มิติหุ้น – สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการปรับปรุงหลักเกณฑ์กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (SRI Fund) โดยเพิ่มการจัดประเภทการลงทุน (label) ให้ชัดเจน เพิ่มมาตรฐานการลงทุน และเพิ่มความรับผิดชอบและโปร่งใสในการบริหารจัดการของกองทุน เพื่อช่วยให้ ผู้ลงทุนเลือกลงทุนได้สะดวกขึ้น และลดความเสี่ยงการฟอกเขียว (greenwashing)
ก.ล.ต. ได้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing Fund: SRI Fund) ในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านกลไกตลาดทุน จึงเห็นความจำเป็นในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการกำกับดูแลของสากล ความคาดหวังของผู้ลงทุน และเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น
ก.ล.ต. จึงเปิดรับความคิดเห็นต่อหลักการปรับปรุงหลักเกณฑ์ของ SRI Fund โดยมุ่งเน้นให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ปฏิบัติตามหลักการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (responsible investment) พร้อมยกระดับแนวปฏิบัติของ SRI Fund ให้สามารถขับเคลื่อนการลงทุนในกิจการที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่าน (transition) สู่ความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- จัดประเภท (label) SRI Fund ตามวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน (sustainability objective) และลักษณะของกิจการที่ลงทุน โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนใน SRI Fund
ได้ตรงตามวัตถุประสงค์และมีความสะดวกขึ้น ได้แก่
(1) SRI Focus: มุ่งยั่งยืน เน้นลงทุนในกิจการที่ได้รับการประเมินว่ามีมาตรฐาน ESG ในระดับที่
น่าเชื่อถือ
(2) SRI Improver: เน้นปรับเปลี่ยน เน้นลงทุนในกิจการที่มีเป้าหมายและแผนที่ชัดเจนในการพัฒนา
ESG เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน
(3) SRI Promote: โปรโมท เน้นลงทุนในกิจการที่สนับสนุนการพัฒนา ESG
(4) SRI Impact: มุ่งผลบวก เน้นการสร้างผลกระทบ (outcome) ด้านความยั่งยืนของกองทุน และ
(5) SRI Mixed Goals: ผสมผสาน เน้นลงทุนผสมผสานในกิจการที่มี ESG ในหลายลักษณะตามที่ระบุ
- เพิ่มความรับผิดชอบและโปร่งใสในการจัดการ SRI Fund และลดความเสี่ยงด้านการฟอกเขียว ได้แก่
- กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการลงทุน โดยกิจการที่เข้าเกณฑ์ลงทุนยั่งยืน ต้องไม่รวมถึงกิจการ
ในลักษณะที่กำหนด (minimum exclusion list) เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ อาวุธสงคราม
สื่อลามก การพนัน เป็นต้น นอกจากนี้ SRI Fund ต้องไม่ลงทุนในกิจการที่สร้างผลกระทบด้านลบอย่างมีนัยสำคัญด้วย (Do No Significant Harm) ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม หรือความรับผิดชอบ จริยธรรมในการกำกับดูแลกิจการ - เพิ่มความชัดเจนในการเปิดเผยข้อมูลตัวชี้วัด (benchmark) โดยแยกการเปิดเผยข้อมูลระหว่างตัวชี้วัดผลการดำเนินงานกองทุน (performance benchmark) กับตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน (reference ESG benchmark) ของ SRI Fund ซึ่งสอดรับกับแนวทางสากล
- เพิ่มความโปร่งใส รับผิดชอบในการจัดการ SRI Fund โดยให้ บลจ. เปิดเผยข้อมูลการจัดการเพิ่มเติมในรายงานประจำปีกองทุน เช่น วิธีวัดผลและติดตามตรวจสอบระดับความยั่งยืนของกิจการ
ที่ลงทุน เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่า SRI Fund ดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุนที่แสดงไว้ - ผ่อนคลายให้ SRI Impact ใช้ผู้ตรวจสอบการวัดผลกระทบเชิงบวก (impact verifier) ตามความสมัครใจ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลที่ให้ใช้ verifier ตามความสมัครใจ และ
เพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ - เพิ่ม ‘Sustainability corner’ ใน factsheet ให้เป็นพื้นที่เปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนอย่างชัดเจน
- กำหนดให้กองทุนที่ใช้ชื่อหรือแสดงนโยบายลงทุนที่เน้นด้าน ESG หรือความยั่งยืนที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน SRI Fund ต้องแก้ไขรายละเอียดโครงการจัดการเพื่อให้เป็น SRI Fund และเปิดเผยข้อมูลในมาตรฐานเดียวกัน ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นซึ่งมีรายละเอียดการปรับปรุงหลักการในเรื่องดังกล่าวที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=1066 และระบบกลางทางกฎหมาย http://law.go.th/listeningDetail?survey_id=NTE3N0RHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ผ่านช่องทางเว็บไซต์ หรือทางอีเมล chanthamon@sec.or.th หรือ sireetho@sec.or.th จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2568
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon