
ทั้งนี้หน่วยงานต่าง ๆ ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะเป็นหน่วยงานหลักกำหนดเนื้อหาและพื้นที่ในการส่งข้อความ การจัดการข้อความที่จะสื่อสาร เรียกว่า ส่วนของ Cell Broadcast Entity (CBE)
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการในส่วนของระบบ Cloud Server และการเชื่อมต่อระหว่าง CBE และ Cell Broadcast Center (CBC) ซึ่งดูแลโดยผู้ให้บริการโครงข่าย ทำหน้าที่นำเนื้อหาข้อความแจ้งเตือนเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในบริเวณพื้นที่ที่เกิดภัยพิภัย หรือเหตุด่วนเหตุร้าย
สำหรับในส่วนของ สำนักงาน กสทช. นั้น เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณให้แก่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 ราย ทั้ง AWN TUC และ NT โดยใช้งบประมาณจากเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เพื่อให้เกิดระบบ Cell Broadcast ซึ่งการลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต ครั้งนี้ เป็นการดำเนินการทดลองทดสอบความเป็นไปได้ของระบบแจ้งเตือนภัย ถือเป็นการทดลองทดสอบเสมือนจริง
“สำนักงาน กสทช. มีความตั้งใจกับการดำเนินการในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะเหตุด่วนเหตุร้าย หรือเหตุภัยพิบัติ เป็นความสูญเสียที่ใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น ความปลอดภัยในชีวิตเป็นเรื่องพื้นฐานของเราทุกคน และก็ไม่รู้ว่าเหตุเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไร ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลผู้ประกอบการโทรคมนาคม เราพร้อมให้การสนับสนุน และอยากเห็นสิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นการพัฒนาระบบพื้นฐานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนเกิดขึ้นกับประเทศของเรา” นายไตรรัตน์ กล่าว
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon