KBANK, KTB หุ้นภาคบริการ เน้น AOT, MINT, BDMS
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon