BANPU เปิดโรงงานแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ในจีน เดินหน้าขยายกำลังผลิตสูงสุดในอาเซียน รองรับการผลิตได้ถึง 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง เพื่อรองรับแผนขยายตลาดและดีมานด์จากทั่วโลก

211

มิิติหุ้น-บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชีย-แปซิฟิก สยายปีกกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน เปิดเกมรุกธุรกิจจัดเก็บพลังงานเต็มสูบ ผนึกพันธมิตรระดับโลก บริษัท ดูราเพาเวอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผลิต และติดตั้งระบบแบตเตอรี่จัดเก็บพลังงานแบบลิเธียมไอออน (LiB) สำหรับรถยนต์และระบบไฟฟ้าสำรอง ร่วมเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมาตรฐานโลก ในเมืองซูโจว (Suzhou) สาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ขยายกำลังผลิตให้สูงสุดในอาเซียน โดยสามารถรองรับการผลิตได้ถึง 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง ชูจุดแข็งเป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมมีเครื่องหมายการันตีใบรับรองคุณภาพและสิทธิบัตรต่างๆ ในระดับสากลทั่วโลกกว่า 40 ใบ มั่นใจสามารถรองรับแผนเชิงรุกในการขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นในยุโรป จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ไทยและภูมิภาคอาเซียนที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันกว่า 20 ประเทศ ตอบโจทย์ทิศทางตลาดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ตลอดจนรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจากแนวโน้มตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รถบัส รถบรรทุก ระบบการกักเก็บพลังงานสำหรับบ้านพักอาศัย และโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่ในระบบการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) นับเป็นการแสดงศักยภาพของบ้านปูฯ ตามแผนการพัฒนาพลังงานอย่างมั่นคงและยั่งยืน (Sustainable Energy) ให้ 1. มีความมั่นคงต่อเนื่องของพลังงานสะอาด 2. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3. ด้วยราคาที่เหมาะสม ประกอบกับการยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล(Environment, Social and Governance) หรือหลัก ESG ดังที่บ้านปูฯ ได้รับการรับรองการจัดอันดับดัชนีความยั่งยืนใน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 255

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “บ้านปูฯ มุ่งมั่นขยายธุรกิจที่ตอบโจทย์เทรนด์ความยั่งยืน หรือ ESG และสร้างการเติบโตให้กับกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานอย่างต่อเนื่อง ตามกลยุทธ์ Greener & Smarter โดยเข้าถือหุ้นร้อยละ 47 ของบริษัท ดูราเพาเวอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจกักเก็บพลังงานชั้นนำในหลายประเทศทั่วโลกมาประมาณ 10 ปี เนื่องจากเล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่สอดรับกับเทรนด์เทคโนโลยีพลังงานในอนาคตและเสริมแกร่งระบบนิเวศทางธุรกิจของกลุ่มบ้านปูฯ ซึ่งการได้ลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ที่มีมาตรฐานระดับโลกเช่นนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการเสริมศักยภาพ สร้างความแข็งแกร่ง และสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดให้แก่กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน ตลอดจนขับเคลื่อนการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทยและในระดับสากลให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง”

บ้านปูฯ และดูราเพาเวอร์ มุ่งพัฒนาโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในเมืองซูโจว (Suzhou) สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้มีระบบการดำเนินงานและการผลิตที่ศักยภาพมากขึ้น โดยนำเทคโนโลยีขั้นสูงในระบบออโตเมชันมาใช้ภายในโรงงาน มุ่งเน้นคุณภาพ ความปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาวิจัยเพื่ออนาคต พร้อมขยายกำลังการผลิตจากเมื่อปี 2561 มีกำลังผลิตรวมสูงสุดต่อปีอยู่ที่ 80 เมกะวัตต์ชั่วโมง โดยเพิ่มให้สามารถรองรับแผนการผลิตได้ถึง 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง ส่งผลให้โรงงานแห่งนี้มีกำลังผลิตสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ผ่านมา ได้มีการเปิดโรงงานอย่างเป็นทางการ เพื่อเดินเครื่องไลน์การผลิต และเปิดเกมรุกตลาดธุรกิจจัดเก็บพลังงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยตั้งเป้าหมายจะเดินหน้าขยายฐานลูกค้าในภูมิภาคยุโรป อเมริกา และเอเชีย เพิ่มขึ้นต่อไป

มร.เคลวิน ลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดูราเพาเวอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวว่า “การเปิดโรงงานแห่งใหม่และมีเทคโนโลยีขั้นสูง นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของดูราเพาเวอร์ ในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก เพื่อส่งมอบสินค้าและกระจายบริการที่มีคุณภาพไปยังลูกค้าในทุกเซกเมนต์และทุกภูมิภาค และการมีองค์กรชั้นนำด้านพลังงานระดับภูมิภาคเอเชียอย่างบ้านปูฯ มาเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับทั้งสององค์กรเติบโตควบคู่กันต่อไป เพื่อให้พร้อมแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูง”

สำหรับความคืบหน้าของความร่วมมือในครั้งนี้ นับเป็นการขยายขีดความสามารถด้านการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์และระบบจัดเก็บพลังงาน เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ตลาดในอนาคต ทั้งนี้ นอกจากการเพิ่มกำลังผลิตในปีนี้เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว เรายังมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตของโรงงานซูโจวให้เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับแผนการบุกตลาดระบบกักเก็บพลังงานแบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Energy Storage System) ของบ้านปูฯ ในปี 2563 ซึ่งโรงงานแห่งนี้สามารถรองรับการขยายไลน์การผลิตได้สูงสุดถึง กิกะวัตต์ชั่วโมง” นางสมฤดี กล่าวทิ้งทาย