เปิดกลยุทธ์วิเคราะห์ “หุ้นถ่านหิน”.. ชู Banpu เด่นสุด!

1412
รายงานข่าวจากบริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทยฯ ได้เปิด 9 หลักการวิเคราะห์หุ้น “ถ่านหิน” ไว้อย่างน่าสนใจอย่างยิ่ง โดยได้ยกหุ้น BANPU เป็นกรณีศึกษา
ทั้งนี้วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ ก็เพื่อให้นักลงทุนใช้เป็นแนวทางก่อนการตัดสินใจลงทุนในหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ได้อย่างถูกต้อง และลดความเสี่ยงในการลงทุน อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์หุ้นถ่านหินในทุกแง่มุมแล้ว ได้มีการชูหุ้น “Banpu” เด่นสุดในกลุ่มนี้..น่าติดตาม!
ย้อนรอย “หุ้นถ่านหิน”
บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทยฯ ระบุว่า หุ้นถ่านหิน ถือเป็นหุ้น Commodities ที่อยู่คู่กับตลาดไทยมายาวนาน ความนิยมในยุคก่อนก็พอๆ กับหุ้นน้ำมัน แต่ปัจจุบันหุ้นถ่านหินถือว่าโดนแรงกดดันมากมาย หุ้นถ่านหินที่รู้จักกัน อย่าง BANPU LANNA AGE หรือ TCC เกิดความผันผวนสูงมากๆ  อย่างไรก็ตาม ถ้าเราทำความเข้าใจธุรกิจของหุ้นที่กำลังสนใจ การลงทุนในหุ้นถ่านหิน อาจไม่ยากเกินความสามารถ

เปิดูกลยุทธ์เจาะ “หุ้นถ่านหิน”..ย้ำชัดต้องเข้าใจธุรกิจ
บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทยฯ ยังระบุอีกว่า การที่นักลงทุนสนใจลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจถ่านหินนั้น มี “หลักการสำคัญในการวิเคราะห์หุ้นถ่านหิน 9 วิธี” คือ..
1. เข้าใจประเภทถ่านหินและแหล่งที่มา โดยขั้นแรกต้องเข้าใจก่อนว่า หุ้นที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่นั้น ขายถ่านหินประเภทไหน และมีแหล่งที่มาของถ่านหินจากประเทศอะไร
ทั้งนี้ ประเภทของถ่านหินมี 4 ประเภท คือ 1. แอนทราไซต์ มีค่าความร้อน 6,500-8,000 Kcal/Kg ค่าความร้อนสูงสุด ใช้ในอุตสาหกรรมแก้ว เคมีและเหล็ก 2. บิทูมินัส มีค่าความร้อน 5,500-6,500 Kcal/Kg รองลงมาจากแอนทราไซต์ ใข้สำหรับเป็นเชื้อเพลิงหม้อไอน้ำของอุตสาหกรรมผลิตอาหาร และผลิตกระดาษ 3. ซับบิทูมินัส มีค่าความร้อน 4,500-5,500 Kcal/Kg ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 4. ลิกไนซ์ มีค่าความร้อน 3,000-4,000  Kcal/Kg ใช้งานทั่วไป เนื่องจากการให้ค่าความร้อนต่ำ
นอกจากนี้ จะต้องรู้แหล่งที่มาของถ่านหินอีกด้วย โดยแหล่งที่มาของถ่านหินมาจาก 2 ประเทศหลักๆ คือ 1. เหมืองอินโดนีเซีย เป็นเหมืองผิวดิน ถ่านหินมีคุณภาพต่ำ หุ้นที่มีเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซีย คือ BANPU LANNA และ AGE และ 2. เหมืองออสเตรเลีย เป็นเหมืองถ่านหินใต้ดิน ถ่านหินมีคุณภาพสูง หุ้นที่มีเหมืองออสเตรเลีย คือ BANPU
ทั้งนี้ การทำความเข้าใจแหล่งที่มาของถ่านหิน ทำให้เราสามารถวิเคราะหฺ์ข่าวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ว่า หุ้นตัวไหนได้ประโยชน์สูงสุดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์ที่จีนแบนถ่านหินออสเตรเลีย ทำให้ BANPU เสียประโยชน์มากกว่าหุ้นถ่านหินตัวอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีเหมืองอยู่ในออสเตรเลีย

รู้ข้อมูลด้านการเงิน..ก่อนลุยลงทุน “หุ้นถ่านหิน”       
หลักการวิเคราะหฺ์หุ้นถ่านหินในลำดับถัดมา จะต้องรู้ “ข้อมูลทางด้านการเงิน” สำคัญๆ ประกอบด้วย หลักการวิเคราะห์ในหัวข้อที่ 2. คือ “อัตรากำไรขั้นต้น” ซึ่งหุ้นถ่านหิน จะมีลักษณะใกล้เคียงกับหุ้นน้ำมัน กล่าวคือ เป็นสินค้าที่มีการซื้อขายผ่านตลาดโลก และมีราคาตลาด ดังนั้น บริษัทจึงไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ และเมื่อไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ ทำให้รายได้ของบริษัทมีการผันผวนตามราคาถ่านหินที่ผันผวนด้วยเช่นกัน ถ้าประเมินแนวโน้มราคาผิด จะทำให้โอกาสประเมินรายได้ผิดตามไปด้วยเป็นโดมิโน่
ทั้งนี้ ดัชนีราคาถ่านหินที่นักลงทุนมักจะติดตามกัน เพื่อดูแนวโน้มราคาถ่านหินโลก คือ ดัชนี Newcastle Coal ซึ่งเป็นดัชนีราคาถ่านหินแบบ FOB ที่เมืองท่า Newcastle ประเทศออสเตรเลีย ที่ใช้อ้างอิงกันในแถบ Asia Pacific
แต่ถ้าต้องดูราคาถ่านหินของประเทศอินโดนีเซีย สามารถดูได้ผ่านดัชนี Indonesia Coal Index (ICI) โดยจะมีดัชนีราคา 5 ตัวตามค่าความร้อนของถ่านหินแต่ละประเภท ถ้าเป็นเหมืองของ Banpu จะดูดัชนี ICI 2 และถ้าเป็นเหมืองของ LANNA จะใช้ดัชนี ICI 4
3. ดู “สัดส่วนรายได้” เมื่อนักลงทุนเข้าใจแนวโน้มราคาแล้ว ถัดมาคือการวิเคราะห์สัดส่วนรายได้ เพราะหุ้นถ่านหินหลายตัวในเมืองไทย มักจะไม่ได้มีรายได้จากเหมืองถ่านหินหรือการขายถ่านหินเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะ BANPU ถือเป็นหุ้นตัวอย่างที่ดีมาก ๆ ในกรณีนี้ เพราะมีรายได้มาจากหลายหลายแหล่้งที่มามาก ๆ สัดส่วนรายได้ของ BANPU ในไตรมาส 4 ปี 2021 มีดังต่อไปนี้..
– รายได้จากธุรกิจถ่านหิน 68.2%
– รายได้จากธุรกิจก๊าชธรรมชาติ 21.6%
– รายได้จากโรงไฟฟ้า 5.9%
– รายได้อื่น ๆ อีก 4.3%
แม้ BANPU จะมีรายได้จากส่วนอื่น ๆ มากพอสมควร แต่ก็ยังถือว่า รายได้จากธุรกิจถ่านหินยังคงเป็นรายได้หลักอยู่ เพราะมีสัดส่วนสูงถึง 68.2% ดังนั้น กำไรหรือขาดทุนจากธุรกิจนี้ จะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นอย่างมาก

4. “อัตราการทำกำไร” ในมุมของอัตราทำกำไร เนื่องจากหุ้นถ่านหินส่วนใหญ่ จะต้องมีการลงทุนอย่างมากในการสร้างเหมือง ทำให้อัตราส่วนทางการเงินที่ใข้ในการพิจารณาอัตราการทำกำไร หรือ EBITDA และ EBITDA Margin โดยถ้าหุ้นตัวนั้น มีธุรกิจที่หลากหลายประเภท นักลงทุนควรต้องแยกวิเคราะห์ธุรกิจแต่ละตัว โดยใช้อัตราการทำกำไรธุรกิจนั้น ๆ
EBITDA Margin หรือ อัตราการทำกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายของุรกิจ BANPU มีดังนี้ คือ ธุรกิจถ่านหิน 27.65 % ธุรกิจก๊าช 57.0% ธุรกิจโรงไฟฟ้า 44.6 %
สิ่งที่น่าสนใจ คือ อัตราการทำกำไรของธุรกิจถ่านหิน จะมีอัตราการขึ้นลงจากสัญญาซื้อขายที่บริษัททำกับลูกค้าเป็นหลักว่า เป็นสัญญาที่เป็นราคาคงที่หรือแปรผันตามราคาตลาดโลก ในขณะที่ธุรกิจโรงไฟฟ้า เป็นธุรกิจที่มีอัตราการทำกำไรที่มีเสถียรภาพมากกว่า การกระจายธุรกิจไปทำธุรกิจอื่น ๆ จึงทำให้กำไรของ BANPU มีเสถียรภาพมากขึ้น!
5. “เป้ารายได้จากการขาย” การซื้อขายถ่านหินโดยส่วนใหญ่ จะซื้อขายกันล่วงหน้า ดังนั้น ผู้บริหารของบริษัท จะรู้ล่วงหน้าว่า แนวโน้มของรายได้บริษ้ทจะเป็นอย่างไร ดังนั้น ในการวิเคราะห์หุ้นถ่านหิน นักลงทุนควรจะต้องติดตามสอบถามเป้าหมายรายได้จากผู้บริหารของบริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่า รายได้จะยังเติบโตตามเป้าหมายหรือไม่  และเนื่องจากจะมีรายได้บางส่วนที่มาจากสัญญาซื้อขายถ่านหินที่ไม่ได้มีการกำหนดราคาไว้ หรือปล่อยให้ราคาสามารถปรับตามราคาตลาดได้ ถ้าราคาถ่านหินลดลง อาจส่งผลกระทบเชิงลบ ทำให้รายได้ลดลงได้ ตรงกันข้ามอาจจะส่งผลกระทบในชิงบวก ถ้าราคาถ่านหินเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อรายได้ที่สูงขึ้น!
6. “การเติบโตของรายได้” การเติบโตในระยะยาวของรายได้ของธุรกิจถ่านหินมี 3 แบบด้วยกัน คือ 1. เติบโตจากราคาขายที่สูงขึ้น โดยอิงอยู่กับวัฎจักรของราคาถ่านหินว่า เป็นขาขั้นหรือขาลงมากน้อยแค่ไหน 2. เติบโตจากการมีลูกค้าจำนวนมากขี้น โดยเติบโตจากการมีลูกค้าจำนวนมากขึ้น หรือลูกค้ารายใหญ่เพิ่มเติม ส่งผลให้ปริมาณการขายดีขึ้น ซึ่งการเติบโตแบบนี้ดีที่สุด เพราะเป็นการเติบโตจากศักยภาพในการหาลูกค้าของบริษัทอง โดยพึ่งพิงปัจจัยภายนอกน้อยมาก และ 3. เติบโตจากการควบรวมกิจการ เป็นการเจิบโตที่ทำให้รายได้ของบริษัทสามารถเติบโตได้ทันที ในบางครั้งอาจเป็นการเข้าซื้อเหมืองที่มีการผลิจตถ่านหินอยู่แล้ว ประเด็นสำคัญที่นักลงทุนควรใส่ใจก็คือ ควรดูอัตราทำกำไรของเหมืองด้วย
ในช่วงหลักมานี้ “BANPU ใช้วิธีเพิ่มการเติบโตของรายได้ด้วยการควบรวมกิจการ เข้าซื้อแหล่งก๊าซธรรมชาติ Barnett ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการผลิตก๊าชธรรมชาติที่มีอัตราการทำไรดีมาก ๆ สามารถทำกำไรได้แม้ราคาก๊าชตกต่ำ”
7. “การเพิ่มกำลังการผลิต” หากบริษัทมีจำนวนลูกค้าหรือมูลค่าของคำสั่งซื้อมากขึ้น บริษัทสามารถขยายหรือเพิ่มกำลังการผลิตถ่านหินได้ โดยเฉพาะบริษัทที่ยังเล็กและมีกำลังผลิตน้อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่แล้ว บริษัทจะใช้วิธีซื้อกิจการมากกกว่า เพื่อให้สามารถรับรู้รายได้ทันที แทนที่จะต้องรอการพัฒนาโครงการหลายปี

8. “การลงทุนในธุรกิจอื่นๆ” ปัจจุบันบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน จะมีการลงทุนเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจอื่นๆ ด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจแนวใหม่ที่เป็น Technology หรือ Start Up ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดย “BANPU มีการลงทุนในุรกิจ Solar ระบบ Energy Storage รถไฟฟ้าและระบบรถเช่า ระบบซื้อขายไฟฟ้า” เป็นต้น
9. “การจ่ายปันผล” เมื่อนักลงทุนเข้าใจธุรกิจทั้งหมดแล้ว สุดท้ายต้องดูที่อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนของบริษัทด้วย เพราะหุ้นที่มีอัตราส่วนเงินปนผลตอบแทนสูง จะข่วยลดความผันผวนของราคาหุ้นได้อย่างมีนัยยะ
โดย BANPU ถือเป็นหุ้นที่มีอัตราการปันผลที่สม่ำเสมอพอสมควร โดยมีอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนดังนี้.. ปี 2561 จำนวน 4.93% ปี 2562 จำนวน 5.98% ปี 2563 จำนวน 5.51% ปี 2564 จำนวน 2.12% และปัจจุบัน จำนวน 3.48 % จะเห็นว่า อัตราส่วนเงินปันผลของ BANPU มีความต่อเนื่องมาก ๆ สะดุดไปปีเดียว คือ ปี 2564 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากปัญหาโรคระบาดในปี 2563
บทสรุปสำคัญ แม้การลงทุนในหุ้นถ่านหิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้า Commodities ที่มีราคาผันผวนมาก ๆ แต่ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์หาวัฏจักรขาขี้นของราคาถ่านหิน รวมไปถึงการวิเคราะห์พื้นฐานของบริษัทอย่างละเอียด การลงทุนในหุ้นถ่านหินอาจไม่ใช่การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงเสมอไป และอาจให้ผลตอบแทนที่ดีได้ หากลงทุนในจังหวะที่ถูกต้อง!
@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp