BPP เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าบีแอลซีพี-หงสา

500

มิติหุ้น-บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ หรือ BPP หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Conventional Power Generation) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Generation) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานผลประกอบการที่ดีและผลกำไรที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งของไตรมาส 1/2561 โดยมีรายได้ 2,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวม 1,931 ล้านบาท กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) คิดเป็น 1,634 ล้านบาท และกำไรจากการดำเนินงาน 1,372 ล้านบาท (ยังไม่รวมการรับรู้ค่าใช้จ่ายจากคดีโครงการโรงไฟฟ้าหงสาจำนวน 901 ล้านบาท ที่บริษัทฯ ชำระครบเรียบร้อยแล้ว) ซึ่งเป็นผลจากการจ่ายไฟเข้าระบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีและหงสาที่มีอัตราการจ่ายไฟ (Equivalent Availability Factor: EAF) มากกว่าร้อยละ 90 อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบด้านการบริหารพอร์ตการลงทุนของโรงไฟฟ้าในทุกประเทศที่ช่วยสร้างผลตอบแทนและกระแสเงินสดอย่างสมดุล ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะขับเคลื่อนบริษัทฯ สู่เป้าหมายกำลังผลิต 4,300 เมกะวัตต์เทียบเท่า โดยมีพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ภายในปี 2568 ตามกลยุทธ์ผลิตไฟฟ้าที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Greener) ซึ่งขณะนี้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเติบโตมาถึงครึ่งทางสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

นายสุธี สุขเรือน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BPP เปิดเผยว่า “ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบ้านปู เพาเวอร์ฯ ในไตรมาสแรกของปี 2561 ตอกย้ำศักยภาพการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของบริษัทฯ จากโรงไฟฟ้าในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่มั่นคงจากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีและโรงไฟฟ้าหงสาที่สามารถรักษาระดับการจ่ายไฟ (Equivalent Availability Factor: EAF) ได้อย่างมีเสถียรภาพถึงร้อยละ 100 และ 92 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงและดีมากที่สุดตั้งแต่เดินเครื่องมา ในขณะที่โรงฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งในปีนี้มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นที่กำลังทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ถึง แห่ง มาเสริมทัพให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นอีก ขยายสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจนถึงครึ่งทางสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ภายในปี 2568

สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2561 ของโรงไฟฟ้าต่างๆ นั้น บริษัทฯ มีส่วนแบ่งกำไร 1,124 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 93 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วยส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ประเทศไทย จำนวน 523 ล้านบาท (รวมผลขาดทุนจากการแปลงค่าเงินทางบัญชีแล้วจำนวน 206 ล้านบาท)เพิ่มขึ้นร้อยละ 182 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการเปิดดำเนินการตามปกติของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี หลังเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุงตามแผนเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่โรงไฟฟ้าหงสา สปป.ลาว มีส่วนแบ่งกำไรจากการดำเนินงาน 609 ล้านบาท (รวมผลขาดทุนจากการแปลงค่าเงินทางบัญชีแล้วจำนวน 348ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าทั้งสองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถจ่ายไฟเข้าระบบได้อย่างมั่นคง

นอกจากนี้บริษัทฯ รายงานรายได้รวมจำนวน 2,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมทั้ง 3 แห่ง (CHP) ในประเทศจีน ได้แก่ โรงไฟฟ้าหลวนหนาน (Luannan) โรงไฟฟ้าเจิ้งติ้ง (Zhengding) และโรงไฟฟ้าโจวผิง (Zouping) มีรายได้เพิ่มขึ้น 83 ล้านบาท แม้ต้นทุนถ่านหินจะยังมีความผันผวน และรายได้จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ของส่วนขยายโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมหลวนหนานระยะที่ 2 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีรายได้รวม 36 ล้านบาท เป็นผลจากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ส่วนขยายโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมหลวนหนานระยะที่ ที่ COD ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีกำลังผลิต 52 เมกะวัตต์เทียบเท่า เมื่อประกอบกับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นจำนวน 3 โครงการที่จะทยอย COD ในช่วงปลายปีนี้อีก 44.5 เมกะวัตต์ ทำให้ตลอดปี 2561 บ้านปู เพาเวอร์ฯ จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นรวมประมาณ 96  เมกะวัตต์เทียบเท่า ในขณะที่ปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรวม 385.4 เมกะวัตต์ ซึ่งเติบโตถึงครึ่งทางสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ทั้งนี้ภายในปี 2566 บ้านปู เพาเวอร์ฯ จะมีกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าที่ COD แล้วและโครงการโรงไฟฟ้าที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนารวมทั้งสิ้น 2,789 เมกะวัตต์เทียบเท่า

“บ้านปู เพาเวอร์ฯ สร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการบริหารพอร์ตการลงทุนให้เกิดความสมดุลระหว่างการสร้างผลตอบแทนและกระแสเงินสด ด้วยการแสวงหาโอกาสลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานหลากหลายรูปแบบทั้งในประเทศที่บริษัทฯ มีธุรกิจอยู่ และประเทศที่มีศักยภาพ เช่น เวียดนาม เป็นต้น ทั้งนี้ความสามารถในการบริหารพอร์ตการลงทุนที่สมดุลของบ้านปู เพาเวอร์ฯ ไม่เพียงส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ แต่ยังช่วยสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับองค์กรและผู้ถือหุ้นอีกด้วย” นายสุธี กล่าวปิดท้าย

ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร บมจ.บ้านปู เพาเวอร์

www.mitihoon.com