กสิกรไทย ขับเคลื่อนสังคมการปล่
กสิกรไทยจับมือธนาคารพัฒนาเอเชี ย และกองทุนเรสปอนส์อะบิลิตี้ ร่วมปล่อยกู้ 1.1 พันล้านบาท ให้บริษัท กรีน เยลโล่ (ไทยแลนด์) จํากัด เพื่อนำไปดำเนินโครงการกรีน เยลโล่ โซล่าร์ 1 ผลิต-ขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จาก 92 โครงการ ในรูปแบบโซลาร์รูฟท็อป, โซลาร์ฟาร์ม, และ โซลาร์ลอยน้ำ เป็นกำลังการผลิตรวม 60.3 เมกะวัตต์ ให้แก่ 14 บริษัทชั้นนำ เปิดทางสู่การสร้างสังคมการปล่ อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Society) สอดรับกับกรอบแผนพลังงานชาติ มุ่งสู่พลังงานสะอาด เพื่อบรรลุเป้ าหมายของประเทศไทยในการลดการปล่ อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน (SDGs) และความตกลงปารีส (Paris Agreement)
นายทิพากร สายพัฒนา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank หรือ ADB) และกองทุนเรสปอนส์ อะบิลิตี้ (responsAbility Fund หรือ rA) สนับสนุนสินเชื่อโครงการ (Project Finance) ในรูปแบบการปล่อยกู้ร่วม (Syndication Loan) วงเงิน 1.1 พันล้านบาท ในสัดส่วนแห่งละ 33.3% เท่ากัน เป็นระยะเวลา 13 ปี ให้แก่ โครงการกรีนเยลโล่ โซล่าร์ 1 ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลั งงานแสงอาทิตย์จาก 92 โครงการ ในรูปแบบโซลาร์รูฟท็อป, โซลาร์ฟาร์ม, และ โซลาร์ลอยน้ำ เป็นกำลังการผลิตรวม 60.3 เมกะวัตต์ ให้แก่ 14 บริษัทชั้นนำ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท กรีน เยลโล่ (ไทยแลนด์) จํากัด ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากโครงการโซลาร์เซลล์ ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยเป็นพลังงานสะอาดที่จำหน่ ายในราคาประหยัดผ่านสัญญาซื้ อขายไฟฟ้าระยะยาว (Private PPA) ให้แก่บริษัทผู้รับซื้อไฟฟ้า นับเป็นโครงการที่สร้างการเปลี่ ยนแปลงเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยให้ธุรกิจของผู้รับซื้ อไฟฟ้าสามารถลดต้นทุนการดำเนิ นงานได้ โดยเชื่อว่าจะเป็นโมเดลธุรกิจที่ มีศักยภาพที่จะสามารถต่ อยอดขยายไปในหลายพื้นที่ทั่ วประเทศไทย รวมทั้งตลาดภูมิภาคอาเซียนได้ ในอนาคต
ธนาคารกสิกรไทยตระหนักถึ งบทบาทสำคัญของการเป็นผู้ให้บริ การทางการเงินและขับเคลื่ อนเศรษฐกิจไทยภายใต้หลั กการธนาคารแห่งความยั่งยืน โดยธนาคารมุ่งมั่นที่จะดำเนิ นการเพื่อเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิ ตและธุรกิจของลูกค้า และพร้อมสนับสนุนลูกค้าก้าวสู่ เศรษฐกิจการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามที่ธนาคารได้ประกาศความมุ่ งมั่นในการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) ไว้ โดยธนาคารจะสนับสนุนด้านการเงิ นและการลงทุนเพื่อความยั่งยื นไม่น้อยกว่า 1-2 แสนล้านบาท ภายใน พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) และจะเป็นผู้บุกเบิกการเสนอผลิ ตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับกรอบแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลั งงาน (กบง.) กระทรวงพลังงาน ที่มีแนวทางให้ประเทศไทยมุ่งสู่ พลังงานสะอาด เพื่อให้ประเทศบรรลุเป้ าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) อีกทั้งยังสอดคล้องกับเป้ าหมายความตกลงปารีส (Paris Agreement) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยื นขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อให้ธนาคารและลูกค้ าของธนาคารก้าวสู่เศรษฐกิ จการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็นศูนย์ไปด้วยกัน
นายอ๊อทแมน ฮัจจิ ผู้ก่อตั้งและประธาน กรีน เยลโล่ กล่าวว่า การได้รับสนับสนุนทางการเงินเพื่ อดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นสิ่งยืนยันให้เห็นถึงความต้ องการผลิตไฟฟ้าจากพลั งงานแสงอาทิตย์ ในประเทศไทยและเอเชียตะวั นออกเฉียงใต้ที่เพิ่มมากขึ้น และตอกย้ำภาพความเป็นผู้นำธุรกิ จดังกล่าวของ กรีน เยลโล่ อีกด้วย โดยปัจจุบันธุรกิจและอุ ตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศไทยมี ความต้องการใช้ไฟฟ้ากว่า 70% ของความต้องการทั้งประเทศ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิ ตย์ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายลดคาร์ บอนในขณะที่ยังคงสามารถรั กษาการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ อีกทั้งยังทำให้ลูกค้าภาคธุรกิ จของเราสามารถลดค่าใช้จ่ายด้ านการใช้พลังงานได้อย่างยั่งยืน กรีน เยลโล่ ขอขอบคุณธนาคารพัฒนาเอเซีย ธนาคารกสิกรไทย และกองทุนเรสปอนส์อะบิลิตี้ ที่ให้การสนับสนุนการดำเนิ นโครงการดังกล่าว ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้กรีน เยลโล่ เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพั ฒนาให้กับภูมิภาคนี้
นายอองตวน เปรโดร ผู้บริหารด้านการลงทุน กองทุนเรสปอนส์อะบิลิตี้ กล่าวว่า การระดมเงินทุนสนับสนุน กรีน เยลโล่ ถือเป็นส่วนเสริมที่ยอดเยี่ ยมในพอร์ตโฟลิโอของเราในการสนั บสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลั งงานแสงอาทิตย์ให้กับลูกค้าทั้ งในกลุ่มพาณิชย์และกลุ่มอุ ตสาหกรรมในภูมิภาค ความร่วมมือกับกรีน เยลโล่ ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการส่ งเสริมด้านพลังงานหมุนเวี ยนในเอเชีย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกิ จกรรมการลงทุนของเรา