เปิดประมูลคลื่น กับไส้ใน ที่ธุรกิจทีวีดิจิทัลหวาดหวั่น การช่วงชิงแพลตฟอร์มประมูลคลื่น 3500 MHz การต่อสู้ระหว่างทุนสื่อสารและทุนทีวีดิจิทัล
เมื่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีการจัดสรรการอนุญาตให้ใช้คลื่นความสำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 MHz และ 26 GHz โดยในช่วงนี้อยู่ระหว่างการจัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศกสทช. ด้านหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
มีข้อสรุปประเด็นสำคัญ 5 ด้านคือ
1.การจัดคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล ในครั้งนี้เป็นการประมูลคลื่นด้วยวิธี Clock Auction ประกอบด้วยคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 MHz และ 26 GHz นที่ประชุมโน้มเอียงให้คัดเลือกเอาเฉพาะคลื่นที่กำลังหมดอายุมาประมูลก่อน ได้แก่ คลื่น 850 2100 และ 2300MHz
2.หากวิะีการเหมาะสมของวิธีการประมูลและการจัดกลุ่มคลื่นความถี่ เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันใอย่างเป็นธรรม
3.ความเหมาะสมของมูลค่าคลื่นความถี่และวิธีการคำนวณ กำหนดราคาขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ (Reserve Price)
4.ความเหมาะสมของการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่และการจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคมย่าน 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz หรือ 2300 MHz สำหรับผู้ให้บริการรายใหม่
5.ความเหมาะสมของการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ดำเนินการเพื่อสังคม และการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มเติมสำหรับผู้ถือบัตรประจำตัวคนพิการ ผู้ถือบัตรโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ประเด็นต่างๆ ยังไม่มีข้อกำหนดอย่างชัดเจน แต่ประเด็นที่ทำให้การประมูลครั้งนี้ร้อนแรงขึ้นมา เมื่อเจ้าของสื่อยักษ์ใหญ่จากหลากหลายค่าย อาทิ
6.รวมไปถึงประเด็น การนำคลื่น 3500MHz ยังไม่มีการประมูลในรอบปีนี้มาอภิปราย ซึ่ง สมาคมทีวีดิจิทัล และผู้ประกอบการทีวี ได้ออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน ขอให้ชะลอการนำคลื่นนี้มาประมูล ไปจนถึงปี 2572 เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการแย่งสัญญาณการออกอากาศของทีวีดิจิทัล ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด(มหาชน) ถกลเกียรติ วีรวรรณ แม่ทัพใหญ่ช่องวัน31 ,วัชร วัชรพล จากไทยรัฐทีวี,ครรชิต ดิเรกวัฒนชัย จากช่อง 3, อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ จากเนชั่นทีวี, นงลักษณ์ งามโรจน์ แห่งช่อง 8 และศิริ บุญพิทักษ์เกศ แห่งค่ายอมรินทร์ทีวี มาเรียกร้องขอความเป็นธรรม ต่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) หรือ กสทช. ไม่นำคลื่นความถี่ของทีวีดิจิทัลที่ 3500 MHz ที่ประมูลไปแล้วเมื่อ 11 ปีที่ผ่านมาด้วยมูลค่าการประมูลสูงถึง 50,000 ล้านบาท เพื่อแลกกับความเป็นมหาอำนาจแห่งแพลตฟอร์มการสื่อสาร การเผยแพร่คอนเทนท์ ที่ในยุคนั้นเชื่อว่า การเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มคือ ผู้มีพลัง อำนาจในการกุมสื่อโฆษณา รายได้ และความคิดกับสาธารณขน ดังเช่น ฟรีทีวีในยุคก่อนดิจิทัล
แต่ปรากฎว่า 11 ปี ทีวีดิจัลกลับไม่มีอิทธิพลอย่างที่คิดไว้ ความนิยมช่องทางการเสพคอนเทนท์กลับมีการเปลี่ยนผ่านมาสู่สื่อออนไลน์ เม็ดเงินโฆษณาของสื่อทีวีลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สื่อออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายช่องต้องปรับตัวโดยมุ่งสู่แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น หลายช่องเกิดวิกฤติรายได้ลดลง จนต้องเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากเพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป เมื่อผู้บริโภคหันไปเสพสื่อออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ดูแพลตฟอร์มหลากหลาย ทั้ง ยูทูป (Youtube) และพอดแคสต์ (Podcast)
หวั่น 4 ปีที่เหลือจะเป็นการตอกฝาโลง จ่ายแค่ค่าทำศพ
สิ่งที่คนทำสื่อหวั่นไหวคือ เจ้าของคลื่นความถี่ที่ให้บริการการสื่อสารที่ปัจจุบันเหลือการแข่งขันอยู่เพียง 2 ค่ายใหญ่ยักษ์ใหญ่ ที่กำลังแข่งขันเพื่อช่วงชิงการเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ แย่งกันกุมฐานผู้ใช้งานโทรศัทท์มือถือ กำลังขับเคี่ยวกับอย่างหนัก อาจจะสนใจช่วงชิงคลื่นความถี่ที่ใกล้จะหมดอายุลง จนทำให้คนทีวีดิจิทัลหวาดหวั่นกับ 4 ปีที่เหลืออยู่จะถูกยึดคืนช่องก่อนเวลา
สุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล(ประเทศไทย) กล่าวภายหลังแสดงความคิดเห็นในงานว่า ที่ผ่านมากสทช. หมดเงินไปมหาศาลเพื่อเข้าสู่การประมูลและได้รับสัมปทานเป็นเจ้าของช่องดิจิทัล แต่การออกอากาศทีวีกลับไม่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ตามเป้าหมายไว้ จนต้องแจกกล่องดิจิทัล ใช้เวลานานจนต้องมีการจัดทำระเบียบมัสต์แครี่ (Must Carry) เป็นกฎที่ออกโดย กสทช. เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรทัศน์ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบการพัฒนาธุรกิจกระทั่งผ่านอายุมา 11 ปี ยังเหลือเวลาอีก 4 ปี (ปี 2572) แต่ทางกสทช. มีแนวคิดที่นำจะคลื่น 3,500 Mh กลับคืนเพื่อนำไปประมูลให้กับผู้ให้บริการคลื่นความถี่ต่อก่อนหมดอายุ ก็เท่ากับเป็นการทำให้ทีวีดิจิทัลต้องตายไปกับแพลตฟอร์ม ทั้งนี้ทางสมาคมจึงขอเรียกร้องให้ทางกสทช. เปิดโอกาสให้แพลตฟอร์มทีวีดิจิทัลได้ดำเนินการต่อไปจนครบอายุสัญญาการประมูล 15 ปี
“วิบากกรรมใน 4 ปีสุดท้ายที่เหลือควรปล่อยให้คนทำธุรกิจทีวีดิจิทัลหายใจได้ การนำทีวีดิจิทัลไปประมูลอีกครั้งก่อนหมดอายุกำหนดใน 4 ปีข้างหน้า เท่ากับเป็นการถอดสายออกซิเจนของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ที่กำลังป่วยหนักและใกล้ตาย แม้จะมีการเยียวยา แต่ก็เท่ากับแค่ได้เงินค่าทำศพ ไม่ได้ช่วยให้ทีวีดิจิทัลได้ไปต่อ ทางเลือกสุดท้ายก็จำเป็นต้องปลดคนออก เป็นความขมขื่นของคนทำทีวีดิจิทัล แต่ก็ต้องทำ”
วิบากกรรมคนทำทีวีดิจิทัล
เมื่อ “ทีวีดิจิทัล” เปลี่ยนสนามสู้ สู่ “ออนไลน์” คนดูจะได้หรือเสียอะไร
“สาหัสมาก” และเป็นวิบากกรรม แทบจะกลายเป็นคำพูดติดปากของคนทำสื่อไทยเวลานี้
โดยเฉพาะคนที่ทำอยู่กับ “ทีวีดิจิทัล” ซึ่งเผชิญกับจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อเข้าสู่ช่วงปีสุดท้ายก่อนใบอนุญาตที่ได้รับจาก
มีการคาดการณ์ว่าเหลือเวลาอีก 4 ปี ก่อนสิ้นสดสัญญากาประมูลดิจิทัลดิจิทัลครบ 15 ปีในปี 2572 ไม่นาน “เม็ดเเงินโฆษณา” ที่เป็นแหล่งรายได้หลักของ “สื่อโทรทัศน์” จะลดลงอย่างต่อเนื่องจนอาจเหลือ “ไม่ถึงครึ่ง” ของที่เคยได้รับสูงสุด ในช่วง 10 ปีก่อนมูลค่าโฆณารวม 70,000 ล้านบาทต่อปี จากเม็ดเงินโฆษณาของอุตสาหกรรมสื่อทั้งหมดในปี 2567 ที่ผ่านมา มีมูลค่ากว่า 86,980 ล้านบาท สื่อทีวีมีมูลค่ารวม 32,500 ล้านบาท (ลดลงจากปีก่อนถึง 2,864 ล้านบาท หรือลดลง 8%) ส่วนสื่อดิจิทัลมีมูลค่ารวม 33,859 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4,576 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16%)
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พูดถึงการลงไปแข่งขันในสนามออนไลน์ของสื่อไทยที่มีสูงขึ้นเรื่อย ๆ และการปรับโครงสร้างของสื่อทีวีหลายแห่งเพื่อให้ยังสามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในธุรกิจ นำไปสู่การเลิกจ้างพนักงานหลายร้อยคนในหลายค่าย อาทิ
– Voice TV ปิดสถานีหลังขาดทุนสะสม (ตั้งแต่ยังเป็นทีวีดิจิทัล ก่อนใบอนุญาตในปี พ.ศ. 2562) เลิกจ้างพนักงานกว่า 200 คน
– Mono 29 ปรับโครงสร้าง เลิกจ้างพนักงานกว่า 100 คน
– ช่อง 3 ปรับโครงสร้างในหลายครั้ง เลิกจ้างพนักงานกว่า 300 คน
– เครือเนชั่นพักจ่ายเงินเดือนพนักงานบางส่วน
ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงกรณี PPTV เลิกจ้างพนักงาน 90-100 คน. ช่อง 7 ยกเลิกใช้ outsource บางบริษัท
วิบากกรรมเจ้าของแพลตฟอร์มทีวีดิจิทัลยังไม่จบเท่านี้ ว่ากันว่าจะมีการเลิกจากอีกจำนวนมาก
ชัยชนะประมูล 50,000 ล้านบาท ถูกตราหน้าเศรษฐีหน้าโง่
เจ้าของคนทำสื่อ ที่เคยเป็นผู้ทรงอิทธิพลกุมฐานผู้ชมในวันนั้น กลับไม่ได้สวยหรู จากเศรษฐีที่คว้าชัยชนะการประมูล กลับต้องกล้ำกลืนรับสภาพกับนิยามใหม่ โดยไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ กล่าวในวันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประมูลว่า ในเวลานี้ไม่มีความจำเป็นที่กสทช.ต้องเร่งรีบนำคลื่น 3,500 มาประมูลก่อนครบอายุสัญญาเพราะมีเพียงแค่ 2 ราย ที่ต้องการและมีการแข่งขันกัน ที่ผ่านมาคนทำธุรกิจทีวีดิจิทัลต่อสู้ดิ้นรนกับการพัฒนาธุรกิจภายใต้การที่ไม่สามารถเข้าถึงครัวเรือนมาตลอด และยังต้องแข่งขันกับการดิสรัปท์ของแพลตฟอร์มดิจิทัล หากมีการปิดจอนำคลื่นกลับ ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการสร้างโทรทัศน์แห่งชาติ เพราะเมื่อจอดำเท่าคนดูจำนวน 2 ล้านครัวเรือนราว 10 ล้านคน ไม่ได้รับเนื้อหาจากที่กลุ่มดิจิทัลดิจิทัลในการเชื่อมต่อกับสาธารณชน และยังส่งผลกระทบต่อรายได้จากเม็ดเงินโฆษณาที่หายไปรวมมูลค่าไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท
“นี่คือวิบากกรรมของคนทำทีวีดิจิทัลต้องใช้เงินถึง 50,000 ล้านบาท จนถูกตราหน้าว่าเป็นเศรษฐีหน้าโง่ เพื่อแลกกล่องดิจิทัลเข้าถึง 2 ล้านครัวเรือน เรายากลำบากมาโดยตลอดจาก 25 ช่อง เหลือ 15 ช่อง พยายามทำทุกอย่างทำให้เนื้อหาดีที่สุด เป็นเสมือนโทรทัศน์แห่งชาติสื่อสารไปยังประชาชน จึงขอเรียกร้องให้คลื่นครบอายุอีก 4 ปี”
ทั้งนี้ หากกสทช. ยังมีการประมูลเกิดขึ้นก่อนครบ 4 ปี ทางสมาคมฯ เดินหน้าไปพึ่งพาความยุติธรรมโดยการฟ้องผ่านศาลปกครอง
หรือนี่ จะเป็นศึกประมูลคลื่น 3500 MHz – การต่อสู้ระหว่างทุนสื่อสารและทีวีดิจิทัล
การประมูลคลื่นความถี่ 3500 MHz กลายเป็นประเด็นร้อนในวงการสื่อสารและโทรทัศน์ดิจิทัลของไทย เมื่อกลุ่มทุนโทรคมนาคมรายใหญ่ เช่น AIS และ True ต้องการเข้าครอบครองคลื่นดังกล่าวเพื่อขยายบริการ 5G ขณะที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล หวาดหวั่นว่าคลื่นของดิจิทัลดิจิทัล จะถูกเหมารวมไปประมูล นั่นเท่ากับว่าจะส่งผลกระทบต่อการออกอากาศและอาจทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องเผชิญกับปัญหาจอดำ
ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล ตามมาคือ
1.ความเสี่ยงของการจอดำ หากคลื่น 3500 MHz ถูกนำไปใช้ในโทรคมนาคม อาจทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่สามารถรับชมทีวีดิจิทัลได้
2.ผลกระทบทางเศรษฐกิจ รายได้จากโฆษณาของช่องทีวีดิจิทัลอาจลดลงอย่างมหาศาล ส่งผลให้ธุรกิจทีวีดิจิทัลต้องเผชิญกับวิกฤติ
3.ความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลมองว่าการประมูลคลื่นเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนโทรคมนาคมมากกว่าการรักษาสมดุลของอุตสาหกรรมสื่อ
การประมูลคลื่น 3500 MHz เป็นศึกใหญ่ระหว่างกลุ่มทุนโทรคมนาคมและผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ที่กำลังช่วงชิงแพลตฟอร์มในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ออนไลน์ เป็นผู้กุมอิทธิพลอย่างเต็มรูปแบบ แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านคือจังหวะสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนและอุตสาหกรรมสื่อในวงกว้างการตัดสินใจของ กสทช. จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและสื่อในอนาคตของชาติ