มิติหุ้น – Trend Spotter
• สรุปภาพรวมตลาด : ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวนก่อนปิดผสมผสาน โดยดัชนี DJIA และ S&P500 รีบาวด์ปิดบวก หลังร่วงลงติดต่อกันก่อนหน้านี้จากความกังวลต่อแผนเรียกเก็บภาษีของปธน. ทรัมป์ที่จะมีผลบังคับใช้พรุ่งนี้ (2 เม.ย.) ว่าจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวและอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะถดถอย
แรงกดดันจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐส่งผลให้ใน 1Q25 ดัชนี S&P500 -4.6% หลังจากปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 5 ไตรมาสก่อนหน้านี้ ขณะที่ Nasdaq -10.4% ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ 2Q22 และ DJIA -1.3% รวมถึงกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเมื่อวานนี้ (31 มี.ค.) ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงมาปิดลบต่ำสุดในรอบ 2 เดือน
ทรัมป์ยังได้มีการขู่เรียกเก็บภาษีในอัตรา 25-50% ต่อประเทศที่ซื้อน้ำมันจากรัสเซีย หากรัสเซียพยายามขัดขวางการยุติสงครามในยูเครน รวมถึงหากอิหร่านไม่ยอมบรรลุข้อตกลงโครงการนิวเคลียร์ สหรัฐจะใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตีอิหร่าน ท่ามกลางรายงานตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ออกมาสดใส สะท้อนถึงแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันที่อาจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดพุ่งกว่า 3.1%
จับตาสุนทรพจน์ของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในวันศ. (4 เม.ย.) ณ การประชุมประจำปี
รวมถึงติดตามรายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐเดือนมี.ค. และตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่จาก JOLTS เดือนก.พ. วันนี้
• SET Index :
เราคาดว่า SET Index ยังคงแกว่งผันผวน Sideway to sideway down ในกรอบ 1,150-1,170 จุด โดยเรามองว่าตลาดยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันและปริมาณการซื้อขายเบาบาง เพื่อจับตานโยบายภาษีศุลกากรของปธน. ทรัมป์ ในวันพรุ่งนี้ (2 เม.ย.) ที่จะมีผลบังคับใช้เรียกเก็บภาษีรถยนต์นำเข้า 25% และ Reciprocal Tariffs หลังไทยอยู่ในรายชื่อ “Dirty 15” ของสหรัฐ ซึ่ง เรามองว่าจะเป็นแรงกดดันต่อหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยไปยังสหรัฐและมีสัดส่วนการขายในอุตสาหกรรมยานยนต์สูง
เรามองว่านโยบายของทรัมป์จะส่งผลให้มีการเร่งคำสั่งซื้อที่จะช่วยกระตุ้นการส่งออกของไทยให้เติบโตใน 1Q25 สอดคล้องกับรายงานตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนก.พ. ที่เติบโตถึง 14% yoy ขณะที่การนำเข้าที่เติบโตชะลอตัว ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้น และทำให้รายงานตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนก.พ. ของไทยเมื่อวานนี้เกินดุลการค้า 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะเกินดุล 4,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (vs. เดือนม.ค. เกินดุล 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ) ท่ามกลางเศรษฐกิจเดือนก.พ. ที่ชะลอตัวจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ลดลงเป็นหลัก
ปัจจัยในประเทศยังเผชิญแรงกดดันจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 จุดศุนย์กลางในประเทศเมียนมา ที่ส่งแรงสะเทือนถึงประเทศไทยหลายพื้นที่ รวมถึงกรุงเทพฯ และกดดันหุ้นนำโดยกลุ่มอสังหาฯ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อคอนโดมีเนียมสูงให้ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ กรมอุตุฯ แจ้งว่า เหตุการณ์ After shock เมื่อวานนี้ มีขนาดเล็ก ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ส่งผลให้เราปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2025 ลงมาอยู่ที่ 2.3% yoy (vs. จากเดิม 2.5%)
ติดตามการประชุมครม. วันนี้ที่มีประเด็นสำคัญอย่างวาระเพื่อพิจารณาอนุมัติแนวทางการดำเนินการโครงการบ้านเพื่อคนไทย, มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน, การยกเว้นค่าผ่านทางบนทางหลวงพิเศษ หรือมอเตอร์เวย์ ในช่วงสงกรานต์
• หุ้นแนะนำ
HMPRO :
เราเชื่อว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือน จะเป็นประโยชน์ต่อหุ้นกลุ่ม Home Improvement
(Take profit : 9.10 / Stop loss : 8.20)
BDMS :
เราแนะนำหุ้นกลุ่ม Defensive ในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเผชิญแรงกดดันทั้งจากปัจจัยในและต่างประเทศ รวมถึงเผชิญกับความไม่แน่นอนนโยบายภาษีศุลกากรสหรัฐ
(Take profit : 22.8 / Stop loss : 21.3)
#MacroWealthResearch
#CGSInternational
#CGSI
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon