PTT ต้นน้ำชดเชยปลายน้ำ พอร์ตสมดุลรอธุรกิจโลกยั่งยืน 

105

PTT กางแผนเติบโตท้าโลกผันผวน นโยบายทรัมป์สวนทางเทรนด์โลก เดินแผนไปกรีนไม่เจ็บตัว ในแบบบริบทสังคมไทย พอร์ตหลักรายได้ยังกอดฟอสซิล ควบคู่ลดคาร์บอนฯ จัดพอร์ต รายได้ธุรกิจต้นน้ำ ชดเชยปลายน้ำปิโตรฯขาดทุน ส่งGPSC หาโอกาสโลกอนาคตพลังงานสะอาด เมื่อCCS ไฮโดรเจนต้นทุนต่ำ ตอบโจทย์เทรนด์โลกยั่งยืน 

ดร.คงกระพัน  อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลดำเนินการปี 2567 มีกำไรสุทธิ 90,072 ล้านบาท จ่ายเงินปันผลที่ 2.10 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตรา 6.6% โดยรายได้หลักยังมาจากธุรกิจไฮโดรคาร์บอน ในกลุ่มสำรวจและขุดเจาะ (Upstream) มาพยุงชดเชยให้กับกลุ่มธุรกิจลปลายน้ำ ปิโตรเคมี (Downstream) ที่ขาดทุนตามสถานการณ์ราคาปิโตรเคมีโลก รวมถึงมีการบริจัดการขายธุรกิจและลดต้นทุนภายใน ส่งผลทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายมูลค่า 10,000 บาท

กลยุทธ์ปตท.มีการจัดพอร์ตธุรกิจในกลุุ่มให้สมดุล ยกระดับธุรกิจต้นน้ำ สร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าในบมจ.ไทยออยล์ (TOP), ไออาร์พีซี (IRPC), ส่วน บมจ.น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ปรับพอร์ตสู่ธุรกิจไลฟ์สไตล์ ตัดธุรกิจที่ไม่ทำกำไร เช่น TEXAS  ขณะเดียวกัน  ปตท.ก็มีหน้าที่สร้างความมั่นคงพลังงาน ช่วยลดภาระค่าครองชีพด้านพลังงานให้กับประชาชน มูลค่าถึง 2.8 หมื่นล้านบาท

สำหรับกลยุทธ์ความยั่งยืนของปตท. ในยุคที่โลกผันผวน เมื่อตามนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์  ประธานาธิบดีสหรัฐ ต้องการเพิ่มปริมาณน้ำมัน แต่เทรนด์โลกต้องไปสู่พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน จึงต้องวางสมดุลให้สอคดล้องกันกับบริบทของประเทศไทย ก๊าซมีต้นทุนต่ำและยังผลิตภายในประเทศ ท่ามกลางเทรนด์โลก จึงต้องเลือกสัดส่วนพัฒนาให้เหมาะสม

“ท่ามกลางวิกฤติการเมืองและทิศทางเศรษฐกิจโลกผันผวน ปตท.จะต้องวางสมดุลทั้งการทำในสิ่งที่ถนัดคืออุตฯ Hydrocarbon สร้างความมั่นทางพลังงาน สอดคล้องบริบทประเทศ ที่ก๊าซธรรมชาติ ยังถือเป็นพลังงานที่ต้นทุนต่ำ พร้อมกันกับดูแลสังคมลดรายได้พลังงาน แม้ผู้ถือหุ้นไม่ชอบนักแต่จะต้องทำควบคู่กันไป”

ทั้งนี้ ได้มีการจัดวางสัดส่วนของไฮโดรคาร์บอน ไปพร้อมกันกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป้าหมายในปี 2050 ควบคู่กันกับ การศึกษาพัฒนาธุรกิจใหม่ ที่เป็นอนาคต ทั้งพลังงานไฮโดรเจน การจัดเก็บคาร์บอน (CCS) ซึ่งในประเทศไทยกำลังหาพื้นที่ และต้นทุนยังสูงหากเทียบกับต่างประเทศ จึงต้องรอต้นทุนที่ลด ส่วนพลังงานสะอาดก็มีกลุ่มGPSC เข้าไปลงทุนสัดส่วนค่อยๆ เพิ่มขึ้น รวมถึง การหาพันธมิตรใหม่ ในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี เพื่อร่วมมือกันพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ตลอดจนการลงทุนด้านดิจิทัล ทรานสฟอร์ม นำ AI มาใช้ในธุรกิจเพื่อช่วยลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพ

“เราไม่ทำแบบเอ็กซ์ตรีม กรีนทั้งหมด เลือกที่จะรักษาความมั่นคงพลังงาน และความสามารถแข่งขันพลังงานจึงต่อยอดจากธุรกิจเดิม มีกาลดคาร์บอน ควบคู่กับ CCS และไฮโดรเจน ไม่ใช่ไปทำเรื่องลดคาร์บอนแล้วขาดทุน ความยั่งยืน จึงต้องเดินไปให้สมดุล ควบคู่กับการหาโอกาสใหม่”

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon