ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอกที่ 3 จนกรุงเทพฯ ได้สั่งปิดสถานที่เสี่ยง 31 แห่งและสมาคมผู้ค้าปลีกปรับเวลาเปิด-ปิดห้างนั้น ด้านบทวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุว่า จากการประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพฯ มีความเห็นให้ปิดสถานที่เที่ยง 31 แห่ง มีผลตั้งแต่ 25 เม.ย. – 9 พ.ค. 2564 ขณะที่ร้านอาหารยังสามารถเปิดได้ตามาตรการเดิม คือ เปิดได้ถึง 23.00 น. รับประทานอาหารในร้านได้ถึง 21.00 น. และเพิ่มมาตรการคือ ต้องเว้นระยะห่าง สองเมตรหรือหมิ่งเมตรแบบมีฉากกั้น
ด้านสมาคมผู้ค้าปลีกไทยและสมาคมศูนย์การค้าไทยประกาศให้ทราบว่าศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ปรับเวลาให้บริการตั้งแต่ 11.00-20.00 น. ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์ท ร้านอาหาร ที่ตั้งในศูนย์การค้า เปิดให้บริการ 21.00 น . ร้านค้าสะดวกซื้อ คอนวีเนียนสโตร์ จะปรับเวลา 05.00 22.00 น. ทั้งนี้มีผลครอบคลุมเฉพาะพื้นที่สีแดง 18 จังหวัดเท่านั้น ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน จนถึงวันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2554 (ยกเว้นจะมีประกาศของจังหวัด ระบุอื่นใดนอกเหนือจากนี้
ฝ่ายวิจัยจึงประเมินว่าจากการปรับลดและปิดสถานที่เสี่ยงดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มไหนบ้าง แม้ว่ารัฐบาลจะยังไม่มีมาตรการล็อกดาวน์และปิดสถานที่อย่างเป็นปีที่ผ่านมา ซึ่งมาตรการที่ออกมา ครั้งในการปิดสถานที่เสี่ยงบางแห่งในกรุงเทพและการเลื่อนเวลาปิดห้างจะส่งผลกระทบจำกัดต่อการ ดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มีอัตราเร่งมากขึ้น คงต้องติดตามว่ารัฐบาลจะมีมาตรการ เพิ่มเติมออกมาอีกหรือไม่ ทางฝ่ายได้สรุปหุ้นที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการของทั้งกรุงเทพและ สมาคมค้าปลีกออกมาดังนี้
1) กลุ่มร้านอาหาร แม้จะไม่ได้ปิดการให้บริการแต่เงื่อนไขการให้บริการที่มีข้อจำกัดและสัดส่วนการ ขายในกลุ่ม Delivery มากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกำไรให้ลดลง เช่น M, AU, OISHI, ZEN, CENTEL และ MINT
2) ห้างสรรพสินค้า, ไฮเปอร์มาร์เก็ต, Convenience store และร้านค้าที่อยู่ในห้างฯ – CPN, SF, CRC, HMPRO, DOHOME, ILM, MC, COM7, SABINA, CPW, SPVI, BJC, MAKRO, CPALL และ BEAUTY .
4) ร้านสปา – SPA
5) โรงภาพยนตร์/ลานสเก็ต/โบว์ลิ่ง – MAJOR
6) งดจัดงานเลี้ยง, ประชุม – ERW, CENTEL และ MINT
www.mitihoon.com