NITMX ก้าวสู่ปีที่ 18 มุ่งมั่นพันธกิจพัฒนาระบบชำระเงินไทยเชื่อมโลก เพิ่มศักยภาพภาคธุรกิจไทย สู่เศรษฐกิจดิจิทัล

74

มิติหุ้น  –  นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดเผยว่า โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่ผู้ให้บริการสามารถเข้าถึงได้และรองรับนวัตกรรมในโลกดิจิทัล จะเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนภาคการเงินเข้าสู่ยุคDigital Transformation โดย ธปท. สนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันและพัฒนาบริการทางการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มได้รับบริการอย่างทั่วถึงและสนับสนุนการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน

 

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX)  กล่าวว่า NITMX   เป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมาตรฐานระบบการชำระเงินที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะ ระบบพร้อมเพย์  (PromptPay)  ทำให้การชำระเงินและโอนเงินสะดวกรวดเร็วขึ้น ถึงมือผู้รับโดยตรง โปร่งใส และ ไม่มีค่าธรรมเนียม  โดยมีจำนวนผู้ลงทะเบียน PromptPay ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 อยู่ที่ 70ล้านหมายเลข เพิ่มขึ้น 22.1% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มียอดการโอนเงินเฉลี่ย 38.ล้านรายการต่อวัน เพิ่มขึ้น 59.3%  มูลค่ารวม 1.21 แสนล้านบาท  เพิ่มขึ้น 37.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  ช่วยผลักดัน Digital Payment ของประเทศให้เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประชาชนหันมาใช้จ่ายผ่านดิจิทัลแทนเงินสดมากขึ้น โดยปี 2564 มีธุรกรรมชำระเงินระหว่างธนาคารกว่า 10,000 ล้านรายการ และมีเงินหมุนเวียนผ่านระบบ ITMX มูลค่ารวม 39 ล้านล้านบาท  คิดเป็น 2.เท่าของ GDP ของประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2565 จากช่วง เดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 มีธุรกรรมชำระเงินระหว่างธนาคารกว่า 6,000 ล้านรายการ มูลค่ากว่า 23 ล้านล้านบาท

 

NITMX เดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายขีดความสามารถของระบบให้สามารถรองรับปริมาณธุรกรรมดิจิทัลที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้การทำธุรกรรมมีเสถียรภาพมากขึ้นบนมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยในระดับสากล  โดยภายในสิ้นปีนี้ NITMX มีแผนจะเพิ่มศักยภาพระบบให้สามารถรองรับการทำธุรกรรมได้สูงสุด 10,000 รายการต่อวินาที  จากเดือนกุมภาพันธ์ 2565 อยู่ที่ 6,000 รายการต่อวินาที เพิ่มขึ้นกว่า  40 เท่าจากปี 2560 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มเปิดใช้ระบบพร้อมเพย์ ขณะที่จำนวนธุรกรรมสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ 2,900 รายการต่อวินาที  จึงมั่นใจได้ว่าระบบการชำระเงินของไทย ภายใต้การพัฒนาของ NITMX  มีประสิทธิภาพทั้งในด้านศักยภาพการรองรับธุรกรรม และความมีเสถียรภาพที่ทำให้การทำธุรกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น และปลอดภัย”

 

ทั้งนี้ NITMX มุ่งมั่นพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ทิศทางการพัฒนาระบบการชำระเงินตามแนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  โดยเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินดิจิทัล สำหรับภาคธุรกิจ หรือ PromptBiz   สนับสนุนการทำธุรกรรมการค้าให้เป็นดิจิทัลแบบครบวงจร  โดยเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าและการชำระเงินของภาคธุรกิจ ผ่านผู้ให้บริการทางการเงินและเชื่อมต่อกับระบบภาษีของภาครัฐ  แก้ Pain Point การทำธุรกิจแบบเดิมที่ยังใช้เอกสารกระดาษ  มีต้นทุนสูง มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่าย   เปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดใหญ่  ช่วยเหลือคนตัวเล็ก ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ถูกลง  พร้อมให้ความสำคัญกับมิติของความยั่งยืน  ผ่านการพัฒนาระบบการชำระเงิน ที่มีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยให้ภาคธุรกิจและภาคประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น บนต้นทุนที่เหมาะสม โดยระบบยังส่งเสริมให้เกิดการปล่อยสินเชื่อโดยอาศัยข้อมูล หรือ InformationBased  Lending  โดยนำข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) มาใช้ในการพิจารณาให้สินเชื่อ เช่น ข้อมูลธุรกรรมการค้า   นับเป็นการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลใหม่ ที่จะช่วยให้การให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการ SME มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง

 

นางสาววรรณา นพอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด เปิดเผยว่า   เพื่อก้าวต่อไปอย่างมั่นคง  NITMX กำหนดแผนธุรกิจในปี 2565 มุ่งสร้างศักยภาพและเสถียรภาพการให้บริการระบบต่างๆ ให้สอดคล้องกับรูปแบบบริการทางการเงินในปัจจุบันและอนาคต  พร้อมยกระดับศักยภาพ Next Generation Digital Infrastructure เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเพื่อการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจดิจิทัล  รองรับแผนของ ธปท. ที่จะผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพการชำระเงินและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับภาคธุรกิจในโครงการ PromptBiz     ควบคู่ไปกับการเพิ่มขีดความสามารถและเสถียรภาพโดยการขยายระบบรองรับปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น  

 

NITMX ยังศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางต้นทุนสูงสุดในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร  รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน National Digital Trade Platform เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลก  

@mitihoonwealth

https://lin.ee/cXAf0Dp