มิติหุ้น – วันที่ 8 พฤษภาคมของทุกปี ตรงกับ “วันธาลัสซีเมียโลก” ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เนื่องด้วยเป็นโรคทางพันธุ กรรมที่เป็นปัญหาระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยถือเป็นวาระแห่ งชาติที่ต้องมีการวางแผนยุ ทธศาสตร์กันโดยเร่งด่วน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคธาลัสซี เมียรายใหม่
นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพั ฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Goals) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเป้าหมายที่ 3 ซึ่งว่าด้วยการสร้างหลักประกั นว่าผู้มีชีวิตที่มีสุขภาพดี และส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุ กคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงเดือนธิดา ทรงเดช อาจารย์ประจำสาขาวิชาโลหิตวิ ทยาและมะเร็งวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิ บดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคธาลัสซีเมียสามารถป้องกันได้ อย่างยั่งยืนโดยการวางแผนการมี บุตร และเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้ งแต่ก่อนแต่งงาน ในบางรายอาจไม่แสดงอาการแต่เป็ นพาหะทำให้เกิดการถ่ายทอดทางพั นธุกรรมไปสู่บุตรหลานได้
แม้มีลูกป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย หากสอนลูกให้รู้จักวิธีการปฏิบั ติตัวในการดูแลสุขภาพ เข้ารับการรักษาติดตามอาการอย่ างสม่ำเสมอ โดยไม่ขาดการเข้ารับการถ่ายเลื อด และรับประทานยาขับเหล็กตามที่ แพทย์แนะนำ ก็จะสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่ อไปได้
เรื่องการเลือกรั บประทานอาหารสำหรับผู้ป่ วยโรคธาลัสซีเมียก็เป็นเรื่ องสำคัญ โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุ เหล็กสูง ได้แก่ พวกเนื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อวัว ตับ หรือเครื่องในสัตว์ ฯลฯ นอกจากนี้ ควรจะรับประทานอาหารเช่นเดียวกั บคนปกติทั่วไป ให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นความสุก และสะอาด ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงวิ กฤติ COVID-19
ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียมีโอกาสติ ดเชื้อไวรัส COVID-19 เช่นเดียวกับประชากรทั่วไปที่ แข็งแรงดี อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ป่ วยโรคธาลัสซีเมียติดเชื้อไวรัส COVID-19 อาจมีไข้สูง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก และต้องได้รับการถ่ายเลือดก่ อนกำหนด นอกจากนั้น ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่ตัดม้ ามแล้ว มีธาตุเหล็กสะสมสูงมาก หรือมีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน เส้นเลือดอุดตัน เมื่อติดเชื้อไวรัส COVID-19 อาจมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ ซ้อนมากกว่าคนปกติ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียควรดูแลสุ ขภาพร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการรับการถ่ายเลือด และรับประทานยาขับเหล็กอย่างสม่ำ เสมอ หลีกเลี่ยงโอกาสสัมผัสเชื้อไวรั ส COVID-19 และเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกั นเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเร็วที่สุดเมื่อมีโอกาส
ด้วยมาตรการการป้องกันการแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมี ยของโรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิ บดี มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนหนึ่งที่อยู่ต่างจังหวัดเดิ นทางมาเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลรามาธิบดีตามที่แพทย์ นัดลำบาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการติ ดตามการรักษา โดยทางโรงพยาบาลรามาธิบดี ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการแก้ไขปัญหาโดยการติดต่ อประสานให้ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมี ยเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลใกล้บ้าน โดยไม่ต้องเดินทางมาไกลถึ งโรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากนี้ได้มีการเพิ่ มจำนวนการจ่ายยาเพื่อให้ผู้ป่ วยโรคธาลัสซีเมียสามารถรั บประทานยาได้นานขึ้น จาก 1 เดือน เป็น 3 เดือน สำหรับการจัดลำดับการเข้ารั บการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี นั้น ได้มีการนัดหมายผ่านระบบออนไลน์ และนัดให้ผู้ป่วยมาเข้ารั บการตรวจรักษาในคราวละจำนวนไม่ มาก เพื่อลดความแออัด นอกจากนี้ ยังได้มีการให้ความรู้แก่ผู้ป่ วยโรคธาลัสซีเมียเพื่อให้รู้จั กป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้ อไวรัส COVID-19
ที่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิ บดี ได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ค้นคว้าหายาที่สามารถเพิ่ มการสร้างฮีโมโกลบินเอฟ (Hb F) ซึ่งจะส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมี อายุมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยธาลัสซีเมียมี อาการน้อยลง และต้องถ่ายเลือดน้อยลง รวมถึงการรักษาโรคธาลัสซีเมี ยให้หายขาดด้วยการตัดต่อยีนที่ สามารถทำได้ทั้ งกระบวนการในประเทศไทย ซึ่งการค้นคว้ายาชนิดใหม่ และการตัดต่อยีนดังกล่าว ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย คาดว่าจะพร้อมนำมารักษาผู้ป่ วยโรคธาลัสซีเมียได้จริงในอีก 5 ปีข้างหน้า
โดยปกติแล้วผู้ป่วยโรคธาลัสซี เมียจะต้องถ่ายเลือดทุก 3 – 4 สัปดาห์เป็นประจำ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหลั กฐานว่าเชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อทางการถ่ายเลือดได้ อย่างไรก็ตาม พบว่าในช่วงวิกฤติ COVID-19 มีจำนวนผู้บริจาคโลหิตน้อยลง ทำให้เลือดขาดแคลนจนทำให้ผู้ป่ วยโรคธาลัสซีเมียต้องเลื่ อนกำหนดการเข้ารับการถ่ายเลื อดออกไป
เพื่อเยียวยาภาวะการขาดแคลนเลื อดในช่วงวิกฤติ COVID-19 ขอเชิญชวนบริจาคโลหิตสำหรับผู้ ที่มีอายุ 17 – 70 ปี น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป ซึ่งมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง ไม่อยู่ระหว่างการรับประทานยารั กษาโรค หรือยาปฏิชีวนะ โดยควรรับประทานอาหารก่อนบริ จาคโลหิต งดเว้นอาหารจำพวกที่มีไขมันสูง รวมทั้งงดสูบบุหรี่ก่อนการบริ จาคโลหิต นอกจากนี้ ตามประกาศของศูนย์บริการโลหิ ตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ได้แนะนำให้ผู้ที่ได้รับฉีดวั คซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 รอดูอาการข้างเคียงก่อนมาบริ จาคโลหิต
สำหรับที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิ บดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ สามารถติดต่อบริจาคโลหิต ได้ทั้งที่ ห้องรับบริจาคโลหิต อาคาร 1 ชั้น 2 และที่ ห้องรับบริจาคโลหิต อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 3 ทุกวัน เวลา 08.30 – 12.00 น. และเวลา 13.00 – 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2201-1229, 0-2201-1219 (ห้องรับบริจาคโลหิต อาคาร 1 ชั้น 2) และโทร. 0-2200-4208 (ห้องรับบริจาคโลหิต อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 3)
www.mitihoon.com