เหตุการณ์แผ่นดินไหว และ มุมมองของ CGS International

131

มิติหุ้น – เหตุการณ์แผ่นดินไหว และ มุมมองของ CGS International

เหตุการณ์ :
แผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.2 ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อเวลา 13.20 น. ของวันที่ 28 มี.ค. 2025 ได้ส่งแรงสะเทือนถึงประเทศไทยหลายพื้นที่ รวมถึงความเสียหายรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ :
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลกระทบเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด
เบื้องต้น หอการค้าไทยได้ประเมินความเสียหายจากการชะลอการจับจ่ายของผู้บริโภค รวมถึงมูลค่าความเสียหายต่างๆ เช่น ตึก อาคาร คาดว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจประมาณ 3,000-5,000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากไม่มีเหตุการณ์อาฟเตอร์ช็อกเพิ่มเติม คาดว่าความเสียหายจะอยู่ในกรอบดังกล่าว

เรามองว่าตัวเลขความเสียหายอาจสูงกว่าตัวเลขดังกล่าว นอกเหนือจาก การจับจ่ายใช้สอย

โดย เรามีมุมมองเชิงลบต่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงสงกรานต์, pre-sales ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (high-rise)

ดังนั้นเราประเมินความเสียหายต่อเศรษฐกิจในกรณีเลวร้ายที่ราวๆ 2 หมื่นล้านบาท หรือ 0.1% ต่อ GDP

ผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย :
หากประเมินและอ้างอิงจากเหตุการณ์สึนามิช่วงเดือน ธ.ค. 2004 SET Index ปรับลดลงราว 2%

ณ ระดับ SET Index ที่ 1,175 จุด ก่อนตลาดขึ้น (H) หากดัชนีปรับตัวลดลง 2% เรามองแนวรับแรกของ SET Index ที่ 1,150 จุด และ แนวรับต่อมาที่บริเวณ 1,135 จุด

ผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรม :

เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ
1) กลุ่ม Home improvement จาก อุปสงค์การซ่อมแซมบ้าน และ อุปสงค์ใหม่สำหรับการซื้อบ้านเดี่ยวมือหนึ่งรวมถึงมือสองที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลบวกต่อ MegaHome ของ HMPRO และ ไทวัสดุ ของ CRC

2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ Low rise หรือ กลุ่มบ้านเดี่ยว จากความกังวลเหตุการณ์แผ่นดินไหว และ มาตรการผ่อนคลาย LTV ในช่วงที่ผ่านมา มีผลตั้งแต่ 1 พ.ค. 2025

3) กลุ่มโรงพยาบาล จากความเสียหายและการบาดเจ็บจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว(เคส OPD)

เรามีมุมมองเชิงลบต่อ
1) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ High-rise หรือ กลุ่มคอนโด จาก ทั้งยอด pre-sales ในระยะสั้น, ความเชื่อมั่นต่อกลุ่มโดยภาพรวม

โดย เรามองว่า ORI ANAN LPN จะได้รับผลกระทบสูงสุดจากสัดส่วน condo ที่สูง

2) กลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะกลุ่มแบงค์ใหญ่ (SCB KBANK BBL KTB) จาก แรงกดดันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจลดดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตเพิ่มเติม, สินเชื่อ consumer loans และ housing loans และ ความเสี่ยงจาก ITD

3) กลุ่มประกันภัย จาก ภาระการจ่ายเคลมของตึก สตง. วงเงินคุ้มครอง 2.2 พันล้านบาท ได้แก่ TIPH (40%), BKIH (25%)

4) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จาก การก่อสร้างที่ชะลอลงชั่วคราวจากการตรวจสอบและความปลอดภัย รวมถึง ITD หลังเป็นโครงการก่อสร้างร่วมทุนตึกถล่มดังกล่าว

5) กลุ่มขนส่งมวลชน จาก Traffic ที่อาจลดลงหรือชะลอในระยะสั้น จากการขอความร่วมมือในการ work-from-home และ การปิดทำการครึ่งวันในวันที่ 28 มี.ค. 2025 (BEM BTS)

6) กลุ่มท่องเที่ยว จาก ความกังวลด้านความปลอดภัยทั้งการยกเลิกอีเวนท์หรือการจองห้องพักในระยะสั้น (ERW CENTEL)

7) กลุ่มเครื่องดื่ม จาก ยอดขายในพม่าที่อาจจะโดนกระทบ โดยเฉพาะ CBG

#Macro&WealthResearch
#CGSInternational

โดย : Gun Hathaisattha, Equity Retail Strategist, Economist

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon