ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น”รายงานว่า บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) โดยบทวิเคราะห์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุว่า ประเมินราคาพื้นฐาน 10.31 บาท (เดิม 10.33 บาท) รับผลดีต่ออายุสัมปทาน 30 ปี สำคัญมาก
• คาดว่าในที่สุด BTS จะได้ร่วมทุนส่วนขยายสายสีเขียวกับ กทม. เพราะ 16 ก.พ.นี้จะมีแรงผลักดันคือ เริ่ม
ใช้ค่าโดยสารที่สูงขึ้นคือ สูงสุดที่ 104 บาท ขณะที่เงื่อนไขที่ BTS รับไป จะเกิดข้อดีทั้งกับกทม.และ
ประชาชน
• เมื่อได้ร่วมทุนและต่ออายุสัปมปทานไปอีก 30 ปี จะทำให้ธุรกิจของกลุ่มสร้างกำไรได้อีกยืนยาว ทั้ง
BTS,BTSGIF,VGI, KEX และ RLP มูลค่าที่เพิ่มอีกราว 1 บาทต่อหุ้น ด้านรถไฟสายสีส้มที่เป็นประเด็นจะ
ประมูลใหม่ยังต้องติดตาม
• แม้กำไรงวด FY20-21F จะถดถอยเพราะโรคโควิด-19 แต่คาดว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และจะมีภาพการฟื้น
ตัวในปีหน้าชัดเจน ด้านบริหารเดินรถกลับเติบโตสูงจากการขยายเส้นทาง และรายได้ในส่วน E&M ก็ไม่ได้
รับผลกระทบ
• ปรับเป็น ซื้อ หลังหุ้นปรับลงมากไป หากมองให้ไกลกลุ่ม BTS กำลังครอบคลุมธุรกิจที่จะไห้ผลกำไรอย่าง
มหาศาลในอนาคต รวมทั้งรุกตลาดสาธารณูปโภค ส่วนการลงทุนระยะสั้นก็สำเร็จ หุ้นขึ้นดีมากคือ
RS,JMT,NOBLE และHUMAN
คาดว่าในที่สุด BTS จะได้ร่วมทุนส่วนขยายสายสีเขียวกับ กทม. ด้วยแรงผลักดัน 2 ประการคือ 1) ประชาชนจะเริ่มถูกคิดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนขยายเพิ่มไปถึง 104 บาท หากเดินทางสุดสาย ตั้งแต่ 16 ก.พ.64 นี้ ทำให้คาดว่าจะมีกระแสสังคมมายังภาครัฐ และ 2) กทม.ยังค้างค่าบริหารเดินรถสายสีเขียวส่วนขยายที่ราว 8.5 พันล้านบาท ณ ม.ค.64 ซึ่งปัจจุบัน กทม.ยังไม่มีเงินมาชำระให้กับ BTS อย่างไรก็ตามเนื่องจากจะติดการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลตั้งแต่วันที่16 ก.พ.64 เช่นกัน การที่ครม.จะอนุมัติอาจจะมีความล่าช้าไปบ้าง แต่ทาง BTS ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะให้เวลาที่ราว 2 เดือน
เงื่อนไขที่ BTS เสนอให้ไปจะดีกับทั้งกทม.และประชาชน ตามเงื่อนไขคือ 1) คิดค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 ต่อเที่ยวประชาชนก็จะมีภาระน้อยลง 2) รับหนี้จากกทม.ที่ค้างไว้ราว 6.8-8.0 หมื่นล้านบาท และ 3) ให้ผลตอบแทนส่วนแบ่งรายได้กับกทม.เป็นเงิน 2 แสนล้านบาทตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี ข้อดีกับกทม.คือ แบ่งเบาภาระหนี้ และมีผลตอบแทนในอนาคตอีก
ส่วนกรณีที่กทม.จะเปิดหาผู้ร่วมทุนใหม่หรือว่าจ้างให้ BTS บริหารเดินรถอย่างเดียว ทาง กทม.จะต้องจ่าย
ดอกเบี้ยตกปีละ 1.3 พันล้านบาท ซึ่งเราคาดว่าจะเป็นภาระที่หนักสำหรับ กทม. ส่วนการที่ กทม.จะมีข้อต่อรองใหม่ๆ ก็จะต้องศึกษากันต่อไป
การได้ต่ออายุสัมปทาน 30 ปี เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับ BTS ทั้งนี้สัมปทานปัจจุบันคือ รถไฟฟ้า 2 สายคือ สีลม
และสุขุมวิท ที BTSGIF บริหารอยู่นี้จะหมดอายุในปี 2572 ที่จะถึงนี้แล้ว หรือเหลือเวลาอีกเพียง 9 ปี หาก BTS สามารถเจรจาร่วมทุนในส่วนขยายสายสีเขียวได้สำเร็จ ก็จะพ่วงด้วยการขยายสัญญาสัมปทานไปอึกถึง 30 ปี ซึ่งเรามองว่าจะคุ้มค่ากับเงื่อนไขที่ BTS ให้กับ กทม. เพราะมีความสามารถและประสบการณ์ที่จะบริหารจัดการได้ เช่น แม้ได้รับค่าโดยสารตลอดสายเพียง 65 บาท แต่ในความเป็นจริงผู้โดยสารมีการใช้รถไฟฟ้าเฉลี่ยส่วนใหญ่เพียง 3-7 สถานีหรือการบริหารให้สายสีเขียวตลอดเส้นมีรายได้และกำไรในอนาคต ก็มีความเป็นไปได้ เพราะจากการศึกษาพบว่ามีศักยภาพทางธุรกิจมากกว่าสายสีอื่นๆ
www.mitihoon.com