BYD  เคลียร์ชัดปมสงสัยSET  ยันฐานะธุรกิจหลักทรัพย์แกร่ง  ลงทุนTSBไม่มีหละหลวม  

127

มิติหุ้น- นายชัยพัชร์ นาคมณฑนาคุ้ม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) หรือBYD เปิดเผยว่า บริษัทฯขอชี้แจงข้อมูลเพื่อความเข้าใจถูกต้องและชัดเจน ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ได้ให้บริษัทชี้แจงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด หรือ TSB  ซึ่งเป็นบริษัทร่วมโดยอ้อมของบริษัท ดังนี้

1.ผลกระทบจากการพักชำระหนี้ให้กับTSB ต่อฐานะ การเงิน ผลการดำเนินงาน และสภาพคล่องของบริษัท

คำชี้แจง –จากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ได้มีมติอนุมัติตามคำขอของ TSB ปรับเงื่อนไขและข้อตกลงภายใต้สัญญากู้ยืมเงิน โดยขยายระยะเวลา Grace period และพักการชำระดอกเบี้ย (ซึ่งในระหว่างการพักการชำระดอกเบี้ยยังคงมีการคำนวณคิดดอกเบี้ยอยู่ เพียงแต่ยังไม่มีการชำาระเท่านั้น) ออกไปอีกไม่เกิน 3 ปี 3 เดือนนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและสภาพคล่องของบริษัท  เนื่องจากรายได้ธุรกิจหลักทรัพย์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแผนการ ขยายธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทฯ
โดยตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี2567 ได้มีการรับผู้บริหารและ พนักงานทางด้านการตลาดเพิ่มขึ้นจำนวนมากเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกรรมด้านธุรกิจหลักทรัพย์ด้านการบริหารจัดการความมั่งคั่ง (Wealth Management) และธุรกรรมที่ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ ซึ่งการขยายตัวของธุรกรรมดังกล่าว
บริษัทฯ ต้องมีการลงทุน ทั้งอาคาร สถานที่ อุปกรณ์และระบบต่างๆ เพื่อให้เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการที่ครบวงจรและตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า จึงทำให้ผลการดำเนินงานในช่วงแรกมีผลขาดทุนเพิ่มขึ้น
สำหรับฐานะการเงิน และสภาพคล่องของบริษัท ยังดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสภาพคล่องของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ยังสามารถดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิและอัตราส่วนเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิสูงกว่าเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต.  กำหนดให้ไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท และอัตราส่วน เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ต่ำกว่า 7%  โดย ณ วันที่ 17 ก.ย. 67 บริษัทมี NC 1,470 ลบ. และNCR 312%

 

  1. นโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให้กู้ยืมกับ TSB เนื่องจากปี 66 TSB มีผลการดำเนินงานขาดทุนและส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ

คำชี้แจง- จากการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ปรับเงื่อนไขและ ข้อตกลงภายใต้สัญญากู้ยืมเงินระหว่างบริษัทฯและ TSB ให้ขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปไม่เกิน 3 ปี 3 เดือน โดยให้เริ่มชำระไม่เกินวันที่ 31 มกราคม 2570 ซึ่งบริษัทฯ ได้พิจารณาเหตุดังกล่าวตาม TFRS 9 และถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญากู้ยืมเงิน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดตามสัญญา
ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้ทำการคำนวณผลกระทบและรับรู้ผลขาดทุนทางบัญชีจำนวน 102.91 ล้านบาท แสดงอยู่ในงบกำไร ขาดทุนในไตรมาสที่ 1/2567 เรียบร้อยแล้ว
ดังนั้นการประเมินการด้อยค่าของเงินให้กู้ยืมของ บริษัทฯ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 จึงประเมินโดยยึดตามเงื่อนไขและตารางการจ่ายเงินใหม่ โดยทำการประเมินตามหลักการของ TFRS 9 ซึ่งการพิจารณาการด้อยค่า (ECL) ของเงินให้ กู้ยืมบริษัทฯ ได้พิจารณาใน 2 แง่มุมได้แก่
1. จำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับคืน บริษัทฯ พิจารณาจากข้อเท็จจริงสนับสนุนหลายประการ เช่น ประมาณการกระแสเงินสด ของกลุ่ม TSB ว่าสามารถสร้างกระแสเงินสดได้เพียงพอจ่ายคืนเงินกู้ยืมของบริษัทฯ ซึ่งจะเห็นได้จากผลประกอบการของ TSB ที่ดีขึ้นเนื่องจาก ขสมก. ถอดถอนเส้นทางที่วิ่งทับซ้อนกับ เส้นทางที่กลุ่ม TSB มีสิทธิโดยถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่ปลายปี 2566 ต่อเนื่องจนถึงต้น ไตรมาสที่ 3/2567 ส่งผลให้จากเดิมที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 280,998 คน/วัน เพิ่มขึ้นเป็น 328,839 คน/วัน (ผู้โดยสารสูงสุดที่ 372,531 คน/วัน) ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการประเมินประมาณการกระแส เงินสดที่สะท้อนปัจจัยดังกล่าวแล้ว พบว่า TSB ยังมีกระแสเงินสดเพียงพอจ่ายคืนเงินกู้ยืม และคาดว่าจะได้รับเงินให้กู้ยืมคืนทั้งจำนวน อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้พิจารณาการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัทร่วม พบว่าเงินลงทุนใน บริษัทร่วมยังไม่ด้อยค่า เนื่องจากประมาณการกระแสเงินสดที่คำนวณได้หักเงินให้กู้ยืม จำนวนดังกล่าวแล้วยังเหลือพอที่จะคืนเงินลงทุนในบริษัทร่วม

  1. ระยะเวลาที่จะได้รับคนื จากการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ปรับเงื่อนไขและข้อตกลงภายใต้สัญญาเงินให้กู้ยืมระหว่างบริษัทฯ และ TSB ให้ขยายระยะเวลาการชำระคืน เงินต้นและดอกเบี้ยออกไปไม่เกิน 3 ปี 3 เดือน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท TSB ให้เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 เงินให้กู้ยืมดังกล่าวยังไม่ถึง กำหนดชำระคืน และถือว่ายังไม่มีเหตุผิดนัดชำระ
    นอกจากนี้บริษัทฯ ได้พิจารณาถึงความเสี่ยงด้านเครดิตของ TSB จากประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้

– TSB มีแผนการดำเนินงานและการลงทุนที่ชัดเจนในการทำรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า ภายใต้ใบอนุญาตที่ถูกกำหนดในเรื่องของราคาค่าโดยสาร และต้นทุนที่ค่อนข้าง แน่นอน
– TSB เป็นบริษัทเอกชนที่ครอบครองเครือข่ายการให้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะราย ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะมีคู่แข่งเข้ามาในระยะสั้น หรือระยะกลาง
– นับจากเริ่มให้บริการในปี 2565 เป็นต้นมา รวมเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว กลุ่ม TSB มี รายได้จากการให้บริการที่ดีขึ้นมาเป็นล าดับ ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการพิจารณาความ คืบหน้าในการสร้างรายได้ของ TSB และได้ติดตามข้อมูลจากระบบการควบคุมการ ปฏิบัติการ ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลโดยละเอียดและเป็นปัจจุบัน จากข้อมูลในระบบ ดังกล่าวพบว่า จำนวนผู้โดยสารสูงสุด คือ 372,531 คน/วัน มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ระดับที่ เทียบเคียงได้กับจำนวนผู้โดยสารต่อวันในระบบขนส่งของรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ซึ่ง เปิดให้บริการมากว่า 20 ปีแล้ว พบว่า ณ เดือนสิงหาคม 2567 มีจำนวนเฉลี่ย 450,000 เที่ยวต่อวัน (อ้างอิงข้อมูลจาก www.bemplc.co.th) จากเหตุผลสนับสนุนดังกล่าวเป็นเหตุให้เชื่อว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของ TSB ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปจากวันแรก บริษัทฯ จึงพิจารณา ECL ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือน ข้างหน้าเท่านั้น และพบว่ายังไม่ถึงกำหนดชำระและไม่มีเหตุผิดนัดเกิดขึ้น
นอกจากนี้จากการพิจารณาประมาณการกระแสเงินสดของ TSB ภายหลัง 12 เดือน ข้างหน้า บริษัทฯ เชื่อว่าTSB ยังคงสามารถจ่ายคืนเงินให้กู้ยืมได้ตามกำหนดชำระภายใต้ เงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากผู้ถือหุ้น
3. ความเพียงพอของมูลค่าหลักประกันเงินให้กู้ยืมกับ TSB แ ล ะ ม า ต ร ก า ร ดู แ ล ค ว า ม เ สี่ ย ง แ ละ ก า ร ดำเนินการของบริษัทฯ ใน การดูแลลูกหนี้ TSB จากโครงสร้างธุรกิจของบริษัทฯ หาก TSB มีการผิดนัดชำระเงินต้น

 

 

  1. ความเพียงพ อของมูลค่า หลักประกันเงินให้กู้ยืมกับ TSB แ ล ะ ม า ต ร ก า ร ดู แ ล ค ว า ม เ สี่ ย ง แ ล ะ การดำเนินการของบริษัทฯ ใน การดูแลลูกหนี้ TSB

 คำชี้แจง-จากโครงสร้างธุรกิจของบริษัทฯ หาก TSB มีการผิดนัดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย บริษัทฯ สามารถยึดหลักประกันซึ่งเป็นหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิของ ACE (บริษัทร่วมของบริษัทฯ) ที่ถือโดยผู้ร่วมทุนซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ACE อันเป็นไปตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งกรณี ดังกล่าวจะทำให้บริษัทฯ สามารถเข้าไปจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของ TSB ทั้งหมดได้ต่อไป ณ ปัจจุบัน บริษัทฯ มีการติดตามการดำเนินงานของ TSB และบริษัทย่อย ทั้งจาก รายงานการปฏิบัติการรายเดือน การเข้าตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน การเข้าตรวจสอบ ของผู้สอบบัญชี และการเข้าร่วมประชุมกับฝ่ายบริหารของ TSB ตลอดจน เข้าตรวจเยี่ยม กิจการเป็นระยะๆ เพื่อติดตามการใช้จ่ายลงทุนตามแผนงานที่ได้แจ้งต่อบริษัทฯ ไว้ ให้ คำแนะนำสนับสนุนการดำเนินงาน และพัฒนาธุรกิจร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ ได้มีการรายงานให้ที่ ประชุมคณะกรรมการบริหารรับทราบเป็นประจำทุกเดือน และรายงานให้คณะกรรมการ บริษัทรับทราบทุกไตรมาส

 

พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ขอเรียนว่า นับตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดการ คณะกรรมการบริษัททำการกำกับและติดตามอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดย คำนึงถึงความเพียงพอของเงินทุน การมีสภาพคล่องที่มากเพียงพอสำหรับการขยายธุรกิจหลักทรัพย์ การบริหารความ เสี่ยง การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำกับดูแล และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ มาโดยตลอด อีกทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลทรัพย์สินของลูกค้าให้ปลอดภัย
สำหรับกรณีที่บริษัทฯ เข้าลงทุนใน TSB นั้น บริษัทฯ ได้เปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจนมาเป็นลำดับ การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัทฯ ชี้แจงรายการในครั้งนี้ ส่งผล ให้ลูกค้า พนักงาน และบุคคลภายนอกเกิดความกังวล และสอบถามเข้ามายังบริษัทฯ ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนั้น บริษัทฯ จึงหวังว่า คำชี้แจงให้เห็นภาพรวมทั้งหมด รวมถึงการเปิดเผยถึงสถานะและสภาพคล่องของบริษัทฯ ในครั้งนี้ จะสร้าง ความเข้าใจที่ถูกต้อง และชัดเจนได้ และขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

 

 

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/

Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon

Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770

Tiktok : www.tiktok.com/