TIA แจ้งความคืบหน้าดำเนินคดีแบบกลุ่ม ผู้เสียหายหุ้น STARK

180

มิติหุ้น  –  จากความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณี บริษัท สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) – STARK โดยมีการแถลงข่าวร่วมกันของ 11 องค์กร เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สนับสนุนให้สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (TIA) เป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ลงทุนรายบุคคลที่ลงทุนในหุ้นสามัญ (กรณีหุ้นกู้ มีตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับผิดชอบอยู่แล้ว) ในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action)
ในการนี้ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยจึงทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนผู้เสียหายกลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญตามกระบวนการยุติธรรมให้บังเกิดผล โดยมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องการแจ้งข้อมูล ความคืบหน้า

การดำเนินการของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยในการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายกลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ STARK มีการดำเนินการ ดังนี้
1. เปิดระบบออนไลน์ลงทะเบียนผู้เสียหายที่ลงทุนในหุ้นสามัญ STARK รอบที่ 1: ระหว่าง วันที่ 19-25 มิถุนายน 2566 มีผู้เสียหายเข้ามาลงทะเบียน 1,759 ราย รวมมูลค่า
ความเสียหาย 4,039 ล้านบาท
2. เชิญประชุมผู้เสียหายที่ลงทะเบียน ในข้อ 1. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เสียหายคัดเลือก “โจทก์ตัวแทนผู้เสียหาย”
3. เปิดระบบออนไลน์ ลงทะเบียนผู้เสียหายหุ้นสามัญ STARK รอบที่ 2: ระหว่าง 17-30 เมษายน 2567 มีผู้เสียหาย เข้ามาลงทะเบียน จำนวน 1,207 รายข้อมูลการดำเนินคดีแบบกลุ่ม

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา โจทก์ตัวแทนผู้เสียหาย (“โจทก์ฯ”) กลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ STARK ได้ยื่นฟ้อง STARK บริษัทในเครือ และกรรมการที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด รวม 10 ราย เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ. 1061/2567 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และโจทก์ฯได้ประสานงานกับสมาคมฯ เพื่อขอให้แจ้งข่าวสารแก่ผู้เสียหายรายอื่นๆ ด้วย โดยการฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องคดีแพ่งฐานละเมิดและการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อเรียกค่าเสียหาย และขอดำเนินคดีแบบกลุ่ม
(Class Action) เพื่อให้ผลของคำพิพากษาครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้เสียหายที่เป็นผู้ลงทุนในหุ้นสามัญรายอื่นๆ ด้วย

ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. ขอบเขตของสมาชิกกลุ่มผู้เสียหายกลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ คือ เป็นบุคคลที่เข้าซื้อหรือขายหุ้นสามัญของ STARK ในช่วงระยะเวลาแห่งความเสียหาย (Class Period)
กล่าวคือ ในช่วงเวลาระหว่าง วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 – วันที่ 16 มิถุนายน 2566 (ช่วงที่มีการเผยแพร่งบการเงินเท็จของ STARK)

2. การเข้าซื้อหุ้น ในข้อ 1. สามารถแบ่งประเภทผู้เสียหายออกเป็น 3 กลุ่มย่อย (Sub-Class) ได้แก่ 1. ผู้เสียหายที่เข้าซื้อหุ้นสามัญ STARK และยังถือหุ้นอยู่/ 2. ผู้เสียหายที่
เข้าซื้อหุ้นสามัญ STARK และขายหุ้นออกบางส่วน/ 3. ผู้เสียหายที่เข้าซื้อหุ้นสามัญ STARK และขายหุ้นออกแล้วทั้งหมด

3. การเรียกค่าเสียหายเป็นการเรียกค่าเสียหายโดยคำนวณจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่ซื้อขายกับราคาหุ้นที่แท้จริงของ STARK ที่ควรจะเป็นหากไม่มีการเปิดเผยข้อมูลงบ
การเงินเท็จ ซึ่งหลักในการคำนวณค่าเสียหายดังกล่าวสามารถปรับใช้กับผู้เสียหายทุกกลุ่มย่อยตามข้อ 2. ได้

4. หากท่านเป็นผู้เสียหายกลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญตาม ข้อ 1. และ ข้อ 2. ข้างต้น ทุกท่านได้ถูกนับรวมอยู่ใน สมาชิกกลุ่มของการดำเนินคดีแบบกลุ่ม – Class Action และหากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มก็จะส่งผลให้ทั้งโจทก์ฯ และสมาชิกกลุ่มมีผลทางคดีร่วมกันการดำเนินการในช่วงต่อไป

1. วันที่ 6 มิถุนายน 2567 โจทก์ฯ ได้ยื่นคำฟ้องและคำร้องขอดำเนินคดีแบบกลุ่ม ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.1061/2567
2. วันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 -16. 30 น. ศาลนัดสืบพยานในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีแบบกลุ่ม ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
การดำเนินการ ตามกระบวนการยุติธรรม
สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ทำหน้าที่ช่วยเหลือ ประสานงาน อำนวยความสะดวก ให้กับกลุ่มตัวแทนโจทก์ผู้เสียหาย ตลอดจนทำหน้าที่ในการแจ้งความคืบหน้า (กรณีเมื่อมีความ
คืบหน้า) ตามข้อมูลที่กลุ่มตัวแทนโจทก์ผู้เสียหายแจ้งมา ผ่านช่องทางการสื่อสาร คือ 1) ระบบออนไลน์ ตามอีเมล์ของแต่ละบุคคลที่ลงทะเบียนไว้กับสมาคมฯ 2) ระบบออนไลน์ ใน

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon