ตลาดหุ้นไทย
ตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่ านมาได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่ างต่อเนื่องท่ามกลางตัวเลขผู้ติ ดเชื้อที่ยังคงอยู่ในระดับสู งกว่า 2,000 รายต่อวัน โดยตลาดหุ้นไทยได้ปิดที่ระดับ 1,581.98 จุด เนื่องจากความคืบหน้าในการเปิ ดลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนต้ านโรคโควิด-19 รวมไปถึงทาง ครม. ที่ได้มีการอนุมัติเงินกู้เพิ่ มเติมอีกจำนวน 500,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการ จนถึงใช้ในการสาธารณสุข ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตั วเพิ่มสูงขึ้นยังคงหนุนให้หุ้ นกลุ่มพลังงานมีราคาที่ปรับตั วสูงขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติยังคงมี แรงขายอย่างต่อเนื่องและจำนวนผู้ ติดโรคโควิด-19 ในประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับสู งยังเป็นประเด็นที่กดดันตลาดหุ้ นไทยอยู่ ดังนั้นแม้ว่าตลาดหุ้นไทยจะมี การปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงสั ปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่มีปัจจัยสนับสนุนที่ ชัดเจน ในขณะที่ยังคงได้รับแรงกดดันอยุ่ มาก ส่งผลให้นักลงทุนที่สนใจลงทุ นในตลาดหุ้นไทยยังอาจต้ องชะลอการลงทุนเพื่อรอจั งหวะการลงทุนและยังต้องติ ดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
ตลาดหุ้นต่างประเทศ
ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกเคลื่ อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาสะท้อนความผั นผวนที่ลดลงของตลาด โดยดัชนี S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้แตะระดับจุ ดสูงสุดอีกครั้งจากแรงซื้อในหุ้ นเทคขนาดใหญ่ช่วงท้ายสัปดาห์ ในขณะที่นักลงทุนเฝ้าจั บตาการประชุมเฟดครั้งหน้าถึ งแนวโน้มการตอบสนองต่ออัตราเงิ นเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น และตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดีอย่ างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็ นยอดขายบ้านใหม่ที่เพิ่มขึ้นกว่ า 20.1% และราคาบ้านที่เพิ่มขึ้น 13.2% ในช่วงเดือนที่ผ่านมา รวมถึงตัวเลขเงินเฟ้อฝั่งผู้บริ โภคออกมาที่ระดับ 3.1% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดที่ ระดับ 2.9% ส่วนทางฝั่งยุโรปตลาดโดยรวมปรั บขึ้นราว 1% จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้ นและการคลายความกังวลของตั วเลขผู้ติดเชื้อเนื่องด้ วยการกระจายของวัคซีนที่ทำได้ดี ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลาดหุ้นเอเชียยังคงถูกกดดั นจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสู งขึ้นในบางภูมิภาค แนะนำกระจายการลงทุนในหุ้นกลุ่ มวัฐจักรขนาดใหญ่ที่ได้ประโยชน์ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและหุ้ นในฝั่งยุโรปเนื่องจากมูลค่าพื้ นฐานยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ
ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกเคลื่
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลตอนแทบพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุคงเหลือ 10 ปี มีการปรับตัวลงสู่ระดับ 1.584 % จากการเผยมุ มมองของธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาชิคาโก ต่อนโยบายทางการเงินในปัจจุบั นที่จะยังคงผ่อนคลายต่อไป นอกจากนี้ผลตอบแทนพันธบัตรมี การปรับตัวลงสวนทางกับตัวเลขดั ชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริ โภคส่วนบุคคล (PCE) ที่ปรับตัวขึ้นสูงกว่าคาด สะท้อนถึงมุมมองของนักลงทุนที่ มีความกังวลน้อยลงต่อการเปลี่ ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจที่ จะเข้มงวดขึ้นในระยะถัดจากนี้ สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ ยงได้ต่ำยังคงแนะนำรักษาสัดส่ วนการลงทุนในตราสารหนี้เพื่ อกระจายความเสี่ยงของพอร์ ตการลงทุนและสร้างผลตอบแทนที่มั่ นคง โดยแนะนำลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอั นดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ Investment Grade เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการผิ ดนัดชำระหนี้ที่ต่ำ
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลตอนแทบพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุคงเหลือ 10 ปี มีการปรับตัวลงสู่ระดับ 1.584 % จากการเผยมุ
ตลาดสินทรัพย์ทางเลือก
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดที่ 1,905.3 ดอลลาร์ สรอ./ออนซ์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.52% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.45% ตลอดทั้งเดือน พ.ค. ราคาทองคำได้รับปัจจัยสนับสนุ นจากการดีดตัวขึ้นของอัตราเงิ นเฟ้อสหรัฐฯ โดยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่ อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ FED ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือน เม.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ที่ระดับ 0.6% จากระดับ 0.4% ในเดือน มี.ค. (MoM) และพุ่งขึ้น 3.1% ในเดือน เม.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ที่ระดับ 2.9% จากระดับ 1.9% ในเดือน มี.ค. (YoY) สำหรับนักลงทุนระยะยาว แนะนำให้คงสัดส่วนการลงทุน 3-5% ของพอร์ตการลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ ยงโดยรวมของพอร์ตการลงทุน
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.ค. ปิดที่ 66.32 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.31% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ราคาน้ำมันปรับตัวบวกแรงในช่ วงต้นสัปดาห์จากการที่โกลด์แมน แซคส์ ได้ออกมาคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันจะยังคงดีดตัวขึ้นต่ อไป แม้ว่าอิหร่านกลับมาส่งออกน้ำมั นในตลาด
โดยคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบ Brent จะสามารถดีดตัวแตะระดับ 80 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล ในไตรมาส 4 ได้แรงสนับสนุนจากอุปสงค์ที่เพิ่ มขึ้นทั่วโลกจากการฉีดวัคซีนต้ านโรคโควิด-19 ในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม สัปดาห์นี้ยังคงต้องติ ดตามผลการประชุมของกลุ่ม OPEC และ OPEC+ ที่จะประชุมกันในวันอังคารที่ 1 มิ.ย. นี้ แนะนำให้คงสัดส่วนการลงทุนและติ ดตามผลหารือเรื่องโควต้าการผลิ ตของการประชุมดังกล่าว
สัปดาห์ที่ผ่านมา Bond Yield ทั่วโลกปรับตัวลดลงสอดคล้องกัน หลังจากก่อนหน้านี้นักลงทุนมี
การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุ นและกองทุนที่แนะนำในสัปดาห์นี้
ภาวะตลาดการเงินมีลักษณะเป็น Risk-on ในสัปดาห์ก่อนหน้า สะท้อนตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรั บตัวสูงขึ้นนำโดยตลาดเอเชียเป็ นหลัก โดยเฉพาะจีนที่ดัชนี CSI300 ปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ต่อเนื่องกัน ในขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกลั บมาให้ผลตอบแทนสูงกว่ าตลาดโดยรวมอีกครั้ง โดยปัจจัยหลักๆ มาจากการที่นักลงทุนคลายความกั งวลเกี่ยวกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่ จะส่งผลให้นโยบายการเงิ นลดความผ่อนคลายลง สะท้อนจากผลตอบแทนพันธบัตรรั ฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ที่ทรงตัวอยู่ระหว่าง 1.55% ถึง 1.60% ต่อปี ตลอดทั้งสัปดาห์ และการคาดการณ์เงินเฟ้อในอีก 5 ปีข้างหน้าที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ ที่ 2.60% ต่อปี เมื่อเทียบกับช่วงที่อัตราเงิ นเฟ้อออกในช่วงก่อนหน้าที่ปรั บตัวสูงสุด 2.77% ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 แม้จะยังมีการเร่งตัวขึ้นอยู่ หลายประเทศในเอเชีย แต่ภาพรวมสถานการณ์ก็ดีขึ้นต่ อเนื่อง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่ผู้ติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ ปรับลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกั บสิ้นเดือน เม.ย. และอินเดียที่ผู้ติดเชื้อใหม่ ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ ในส่วนของนโยบายการเงิ นของประเทศยังน่าจะผ่อนคลายสนั บสนุนการฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังจากธนาคารกลางยุโรปยืนยันว่ าเร็วเกินไปที่จะหารือเกี่ยวกั บการเปลี่ยนแปลงนโยบาย Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP)
แม้สถานะการณ์การระบาดในยุ โรปจะดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากการรายงายพบว่ าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่ านมาธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการทำธุรกรรม Reverse Repo เพื่อดูดสภาพคล่องออกจากตลาดถึง 4.8 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนักวิเคราะห์บางส่วนไม่ได้กั งวลกับการกระทำดังกล่าวเนื่ องจากอาจจะเป็นการปรับสภาพคล่ องส่วนเกินในตลาด และอาจจะเป็นเรื่องดี เพราะแสดงให้เห็นว่า FED ไม่ได้ Behind-the-Curve ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงที่รุนแรงเมื่อถึงเวลา และในปัจจุบันจะแตกต่างจากในปี 2013 ที่สภาพคล่องส่วนเกินโดยเฉลี่ ยที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้ที่ FED ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4.5 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับปี 2013 ที่อยู่เพียง 1.0 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. เท่านั้น
โดยภาพรวมการลงทุนก็ยังมีแนวโน้ มที่จะยังมีความผันผวนเป็นช่วงๆ จากปัจจัยต่างๆ เช่น แรงกดดันเงินเฟ้อ หรือเรื่องของความผั นผวนจากตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะในกลุ่มสกุลเงินดิจิตอล รวมถึงข้อขัดแย้งทางการเมืองต่ างๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และจีน ดังนั้นในช่วงนี้อาจะเน้ นสะสมการลงทุนในกลุ่มที่มี โอกาสปรับลดลงน้อยเมื่อเทียบกั บกลุ่มอื่น โดยเฉพาะจีนที่ปรับตั วลดลงมากกว่าตลาดอื่นๆ โดยเฉลี่ยในปีนี้ ทำให้ระดับของการซื้อขายมี ความน่าสนใจมากขึ้นเมื่อเทียบกั บช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ตลาดยังปรับตัวได้อย่ างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับตลาดอื่ นอย่างชัดเจนในช่วงสองสัปดาห์ที่ ผ่านมา โดยภาพระยะยาวยังมีความน่ าสนใจและควรจะเป็นส่วนสำคั ญของพอร์ตฟอลิโอ โดยเราแนะนำกองทุน กองทุนเปิดกรุงศรีไชน่าเอแชร์อิ ควิตี้ (KFACHINA-A) หรือ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไชน่า อิควิตี้ (MCHINAGD) ในขณะที่กลุ่ม Global
เรายังคงชอบกองทุนเปิดพรินซิเพิ ล โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ (Principal GOPP-A) ในขณะที่การลงทุนในยุโรปก็น่ าสนใจจากระดับมูลค่าซื้ อขายและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และกระจายการกระจุกตัวในกลุ่ มสหรัฐฯ และจีนโดยแนะนำกองทุนเปิดเคแทม ยูโรเปียน อิควิตี้ ฟันด์ (KT-EURO)ในสัปดาห์นี้ติดตามตั วเลขเศรษฐกิจสำคัญนำโดย ISM Manufacturing (US), อัตราการจ้างงานนอกภาคเกษตร (US), Manufacturing PMI (China) และเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้ นฐาน (Eurozone) รวมถึงแผนรายจ่ ายงบประมาณประจำปีของสหรัฐฯ ประจำปี 2564 นอกจากนั้นยังต้องติดตามการทำธุ รกรรม Reverse Repo ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีการดูดซับสภาพคล่องบางส่ วนออกจากตลาด โดยวันจันทร์จะเป็นวันหยุ ดของตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากวัน Memorial Day
www.mitihoon.com