SCB EIC วิจัยโรงแรมไทย 2 หมื่นแห่ง ต้องปรับรักษ์โลกตามกฎEU

33

SCB EIC เตือนผลวิจัยโรงแรมไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือกติกายุโรปก่อนปี 2569 กว่า 2 หมื่นแห่งในไทยที่ขายจองห้องผ่านแอปยุโรป อาทิ อโกด้า บุ๊กกิ้งดอทคอม จะต้องมีมาตรฐาน CSRD และ CSDD แนะภาครัฐหนุน 3 มาตรการเปลี่ยนผ่านโรงแรมไทยสู่โรงแรมสีเขียว

บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) เปิดเผยถึง ผลกระทบจากกฎกติกาด้านความยั่งยืนเริ่มมีความเข้มข้นขึ้นในกลุ่มธุรกิจโรงแรมไทย ที่กติการักษ์โลกของสหภาพยุโรป (EU) มีข้อบังคับให้ภายในปี 2569 จัดระบบโรงแรมและที่พักของไทยกว่า 2 หมื่นแห่ง ที่ขายห้องพักบน บุ๊คกิ้งดอทคอม(Booking.com) และ อโกด้า (Agoda ) จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด CSRD(Corporate Sustainability Reporting Directive) รายงานความยั่งยืน และCSDDD (Corporate Sustainability Due Diligence Directive) ตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานเกี่ยวข้องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ทำให้ทั้ง 2 แอปพลิเคชั่นมีหน้าที่ส่งเสริมโรงแรมทั่วโลกที่ขายห้องพักบนแพลตฟอร์มให้ได้รับการรับรองมาตรฐานความยั่งยืนในระดับสากล อย่างเช่น Greenkey, Green Globe, Travelife, EarthCheck, GSTC และรวมถึง Green Hotel Plus ของไทย  GSTC-Recognized Standard

พฤติกรรมนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศในไตรมาส 3 ปี 2567 สัดส่วน 56% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยนิยมจองโรงแรมและที่พักผ่าน OTAs (Online Travel Agencies) และ 35% ของนักท่องเที่ยวยุโรปจองผ่านบริษัททัวร์  ที่จะกระทบต่อโรงแรมรับต่างชาติไม่ต่ำกว่า 35 ล้านคนต่อปี หรือ ราว 20% ของนักท่องเที่ยวจากยุโรป

โรงแรมไทยปล่อยก๊าซสูงเทียบคู่แข่งทั่วโลก

ขณะที่โรงแรมไทย ได้รับการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกรมสิ่งแวดล้อม อาหาร และการเกษตรแห่งสหราชอาณาจักร  (The Department for Environment, Food & Rural Affairs -DEFRA) ของสหราชอาณาจักร ในปี 2566 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง  43.4 kgCO2e per occupied room เมื่อเทียบกับ เมืองท่องเที่ยวสำคัญของโลกอย่างญี่ปุ่น สิงคโปร์ อิตาลี และฝรั่งเศส

เพียง 1% ได้รับรองมาตรฐานสากล

กิจการโรงแรมไทย ที่ได้รับมาตรฐานด้านความยั่งยืนในระดับสากลในปี 2567 มีอยู่ที่เพียงราว 100 แห่งหรือมีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของโรงแรมและที่พักในไทยทั้งหมด อีกทั้งยังกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และภูเก็ต สัดส่วนถึง 60% สะท้อนได้ว่ายังมีข้อจำกัดจาก 3 ปัจจัยคือ 1. ขาดความเข้าใจด้านโรงแรมยั่งยืน 2. ขาดความพร้อมในด้านเงินทุน บุคลากร ที่ปรึกษา และเก็บข้อมูล และ 3.ขาดการส่งเสริมทั้งจากนโยบายภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงต้องกำหนดแนวทางให้ชัดเจน สร้างความเข้าใจกับพนักงาน และผู้เข้าพัก และนำไปสู่การปฏิบัติ (Transform) ส่วนภาครัฐจะต้องช่วยยกระดับผู้ประกอบการไทย จัดตั้งกองทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเปลี่ยนผ่าน และออกมาตรการสนับสนุน

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon