6 วิถีกลยุทธ์ยั่งยืน ESG ไม่ใช่แค่ อีเวนท์

75

 

ไทยพัฒน์ แถลงทิศทาง ESG ปี 2568

ธุรกิจเดินหน้ายกระดับจาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ 

เมื่อ 70% ของกิจการในประเทศไทยยังแยกเรื่องความยั่งยืนออกจากกลยุทธ์ธุรกิจ ขาดการเชื่อมโยงมิติของสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่สั่นคลอนความอยู่รอดให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในยุคโลกผันผวน ไทยพัฒน์ เปิด 6 คำภีร์ วิถียั่งยืนที่เป็นเกราะป้องกันพาธุรกิจเชื่อมโยงกับทุกผุู้ส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้มีสุขภาพดีมีอายุยืนยาว 

บทบาทของภาคธุรกิจ นอกจากโจทย์ที่ต้องดำเนินการแสวงหาผลกำไรอย่างเต็มมือแล้ว ยังต้องเชื่อมโยงประเด็นปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจ เป็นประเด็นกำหนดปัจจัยในการกำหนดแนวทางและวางกลยุทธ์เพื่อเป็นการรับมือกับ

มาตรการทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวโยงกับภูมิรัฐศาสตร์ และทลายกำแพงการกีดกันทางการค้าจากพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานโลกที่ไม่จำกัดขั้ว เป็นต้น

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์คาดการณ์ทิศทาง ESG (Environmental, Social and Governance) ของภาคธุรกิจไทย ปี 2568 ขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน โดยยกระดับจาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ ที่สามารถนำองค์กรบรรลุเป้าหมาย ภายใต้ขีดจำกัดด้านทรัพยากรและการเผชิญกับกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น ปี 2568 ความท้าทายด้านความยั่งยืนเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว นโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างภูมิภาค สังคมที่แบ่งขั้วจากการสร้างข้อมูลลวง และความไม่ลงรอยในเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมโลก อันเป็นผลจากนโยบายทางการเมืองและการรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง ฯลฯ  

70% ธุรกิจแยก ยั่งยืน อออกจากกลยุทธ์ธุรกิจ 

 

วรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า ธุรกิจในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์ วางแนวขับเคลื่อนองค์กรยั่งยืน โดยการผสานเรื่อง “ความยั่งยืน” ให้สอดคล้องกันกับแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ จากปัจจุบันที่ส่วนใหญ่ธุรกิจยังแยกออกจากกัน โดยผลสำรวจ 2025 CFO Sustainability Outlook Survey จากประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน 500 คนทั่วโลก พบว่าสัดส่งวน 2 ใน 3  หรือ 70% ของกิจการ ยังคงดำเนินการแยกเรื่องความออกจากยุทธ์ทางธุรกิจ  โดยสัดส่วน ที่ต้องดำเนินกลยุทธ์ความยั่งยืน โดยการผลักดันจากปัจจัยภายนอก เพราะต้องการตอบสนองต่อแรงกดดันของผู้มีส่วนได้เสีย สัดส่วน 40% และต้องดำเนินการเพื่อให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบ สัดส่วน 30% 

 

กลุ่มกิจการที่หลอมรวมความยั่งยืนเป็นพื้นฐานการดำเนินธุรกิจ มีเพียง 1 ใน 5 หรือ สัดส่วน 21% ของกิจการ ที่กำลังดำเนินการธุรกิจ โดยการผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ

 

3 ระยะฝังESG หลอมรวมกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน 

 

ฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ กรรมการสถาบันไทยพัฒน์ เปิดเผยถึง แนวทางการพัฒนาธุรกิจยั่งยืน ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของธุรกิจ  จะค่อยๆ มีวิวัฒนาการเป็นลำดับ ในการสร้างความเข้าใจในองค์กร แล้วจึงขยายไปสู่แต่ละผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

ในระยะที่ 1 เรื่องความยั่งยืนจะอยู่นอกวาระการพิจารณาของคณะกรรมการ

ในระยะที่ 2 เรื่องความยั่งยืนจะถูกบรรจุอยู่ในวาระการพิจารณาของคณะกรรมการ

และในระยะที่ 3 เรื่องความยั่งยืนจะถูกฝังตัวอยู่ในกลยุทธ์องค์กร 

 

โดยการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของบริษัทในไทยส่วนใหญ่ จะอยู่ในระยะที่หนึ่ง คือ

มีโครงการด้านความยั่งยืนเพื่อตอบโจทย์ตามประเด็นที่สนใจ แต่ยังมิใช่การดำเนินงานในเชิงกลยุทธ์ และมีกิจการบางส่วนซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีการจัดทำกลยุทธ์ความยั่งยืน

และดำเนินการอยู่ในระยะที่สอง 

กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของกิจการ ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายขององค์กรในวิถีการเดินทาง (Journey) สู่ความยั่งยืนและจำเป็นวางวิสัยทัศน์เพิ่มขีดความสามารถ  (Capacity)

ที่บ่มเพาะและสะสมระหว่างทางเป็นแรงส่งให้ไปถึงเป้าหมาย ซึ่งต้องเริ่มจากกระบวนทัศน์ที่ถูกต้องในการจับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่มีนัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนในบริบทของกิจการ

 

6 วิถี ESG สู่ความยั่งยืน 

 

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวถึงทิศทาง ESG ปี 2568 ก้าวมาสู่การยกระดับการประกอบธุรกิจที่อยู่ในวิถียั่งยืน (มาได้ถูกทาง) นำไปสู่การการพัฒนาวิสัยยั่งยืน (ให้ไปถึงที่หมาย) เพื่อที่จะสามารถนำองค์กรบรรลุเป้าหมาย ภายใต้ขีดจำกัดที่องค์กรเผชิญอยู่ทั้งภาวะตลาดที่หดตัว งบดำเนินงานที่ลดลง ทรัพยากรที่ตึงตัว และกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น แม้องค์กรธุรกิจไทย จะมีการเดินทางสู่ความยั่งยืน หรือเรียกว่าอยู่ใน

 

“วิถียั่งยืน” ที่ยืนยันได้ด้วยผลการรับรู้ (Perception) จากการสำรวจเชิงข้อมูลในหลายแหล่ง แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผลสำรวจอาจไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่า กิจการเหล่านั้น มีความสามารถในการขับเคลื่อนความยั่งยืน หรือมี “วิสัยยั่งยืน” ที่ส่งผลให้เกิดเป็นจริง (Reality) ในเชิงปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้นำเสนอกระบวนทัศน์ (Paradigm) หรือกรอบความคิดที่ภาคธุรกิจใช้ในการจับประเด็นด้าน ESG มาดำเนินการให้สอดรับกับขีดความสามารถของกิจการ ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดชุดกลยุทธ์หนึ่งเดียว (Single Strategy) การระบุสาระสำคัญสองนัย (Double Materiality) และการวางแผนยกระดับสามขั้น (Triple Up Plan)

 

พร้อมกับการประเมินทิศทาง ESG ปี 2568 ใน 6 ทิศทางสำคัญ ให้กับภาคธุรกิจใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการปรับแนวและจุดเน้นขององค์กรเพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอย่างมีสมรรถภาพ 6 ทิศทาง ESG ปี 2568: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน  

 

ในการเสวนา “ESG from the Right Paradigm” เจาะลึกกระบวนทัศน์ในการกำหนดชุดกลยุทธ์หนึ่งเดียวการระบุสาระสำคัญ เพื่อกการวางแผนยกระดับสามขั้น พร้อมตัวอย่างที่ช่วยให้องค์กรเห็นถึงวิธีการผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้าเป็นเนื้อเดียวกับการดำเนินธุรกิจตามบริบทของแต่ละกิจการอย่างเป็นระบบ

 

6 ทิศทาง ESG ปี 2568: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’

 

ทิศทางที่ 1

Sustainability Stage: From ‘Journey’ to ‘Capacity’

 

กิจการที่ตระหนักว่า แม้การประกอบธุรกิจของตนจะอยู่ในวิถียั่งยืน (มาได้ถูกทาง)

แต่ก็มิได้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะเดินทางถึงปลายทางความยั่งยืนได้จริง ยังจำเป็นจะต้องมีพาหนะสำหรับการเดินทางที่เหมาะสม หรืออีกนัยหนึ่งคือ

การพัฒนาวิสัยยั่งยืน (ให้ไปถึงที่หมาย) ด้วยการบ่มเพาะสมรรถนะบุคลากรและการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการดำเนินการกับปัจจัยด้าน ESG

ที่มีนัยสำคัญและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจ พร้อมกับปรับแนวการดำเนินงานและจุดเน้นขององค์กรให้สอดรับกับวิสัยสามารถ (Capacity)

ที่กิจการพัฒนาขึ้นเพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอย่างมีสมรรถภาพ

 

ทิศทางที่ 2

Sustainable Strategy: From ‘Setup Committee’ to ‘Rebalance Scorecard’

 

กิจการที่อาศัยกลยุทธ์ความยั่งยืนเป็นเครื่องมือดำเนินงานมาแล้วระยะหนึ่ง จะเริ่มดำเนินการผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์องค์กร

โดยมีคณะกรรมการบริษัทคอยตรวจสอบดูแล (Oversight)

ดำเนินการศึกษาและปรับแต่งเครื่องมือและตัววัดเกี่ยวกับความยั่งยืนที่สอดคล้องกับบริบทของกิจการและเป็นไปตามมาตรฐานที่สากลยอมรับ

สำหรับใช้กำกับดูแลให้มีความสมดุลรอบด้าน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคณะกรรมการชุดย่อยเข้ามาทำหน้าที่แทนอีกต่อไป

 

ทิศทางที่ 3

Corporate Governance: From ‘Shareholder-centric’ to ‘Climate-aligned’

 

บริษัทจดทะเบียน จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่คณะกรรมการบริษัทต่อการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศ

รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่เป็นสาระสำคัญ

ทั้งในมุมมองที่เป็นความเสี่ยงและโอกาสซึ่งกระทบต่อผลประกอบการขององค์กร (Outside-in Perspective)

และในมุมมองที่เป็นผลกระทบสู่ภายนอกทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Inside-out Perspective)

เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายงานความยั่งยืนสำหรับเปิดเผยต่อผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

 

ทิศทางที่ 4

Climate Action: From ‘Green Policy’ to ‘Transition Plan’

 

กิจการซึ่งอยู่ในข่ายที่ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดด้านความยั่งยืนระหว่างประเทศ จำเป็นต้องศึกษาและจัดเตรียมข้อมูลการตรวจสอบสถานะ (Due

Diligence) และจัดทำแผนการเปลี่ยนผ่าน

รวมถึงอาจต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น

เนื่องจากกฎระเบียบดังกล่าวมีผลทั้งในทางตรงและในทางอ้อมกับบริษัททั้งภายในและภายนอกสหภาพยุโรปที่เกี่ยวโยงกันผ่านห่วงโซ่การผลิตโลก

 

ทิศทางที่ 5

Company Disclosure: From ‘Sustainability-related Financial Disclosure’ to ‘Real-world Impact Report’

 

จากการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินให้แก่ผู้ลงทุนเป็นพื้นฐาน และเพิ่มเติมมาสู่การเตรียมเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับความยั่งยืนตามมาตรฐาน

IFRS S1 และ IFRS S2 เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ลงทุนในยุคปัจจุบัน กิจการที่ต้องการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง

ซึ่งมิได้สนใจเฉพาะข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับความยั่งยืน ยังคงมีการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI

เพื่อให้ข้อมูลที่เปิดเผยครอบคลุมถึงการพึ่งพาและผลกระทบสู่โลกภายนอก (Real-world Impact Report) ตามอุปสงค์ของผู้ใช้ข้อมูลกลุ่มดังกล่าว

 

ทิศทางที่ 6:

Next Zero Target: From ‘Climate Agreement’ to ‘Biodiversity Framework’

 

ในปี 2568 จะมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ใช้มาตรฐานการรายงานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ

ในการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพตามเป้าหมายปลอดความสูญเสียสุทธิ (No Net Loss)

เป็นเป้าหมายถัดจากการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศตามเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในจำนวนที่เพิ่มขึ้น

 

องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานที่สนใจ สามารถศึกษาแนวการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนตามกระบวนทัศน์ ในหนังสือ 2025 ESG Trends: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’

ซึ่งสามารถดาวน์โหลด (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ได้ทางเว็บไซต์ https://thaipat.org

ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป