มิติหุ้น – Finnomena Funds จัดเทศกาลลดหย่อนภาษีประจำปี หมีกินหมีใช้ เสริมทัพด้วยกูรู นายแว่นลงทุน หมอนัท คลินิกกองทุน แนะกลยุทธ์เลือกกองทุนลดหย่อนภาษีโค้งสุดท้ายของปี เน้นเทรนด์ การเติบโตในระยะยาว ด้าน “เฌอปราง อารีย์กุล” ชวนใช้วิธีออมก่อนใช้ สร้างความมั่นคงทางการเงินหลังวัยเกษียณ
เทศกาลลดหย่อนภาษีประจำปี หมีกินหมีใช้ งานยิ่งใหญ่ประจำปี 2024 ของ Finnomena งานที่จะทำให้คุณ “หมี” เงินกิน “หมี” เงินเก็บกันมากขึ้น ชวนคนไทยซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี อาทิ กองทุน SSF, RMF และ Thai ESG เนื่องจากประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการขายกองทุนรวมที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามความมุ่งหวังของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนเกิดการออมในระยะยาว เก็บเงินไว้ใช้หลังวัยเกษียณ
นายคณิต นิมมาลัยรัตน์ ผู้ก่อตั้งเพจ “นายแว่น ลงทุน – Naiwaen Investment” บอกว่า เริ่มลงทุนในตลาดหุ้นปี 2553 และลาออกจากงานประจำมาเป็นนักลงทุนเต็มตัวในปี 2563 แต่ก็ยังมีการลงทุนผ่านกองทุน RMF เป็นประจำทุกเดือน ด้วยวิธี DCA (Dollar-Cost Averaging) หรือการลงทุนด้วยเงินที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน เพื่อเก็บเงินไว้ใช้หลังวัยเกษียณ ลดหย่อนภาษี และกระจายความเสี่ยง
สำหรับวิธีการเลือกกองทุน จะเน้นลงทุนในสินค้า หรือ บริการที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ตามแนวทางของ “ปีเตอร์ ลินช์” นักลงทุนระดับตำนาน เช่น ร้านสะดวกซื้อ สายการบิน สนามบิน หรือ กิจการที่รองรับสังคมผู้สูงอายุ เช่น โรงพยาบาล บริษัทผลิตยา นอกจากนี้ยังมีการกระจายความเสี่ยงลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ด้วย ส่วนภาวะการผันผวนของราคา หรือ ราคากองทุนปรับตัวลดลง มองเป็นเรื่องที่ดี ได้ซื้อของถูก เพราะมองเป็นการลงทุนระยะยาว
ด้าน น.สพ. ธนัฐ ศิริวรางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านกองทุนรวม และเจ้าของเพจคลินิกกองทุน บอกว่า นักลงทุนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเกี่ยวกับกองทุนลดหย่อนภาษี ว่าซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีเพียงอย่างเดียว แต่หลักการสำคัญ คือ การลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนด้วย ทำให้ต้องพิจารณาความเสี่ยงว่ารับได้แค่ไหน ถ้าหวังผลตอบแทนเยอะ รับความเสี่ยงได้สูงต้องลงทุนในหุ้น ถ้าความเสี่ยงต่ำต้องพิจารณากองทุนผสมตราสารหนี้ด้วย
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนต้องพิจารณา 4 เรื่องประกอบ คือ “นโยบายของกองทุน ระดับความเสี่ยง อัตราค่าธรรมเนียม และผลตอบแทนย้อนหลัง 3-5 ปี” เพราะหากผลตอบแทนย้อนหลังทำได้ดี กองทุนนั้นมักทำผลงานระยะยาวได้ดีด้วย อิงตามผลการทำงานของผู้จัดการกองทุนว่าดีแค่ไหน ขณะที่การลงทุนสินทรัพย์อื่นส่วนใหญ่เป็นการดูแนวโน้มในอนาคตเป็นหลัก
น.สพ. ธนัฐ บอกด้วยว่า สำหรับวิธีการเลือกกองทุน เน้นธีมและเทรนด์ระยะยาวในช่วงเวลานั้น ๆ เช่น ธุรกิจสุขภาพ มีโอกาสสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 10-12% ถ้า 10-15 ปี ก็มีโอกาสโตมากกว่า 100% และต้องเลือกประเทศด้วย เช่น อินเดีย ประชากรมีจำนวนมาก ตลาดการค้าจะใหญ่กว่าจีน วัยแรงงานเยอะ แต่อินเดียพัฒนาช้ากว่าจีน เพราะติดเรื่องวรรณะ คาดอีก 10 ปี จีดีพีอินเดียมากกว่าเยอรมนี นอกจากนี้การลงทุนควรจัดเป็นพอร์ต ไม่ลงตัวเดียว กองไหนดีก็เติมเงินเพิ่ม อันไหนคิดว่าจะไม่ดีก็ลดเงินลง เลือกสินทรัพย์อื่นเข้ามาแทน
ทางด้านนางสาวเฌอปราง อารีย์กุล ผู้จัดการวง BNK48 บอกว่า ตอนนี้อายุ 28 ปี อดีตเริ่มมีรายได้ครั้งแรกช่วงอายุ 18 ปี รับสอนพิเศษ และได้เงินเดือนจริงจังช่วงเริ่มทำงานกับอาจารย์ เป็นผู้ช่วยวิจัยเงินเดือน 12,000 ตอนอายุ 19 ปี แต่เริ่มบริหารค่าใช้จ่าย จดรายรับ รายจ่าย ตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย ปัจจุบันมีรายได้เยอะ ต้องวางแผนภาษี และลงทุนเพื่อเก็บออมไว้ช่วงวัยเกษียณ
โดยใช้แนวคิด ”ออมก่อนใช้” ลงทุน 50% ของรายได้ แบบ DCA ทุก ๆ เดือน และกระจายการลงทุนในทุกรูปแบบ ทั้งประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันสะสมทรัพย์ ประกันบำนาญ กองทุน SSF, RMF และกำลังศึกษากองทุน Thai ESG
นายชยนนท์ รักกาญจนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena Funds บอกว่า โพยการลงทุนสำหรับ “เฌอปราง” รายได้สูง อายุน้อย ไม่ค่อยมีเวลา จึงเหมาะสำหรับการลงทุนที่เน้นเติบโตในระยะยาวแบบกระจายความเสี่ยง คือ กองทุน KKP GNP RMF-UH และ KKP GNP-SSF ลงทุนในกองทุน CAPITAL GROUP NEW PERSPECTIVE FUND เน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลกแบบกระจายความเสี่ยงมากกว่า 200 บริษัท มีการบริหารเชิงรุก โดยผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์สูงผ่านกลยุทธ์ Multi-Manager ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรม และเน้นบริษัทที่มีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและเศรษฐกิจของโลกในอนาคต การลงทุนในกองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม
นายเจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena Group บอกว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทย เวียดนาม และอินเดีย ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทย แนะนำลงทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ซึ่งตรงกับระยะเวลาที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรกที่ส่งผลให้การส่งออกไทย น่าจะเพิ่มขึ้น ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม และอินเดีย ค่า P/E เฉลี่ยเพียง 8 เท่า ก็มีแนวโน้มขยายตัวได้อีกในอนาคต
นายจิรภัทร โบสุวรรณ Senior Investment Specialist จาก Definit บอกว่า โพยการลงทุนลดหย่อนภาษีส่งท้ายปี มี 3 ทางสไตล์ ประกอบด้วย
โพยสำหรับ “หมีทิง” ตัวแทนนักลงทุนหน้าใหม่ไฟแรง “ด้วย Character ที่เป็นลูกผสมระหว่างหมีกับกระทิง จึงบู๊บ้างถอยบ้าง”
กองทุน Tax Saving Fund ที่เหมาะสำหรับหมีทิงคือกองทุน UGBFRMF และ UGBF-SSF ที่จะเน้นลงทุนในกองทุน JPMorgan Investment Funds – Global Balanced Fund ลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกแบบผสมผสาน โดยในสภาวะที่ตลาดเป็นปกติ กองทุนจะมีกลยุทธ์การลงทุนในหุ้น 50% และ ตราสารหนี้ 50% โดยมี Concept คือ Global Balance Fund จึงสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว
โพยสำหรับ “Bullranger” ตัวแทนนักลงทุนมือฉมัง “บู๊ตลาดตามสไตล์กระทิง เชี่ยวชาญการลงทุนในหุ้น โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทย”
กองทุน Tax Saving Fund ที่เหมาะสำหรับ Bullranger จึงเป็นกองทุนประเภท ThaiESG ได้แก่ ASP-ThaiESG และ KTAG70/30-ThaiESG ที่จะเน้นลงทุนในหุ้นไทยในบริษัทที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่ดี โดยกองทุน ASP-ThaiESG โดยจะเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีการจัดอันดับ SET ESG Rating ต้ังแต่ BBB ขึ้นไป และสำหรับนักลงทุนหุ้นไทยที่รับความเสี่ยงได้ต่ำลงมากองทุน KTAG70/30-ThaiESG ที่จะเน้นลงทุนในหุ้นไทย 70% และตราสารหนี้ไทย 30% ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่สนใจในการลงทุนในกองทุน ThaiESG เช่นกัน
โพยสำหรับ “Mr. Pete” ตัวแทนนักลงทุนผู้เป็นกูรู TSF “เน้นวางกลยุทธ์ จัดทัพกองทุนลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนรวมอย่างรอบคอบ ตามสไตล์พนักงานเงินเดือนและบุคคลทั่วไปที่เสียภาษีเป็นประจำทุกปี”
กองทุน Tax Saving Fund ที่เหมาะสำหรับสไตล์ของ Mr.Pete คือ Tax Saving Fund Package โดย Mr.Pete อยากแชร์ประสบการณ์และความรู้ในเรื่องของการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี เพื่อที่จะได้เป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนหลาย ๆ คนที่อยากจะลงทุนลดหย่อนภาษีแบบกระจายความเสี่ยงแต่ไม่ค่อยมีเวลามานั่งจัดทัพการลงทุนด้วยตัวเอง สำหรับคนที่ต้องการลดหย่อนภาษีในปี 2024 ซึ่งมี Package ให้เลือกถึง 4 ชุด ได้แก่ 1,3,5 และ 7 ไล่จากระดับความเสี่ยงจากน้อยไปมาก เพื่อให้สอดคล้องกับนักลงทุน
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon