มิติหุ้น – นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมเวที CEO Dialogue : แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโครงการธุ รกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุ รกิจในตลาดทุนไทย (ระยะที่ 2) ในหัวข้อ”เตรียมความพร้อมธุรกิ จสู่การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่ างรอบด้าน” จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรั พย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อระดมความเห็นและแลกเปลี่ ยนประสบการณ์จากผู้บริหารองค์ กรภาคเอกชน นำมาเป็นข้อมูลประกอบการจั ดทำเครื่องมือช่วยส่งเสริมภาคธุ รกิจดำเนินการด้วยการเคารพสิทธิ มนุษยชน ตามหลักการชี้แนะขององค์ การสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกั บสิทธิมนุษยชน (UNGPs) อย่างเป็นรูปธรรม
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟมีการลงทุนใน 17 ประเทศทั่วโลกและส่งออกมากกว่า 40 ประเทศ บริษัทดำเนินธุรกิจบนพื้ นฐานของความยั่งยืน โดยยึดปรัชญา 3 ประโยชน์ คือ ไปลงทุนที่ไหนแล้วต้ องทำประโยชน์ให้ประเทศนั้นๆ เพื่อที่จะอยู่ได้ในระยะยาวอย่ างยั่งยืน ต้องทำประโยชน์ให้กับสังคม หากทำทั้งสองเรื่องสำเร็จ ก็จะทำให้บริษัทอยู่ได้ ในระยะยาว นอกจากนี้ ภายใต้เป้าหมายกลยุทธ์ CPF 2030 Sustainability in Action ซึ่งเป็นเป้าหมายสู่ความยั่งยื นของซีพีเอฟ ยังได้บรรจุเรื่องของสิทธิมนุ ษยชนเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักด้วย
“เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็ นนโยบายจากท่านประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ ว่าการที่จะทำให้บริษั ทประสบความสำเร็จในระยะยาวอย่ างยั่งยืน เราต้องดูแลสมาชิกในบริษัท และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การดูแลลูกค้าให้ ประสบความสำเร็จ พนักงานของเรา ต้องได้รับการดูแลให้อยู่กั บเราอย่างมีความสุข มีรายได้ที่ดี และ คู่ค้าของเราก็ต้ องประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้นการดูแลเรื่องสิทธิ มนุษยชน ไม่ใช่ดูแลแค่บริษัทเรา แต่เราต้องดูแลทั้งซัพพลาย เชน ว่าจะทำอย่างไรให้ยั่งยืนไปด้ วยกัน” นายประสิทธิ์ กล่าว
พร้อมกันนี้ ซีอีโอ ซีพีเอฟ ยกตัวอย่างการดำเนินโครงการต่ างๆของบริษัทที่ให้ความสำคัญกั บเรื่องของสิทธิมนุษยชน ทั้งกลุ่มของลูกค้า พนักงาน คู่ค้า ซึ่งต้องทำทั้งซัพพลาย เชน อาทิ การรับพนักงานต่างชาติเข้ามาร่ วมงาน ที่บริษัทฯ จัดจ้างตรงจากประเทศต้นทาง โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิ ดขึ้นในกระบวนการจัดจ้างทั้งหมด ทั้งค่าตรวจโรค ค่าวีซ่า ค่าเดินทาง จนพนักงานเดินทางถึงประเทศไทย เพื่อไม่ให้แรงงานต่างชาติมี ภาระหนี้สิน (debt free recruitment process) จากการสมัครงาน และพนักงานต่างชาติทุกคนยังได้ รับค่าตอบแทนและสวัสดิการเท่ าเทียมกับพนักงานคนไทย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ทวนสอบหลังการจัดจ้าง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการจั ดจ้างพนักงานต่างชาติดำเนิ นการอย่างโปร่งใส
บริษัทฯ ยังได้จับมือกับมูลนิธิเครือข่ ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Promotion Network Foundation: LPN) จัดอบรมให้พนักงานของซีพีเอฟมี ความรู้ด้านสิทธิด้านแรงงาน อาชีวอนามัยและธรรมาภิบาล และ จัดให้มีช่องทางรับฟังเสียงพนั กงาน “ศูนย์ Labour Voices Hotline by LPN” เพื่อให้พนั กงานสามารถเสนอแนะและแจ้งข้อร้ องเรียนผ่านองค์กรที่เป็ นกลางได้ด้วยภาษาตนเอง ถึง 4 ภาษา (กัมพูชา เมียนมา อังกฤษ และไทย) ช่วยให้บริษัทฯรับทราบปัญหา หรือข้อเสนอแนะของพนักงานเพื่ อปรับปรุงมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนได้ ทันสถานการณ์ ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็ นอยู่ให้พนักงานทุกคน ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานร่ วมกัน
ในส่วนของการดูแลและให้ความช่ วยเหลือคู่ค้า โดยเฉพาะผู้ ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ในช่วงที่เกิดสถานการณ์ ระบาดของโควิด -19 ว่า ซีพีเอฟ มีซัพพลายเออร์ที่เป็นผู้ ประกอบการเอสเอ็มอี กว่า 6 พันราย ซึ่งได้รับการดูแลให้ สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยลดระยะเวลาเครดิตเทอมจาก 45-60 วันเป็น 30 วัน และปัจจุบัน ยังได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพ ดำเนินโครงการ “CPF x BBL เสริมสภาพคล่อง…เคียงข้างคู่ ค้า” สนับสนุนคู่ค้าธุรกิจของซีพี เอฟให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุ นที่มีอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เป็นความร่วมมือผ่านบริการสิ นเชื่อหมุนเวียน เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่ องทางการเงินให้คู่ค้าสามารถสร้ างการเติบโตได้อย่างมั่นคง
ในด้านของความท้าทายต่อการดำเนิ นธุรกิจที่ต้องเคารพสิทธิมนุ ษยชน ซีอีโอ กล่าวว่า องค์กรใหญ่อย่างซีพีเอฟ อาจจะมีความท้าทายบ้าง จากจำนวนบุคลากร ซึ่งปัจจุบัน เรามีพนักงานในประเทศไทยและทั่ วโลก รวมประมาณ 130,000 คน มีความหลากหลาย แต่เราก็มีกระบวนการในการรับพนั กงานที่เข้ามาทำงาน มีทีมงานที่เข้าไปดูแลกลุ่มต่ างๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นความยากด้านบุ คลากร แต่บริษัทฯมีการกำหนดโครงสร้ างและทีมงานในการเข้าไปดูแล และยังถ่ายทอดแนวทางการปฏิบัติ ที่ดีต่อแรงงานให้กับคู่ค้าธุ รกิจ เพื่อให้ตลอดห่วงโซ่อุ ปทานของซีพีเอฟมีการปฏิบัติต่ อแรงงานตามหลักสิทธิมนุษยชน ไม่มีการใช้แรงงานผิดกฎหมายทุ กรูปแบบ
ทั้งนี้ การจัดสัมมนา CEO Dialogue มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิ ดความมุ่งมั่นในเชิงนโยบายจากผู้ นำองค์กร และพร้อมส่งต่อความมุ่งมั่นไปยั งหน่วยงานอื่นๆ ในห่วงโซ่คุณค่า และบุคลากรขององค์กร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่ งของการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิ ทธิมนุษยชน ลดผลกระทบและสร้างผลลัพธ์เชิ งบวกจากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรั พย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า สถานการณ์ที่มีการเปลี่ ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจที่มีธรรมาภิบาล
คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่ งแวดล้อมและสังคม รวมถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน จะช่วยให้ภาคธุรกิจเติบโตได้อย่ างยั่งยืน และที่สำคัญยังสามารถตอบโจทย์นั กลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียที่ เกี่ยวข้องซึ่งต่างให้ความสำคั ญกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น .
@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0D
https://lin.ee/cXAf0D