มิติหุ้น – Trend Spotter
• สรุปภาพรวมตลาด : ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบต่อเนื่องเป็นวันที่สองในวันศุกร์ที่ผ่านมา (21 ก.พ.) เผชิญแรงขายลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนนโยบายภาษีศุลกากรของปธน. ทรัมป์ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ หลังทรัมป์ประกาศเตรียมเรียกเก็บภาษีไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์จากป่าไม้เพิ่มเติม
ตลาดยังกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัว ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ยังคงสูง หลังดัชนี PMI ภาคการบริการเดือนก.พ. สหรัฐลดลงไปอยู่ในโซนหดตัวที่ 49.7 ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 53.0 (vs. เดือนม.ค. 52.9) ขณะที่ PMI รวมภาคการผลิตและการบริการเบื้องต้นปรับตัวลงมาที่ 50.4 ต่ำสุดในรอบ 17 เดือน (vs. เดือนม.ค. 52.7) อีกทั้ง ยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค. ที่ลดลง 2.1 แสนยูนิต มาที่ 4.08 ล้านยูนิต ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 4.13 ล้านยูนิต สอดคล้องกับรายงานตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเดือนก.พ. ลดลงเกือบ 10% มาที่ 64.7 ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 67.8 พร้อมคาดการณ์เงินเฟ้อ 5 ปีจากผลสำรวจนี้อยู่ที่ 3.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1995
โดยดัชนี VIX ปิดที่ระดับสูงถึง 16.3% ส่งผลให้นักลงทุนเข้าสะสมในสินทรัพย์ปลอดภัย โดยราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 8 แม้จะมีแรงขายทำกำไรออกมา (-0.1%) เมื่อวันศุกร์ (21 ก.พ.) บอนด์ยีลด์สหรัฐปรับตัวลดลง
ด้านราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงกว่า 2.9% หลัง 1) ความตึงเครียดในตะวันออกกลางคลี่คลายลง 2) รายงานตัวเลขสินค้าคงคลังน้ำมันดิบจาก EIA ที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางแนวโน้มอุปทานน้ำมันที่เพิ่มสูง หลังบริษัท Baker Hughes ระบุว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในสหรัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. เช่นเดียวกับการผลิตน้ำมันของคาซัคสถานที่แตะทำนิวไฮ
• SET Index : เราคาดว่า SET Index สัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวผันผวนบริเวณ 1,230-1,265 จุด เรามองว่าตลาดหุ้นไทยยังคงเผชิญแรงกดดันจาก Global Factor โดยเฉพาะ Sentiment ลบจากการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าของทรัมป์ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังคงสถานะขายสุทธิหุ้นไทย YTD
ไฮไลต์สัปดาห์นี้ติดตามการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย หรือ การประชุมกนง. ในวันที่ 26 ก.พ. ที่เรามองว่ากนง. จะยังคงมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.25% แม้ตลาดจะให้น้ำหนักในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากขึ้นหลังตัวเลข GDP 4Q24 ออกมาอ่อนแอ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ไม่ได้ช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนมากเท่าที่ตลาดคาดไว้
นอกจากนี้ ติดตามช่วงสุดท้ายของการรายงานผลประกอบการ 4Q24 บจ. ไทย ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศติดตามรายงานตัวเลขเงินเฟ้อยูโรโซน (24 ก.พ.) / รายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคจาก CB-ยอดขายบ้านใหม่-GDP 4Q24-ดัชนี PCE สหรัฐ (25-28 ก.พ. ตามลำดับ) / PMI ภาคการผลิตของจีน (1 มี.ค.)
• หุ้นแนะนำ
SCB : เรายังคงคาดว่ากนง. จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.25% ในการประชุมวันที่ 26 ก.พ. นี้ ซึ่งจะเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มธนาคาร ทั้งนี้ SCB เป็นหุ้น Top pick ของเรา เนื่องจากอัตราการจ่ายเงินปันผลที่สูง และ ROE น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.4-9.5% ในปี FY25-27 โดย SCB ประกาศจ่ายปันผลงวดล่าสุด 8.44 บาท/หุ้น ขึ้น XD 16 เม.ย. นี้ ขณะที่ ยอดทั้งปี 67 จ่ายปันผลรวม 10.44 บาท/หุ้น คิดเป็นเงิน 3.5 หมื่นลบ.
(Take profit : 127.5 / Stop loss : 124.5)
CPAXT : เราคาดว่า GPM ที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่ลดลงจาก synergy จะขับเคลื่อนการเติบโตของ EPS ในปี FY25-26 ขณะที่ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงช่วงสามเดือนที่ผ่านมาน่าจะรับรู้ความเสี่ยงในเรื่องธรรมาภิบาลแล้ว ส่งผลให้ความเสี่ยง-ผลตอบแทนดูดีขึ้น
(Take profit : 29.50 / Stop loss : 27.75)
#MacroWealthResearch
#CGSInternational
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon