CPF งบไตรมาส1/61 ถูกกระทบราคาหมู-ไก่ตกต่ำ

524

มิติหุ้น-บล.เคจีไอ(ประเทศไทย) ระบุว่า บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF ระบุว่า จากกำไรสุทธิไตรมาส 4/2560 อยู่ที่ 2.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 34 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ ลดลง 53 % จากไตรมาสก่อน โดยสาเหตุสำคัญมาจากกำไรจากการขายเงินลงทุน 2.6 พันล้านบาท และกำไรจากรายการภาษี 1.7 พันล้านบาท  ซึ่งกำไรที่ออกมาสูงกว่าที่ Bloomberg consensus ถึง 30 % ส่งผลให้กำไรสุทธิในปี 2560 อยู่ที่ 1.53 หมื่นล้านบาท บวก 4 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ธุรกิจสัตว์บกถูกกดดันจากราคาหมูที่ลดลง ส่งผลให้รายได้จากธุรกิจปศุสัตว์ซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัท ซึ่งต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าจะฟื้นตัวได้ในขณะที่ธุรกิจสัตว์น้ำที่ดีขึ้นเล็กน้อยก็ยังไม่เพียงพอที่จะดึงผลประกอบการของบริษัทขึ้นมาได้เราคาดว่าราคาหมูจะฟื้นตัวช่วงครึ่งหลังของปี 2561 ซึ่งแปลว่าผลประกอบการจะยังคงไม่น่าสนใจในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และจากความเสี่ยงด้าน downside ต่อประมาณการทำให้อยู่ระหว่างการทบทวนราคาเป้าหมายและคำแนะนำหุ้น CPF

เช่นเดียวกับ บล.กรุงศรีระบุว่า CPF ธุรกิจปศุสัตว์จะยังคงเป็นตัวฉุดผลประกอบการในไตรมาส1/2561 ซึ่งราคาหมูในปัจจุบันอยู่ที่ 46 บาท/กก. ในขณะที่ต้นทุนการผลิตของ CPF อยู่ที่53-54 บาท/กก. เนื่องจากเกิดภาวะอุปทานล้นตลาดมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2017 และวงจรการเลี้ยงหมูเฉลี่ยก็นานถึงเก้าเดือน แต่คาดว่าน่าจะพลิกฟื้นได้ช่วงไตรมาส 2-3/2561 ส่วนธุรกิจไก่ก็น่าจะอยู่แค่จุดคุ้มทุนเท่านั้นเนื่องจากราคาไก่อยู่ที่ 31 บาท/กก. เท่านั้น ในขณะที่ต้นทุนการผลิตของ CPF อยู่ที่ 31-32 บาท/กก. ทั้งนี้ การส่งออกที่แข็งแกร่งจากญี่ปุ่นในปีที่แล้วส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานในประเทศล้นตลาด โดยเฉพาะโครงไก่ (7 บาท/กก. จากเฉลี่ยที่ 10-12 บาท/กก.) ส่วนกิจการในประเทศอื่นๆ ได้แก่ อินเดีย รัสเซีย และตุรกี ยังแข็งแกร่ง ยกเว้น Bellisio ซึ่งคาดว่าจะ ขาดทุนน้อยลงในปีนี้ จากการปรับโครงสร้างต้นทุน

พร้อมประเมินราคาเป้าหมายจากธุรกิจหลัก 3.20 บาท ซึ่งอิงจาก P/E ) ปี 2561 ที่ 14 เท่าและมูลค่าหุ้น 35 % CPALL ที่ 24.60 บาท/หุ้น อิงจากมูลค่า CPALL ที่ 80 บาท/หุ้นจึงคาดว่าผลการดำเนินงานที่อ่อนแอของธุรกิจปศุสัตว์น่าจะสะท้อนอยู่ในราคาหุ้นเกือบหมดแล้ว แต่คาดกำไรไตรมาส1/2561 จะยังคงอ่อนแอ แต่ก็มีแนวโน้มจะขยับสูงขึ้นได้ตั้งแต่ ไตรมาส 2/2561 ไปจากการฟื้นตัวของธุรกิจหมู