APS เผยหุ้นส่งออกกระทบ กลุ่มอาหาร-ชิ้นส่วนฯ

154

มิติหุ้น-จากกรณีสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ(USTR) เผยการระงับสิทธิภาษีศุลกากร (GSP) กับไทย มูลค่าการค้าราว  1.3  พันล้านเหรียญ  หลักๆ คือ สินค้าอาหารทะเล ฯลฯ. ซึ่งจะมีผลใน  6 เดือนข้างหน้าระหว่าง พ.ย.62-เม.ย.63  โดยอ้างเหตุผลปัญหาแรงงานไทยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและตั้งแต่ต้นปี คือ พ.ค.62 สหรัฐตัดสิทธิ GSP กับตุรกี,  5 มิ.ย.62 สหรัฐตัดสิทธิกับอินเดีย

โดยพบว่า ไทยส่งออกไปสหรัฐ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ราว 12 % ของตลาดส่งออกไปทั่วโลก  รองลงงมาคือ จีน  ขณะที่ไทยใช้สิทธิ GSP ในปี  2561 ส่งออกสินค้าไปสหรัฐวงเงิน 4.2 พันล้านเหรียญ หรือคิดราว 1.7% ของยอดส่งออกไปทั่วโลก  และมีสินค้าที่ใช้สิทธิราว  1,200 สินค้า

ส่วนสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปสหรัฐ เกือบ 60% ของสินค้าส่งออกทั้งหมดหลักๆคือ คอมพิวเตอร์, ผลิตภัณฑ์ยาง, อัญมณี, อาหารทะเล, รถยนต์และส่วนประกอบ,  เครื่องจักรกล, เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนได้รับสิทธิ GSP กล่าวคือ เดิมไม่เสียภาษี (ตาม GSP)  หากไทยถูกตัดสิทธิต้องกลับมาจ่ายภาษีในอัตราทั่วไป

ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าว ประกอบกับทิศทางเงินบาทที่ยังแข็งค่า เป็นการตอกย้ำว่าหุ้นกลุ่มสินค้าส่งออก ต้องหลีกเลี่ยง  กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, กลุ่มส่งออกอาหาร     ทำให้ASPS เชื่อว่ารัฐต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มเติม รวมถึงพิจารณาลดดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้ง 0.25% อยู่ที่ 1.25% ในช่วงปลายป

 

ด้าน บทวิเคราะห์บล.เอเชีย พลัสฯ ระบุว่า ในเบื้องต้น หุ้นกลุ่มส่งออกที่ได้รับผลกระทบได้แก่ กลุ่มเกษตร-อาหาร (TU CPF และ STA) โดย 1.TU ในเบื้องต้นคาดมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกอาหารทะเลไปสหรัฐฯ ราว 17% ของรายได้รวม แบ่งเป็น ทูน่าราว 12% ของรายได้รวม และกุ้งราว 5% ของรายได้รวม คาดการส่งออกทูน่าจากไทยจะได้รับผลกระทบบ้างครับ

ส่วนธุรกิจกุ้ง TU มีบริษัทที่ทำการซื้อมา ขายไป (Trading) ในสหรัฐฯ ซึ่งปกติจะซื้อ (นำเข้า) กุ้งจากหลายประเทศอยู่แล้ว (อินเดีย เวียดนาม ไทย เอกวาดอร์ เป็นต้น) ทำให้ธุรกิจกุ้งน่าจะได้รับผลกระทบไม่มากครับ เพราะสามารถหาซื้อกุ้งจากประเทศอื่นแทนได้

 

ด้าน  CPF คาดมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ เพียง 0.3% ของรายได้รวม จึงคาดจะได้รับผลกระทบจำกัดขณะที่ STA มีสัดส่วนรายได้ส่งออกยางพาราไปสหรัฐฯ ราว 5% ของรายได้รวม โดยฝ่ายวิจัยจะสอบถามข้อมูลกับทาง STA เพิ่มเติมในวันจันทร์ครับ ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต (40% ของผลผลิตยางพาราโลก) และส่งออกยางรายใหญ่สุดของโลก ทำให้ฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะกระทบคำสั่งซื้อยางพาราจากไทยไม่มากครับ

 

นอกจากนี้ กลุ่มชิ้นส่วนฯ ในเบื้องต้นคาดว่าจะได้รับผลกระทบบ้าง โดยคาดว่าผู้ประกอบการชิ้นส่วนฯของไทย (DELTA HANA KCE และ SVI) มีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯโดยตรงราว 10-30% ของรายได้รวมโดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการไทยจะส่งออกชิ้นส่วนฯ ไปประเทศอื่นก่อน เพื่อประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป แล้วจึงส่งไปสหรัฐฯ

www.mitihoon.com