มิติหุ้น – ด้วยความมุ่งมั่นที่จะร่วมเป็ นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing หรือ IUU และเพื่อขจัดและป้องกันปั ญหาการค้ามนุษย์ ในภาคการประมงไทย จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิ บาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Center หรือ FLEC) ขึ้น ซึ่งโชว์ความสำเร็จการดำเนิ นงานในระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2558 – 2563 ได้มีส่วนขับเคลื่อนการแก้ปั ญหาแบบบูรณาการ เพื่อยุติปัญหาการใช้ แรงงานทาสในเรือประมง รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิ ตของแรงงานข้ามชาติและครอบครั วอย่างมั่นคง ส่งผลให้ศูนย์ฯ ได้รับการยอมรับ เป็นองค์กรต้นแบบการพลังภาครัฐ องค์กรอิสระ และเอกชน แก้ปัญหาการค้ามนุษย์ในระดับท้ องถิ่นอย่างยั่งยืน ชูความสำเร็จ มาจากการรวมพลังของ 5 หน่วยงานมุ่งตอบโจทย์ความต้ องการของแรงงานและครอบครัวเป็ นสำคัญ
นางสาวนาตยา เพชรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดิ นทางทะเลสงขลา ในฐานะกรรมการศูนย์ FLEC กล่าวว่า การดำเนินงาน ศูนย์ FLEC ในระยะที่ 1 (2558-2563 ) ได้บูรณาการความร่วมมือจาก 5 องค์กร ประกอบด้วย องค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน สมาคมวางแผนครอบครัวแห่ งประเทศไทย ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ คุณภาพชีวิตแรงงานประมง และสมาชิกในครอบครัวของแรงงานดี ขึ้น เป็นศูนย์กลางที่สามารถเชื่ อมโยงความรู้ความเชี่ ยวชาญของแต่ละองค์กร เพื่อช่วยเหลือแรงงานบนเรื อประมงให้ได้รับการปฏิบัติอย่ างเป็นธรรม และทำงานในสถานที่ที่ปลอดภั ยมากขึ้น รวมถึงสามารถเข้าถึงสวัสดิการสั งคม และสิทธิขั้นพื้นฐาน ทั้งการรักษาพยาบาล และการศึกษาของบุตรหลาน รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมที่ช่ วยเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ ายครัวเรือน นอกจากนี้ ศูนย์ฯ สามารถสร้างเครือข่ายและอาสาสมั คร 6,500 คน ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสี ยงและนำข่าวสารที่เป็นประโยชน์ มาให้แรงงานข้ามชาติ เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์หรื อการใช้แรงงานผิดกฎหมายทุ กประเภท ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่ วยการแก้ปัญหาและป้องกันการค้ ามนุษย์ หรือการใช้แรงงานผิดกฎหมายบนเรื อประมง ในจังหวัดสงขลามีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว
นางสาวนาตยา กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จของศูนย์ FLEC เป็นโมเดลการบู รณาการการทำงานแก้ปัญหาการค้ ามนุษย์ และขับเคลื่อนของภาครัฐ องค์กรอิสระ และภาคเอกชน สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่เกี่ ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ สามารถสื่อสารด้วยภาษากับแรงงาน เพื่อให้แรงงานและครอบครัวในอุ ตสาหกรรมประมงได้รับความช่ วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งมีการติดตามและประเมิ นผลการทำงานทุกปี ช่วยให้ศูนย์สามารถปรับรู ปแบบการทำงานให้ เหมาะสมและตามความต้องการของกลุ่ มแรงงาน และบรรลุเป้าหมายของศูนย์ฯ ทั้งการให้ความรู้การดูแลสุ ขภาพและความปลอดภั ยในการทำงานและการแจกกล่องยาให้ แก่ลูกเรือถึงเรือประมง รวมทั้งช่วงสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโควิด-19 ศูนย์ฯ ได้ปรับรูปแบบโดยเข้าลงไปให้ ความรู้ความเข้าใจเรื่ องโรคระบาดให้แก่ แรงงานและครอบครัว รวมทั้งมอบอุปกรณ์ป้องกัน หน้ากากอนามัย แอลกอฮอร์เจล เพื่อให้แรงงานสามารถมีชีวิตได้ อย่างปลอดภัย
จากการดำเนินงานของศูนย์ FLEC ในระยะที่ 1 ได้ช่วยให้แรงงานและครอบครัวให้ ประมาณ 15,000 คนในจังหวัดสงขลาได้เข้าถึ งการช่วยเหลือเพื่อให้มีชีวิ ตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการทำงานของศูนย์ฯ ครอบคลุม การเปิดศูนย์ฯ เพื่อให้บริการด้านต่างๆ แก่แรงงาน ทั้งเรื่องการรักษาพยาบาลเบื้ องต้น การให้คำปรึกษาด้านต่างๆ แก่แรงงานข้ามชาติในการดำรงชีวิ ตในจังหวัดสงขลา การส่งเสริมดูแลสุขภาพแรงงานที่ อยู่บนเรือประมงได้เข้าถึงยาขั้ นพื้นฐานกว่า 5,000 รายบนเรือประมงกว่า 100 ลำ นอกจากนี้ มีบุตรหลานแรงงานข้ามชาติ 263 คนได้มีโอกาสเรียนหนังสืออ่ านออกเขียนเพื่อเตรียมความพร้ อมเข้าระบบการศึกษา จนถึงสามารถส่งเด็กเข้าเรี ยนการเข้าเรียนของโรงเรียนรั ฐบาลในจังหวัดสงขลาได้ 22 คน ได้รับความเชื่อมั่นและไว้ วางใจจากแรงงานประมง ประมงเกี่ยวเนื่อง และครอบครัว รวมถึงนายจ้างเพิ่มขึ้นอย่างต่ อเนื่อง เห็นได้จากการให้ความร่วมมือ และเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิ จกรรมของศูนย์ฯ อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ศูนย์ FLEC เป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้ าใจของประเทศไทยที่ให้ความสำคั ญกับการขจัดปัญหา IUU และการค้ามนุษย์ โดยมีองค์กรในระดับประเทศ และระดับโลก เข้ามาเยี่ยมชมเพื่อแลกเปลี่ ยนประสบการณ์การดำเนินงานของศู นย์ฯ ขณะเดียวกัน จากความสำเร็จในการดำเนิ นงานของศูนย์ฯ มีส่วนร่วมช่วยให้สหภาพยุ โรปยกเลิกใบเหลืองกรณี IUU Fishing โดยซีพีเอฟได้ร่ วมมนำเสนอประสบการณ์เรื่ องการเคารพสิทธิมนุษยชนในภาคธุ รกิจผ่านสมาคมเครือข่ ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศ ในเวทีการประชุมสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และส่งผลให้ซีพีเอฟได้รั บการประเมินจาก Global Child Forum 2020 เป็นธุรกิจที่เคารพสิทธิเด็ก เป็นผลจากความร่วมมือดำเนิ นงานศูนย์ FLEC อีกด้วย
ทั้งนี้ 5 องค์กรร่วมก่อตั้งศูนย์ FLEC เตรียมสานต่อการดำเนิน ศูนย์ FLEC ในระยะที่ 2 (ปี 2564 – 2568 ) ขยายภาคีเครือข่ายการดำเนินงาน กับ 2 องค์กรชั้นนำ อย่าง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ GEPP เพื่อสานต่อการขับเคลื่อนการต่ อต้านการค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบ ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ของแรงงาน ทั้งเรื่องสุขภาพอนามัย การสร้างความเท่าเทียมทางการศึ กษา การส่งเสริมการเข้าถึงอาหาร เพื่อลดรายจ่ายและสร้างรายได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุ มชนเพื่อลดปริมาณขยะทะเล เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ทางทะเลต่อไป
🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้