มิติหุ้น – ก้าวสู่ปีที่ 6 ของการรวมพลัง สานต่อความมุ่งมั่นขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ก้าวไกลอย่างมั่นคงและยั่งยืน…มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี นำโดย องคมนตรี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ (กลาง – แถวบน) ในฐานะประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จัดการประชุม CONNEXT ED Conference 2022 “แนวทางความร่วมมือ 3 ภาคส่วนในการสนับสนุนการศึกษาไทย ประจำปี 2565” ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีคณะที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวตรีนุช เทียนทอง (ที่ 3 จากซ้าย – แถวบน) ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ (ที่ 4 จากซ้าย – แถวที่ 3 จากบน) ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยซีอีโอ คณะผู้บริหารจากองค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตร ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หารือและวางแผนการดำเนินงาน โดยเฉพาะด้านการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน แนวทางเสริมสร้างทักษะซอฟท์สกิลนักเรียน เดินหน้าสร้างเด็กดีมีความสามารถ โดยปีนี้ มูลนิธิฯ ได้เพิ่มเครือข่ายพันธมิตรอีก 3 องค์กรอย่างเป็นทางการ ขยายจาก 12 องค์กรชั้นนำผู้ร่วมก่อตั้ง 19 องค์กรรุ่นที่ 2 และ 13 องค์กรรุ่นที่ 3 เดิม รวมปัจจุบันเป็น 47 องค์กร
สำหรับแผนงานในระยะต่อไปของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ยังคงมุ่งเน้นความร่วมมืออันเข้มแข็งจากทุกภาคส่วน โดยสำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ จะนำแบบอย่างการดำเนินงานและผลสำเร็จของมูลนิธิฯ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ไปประยุกต์ใช้ต่อยอด พร้อมผลักดันเป็นนโยบายสู่ระดับประเทศ ได้แก่ 1. นำระบบฐานข้อมูลและการบริหารจัดการโรงเรียน (School Management System) ไปใช้จัดเก็บข้อมูลและประเมินคุณภาพโรงเรียน จากเดิม 5,570 แห่ง ขยายผลสู่ 30,000 แห่งทั่วประเทศ 2. เสริมกำลังผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) ภาครัฐ เพื่อปฏิบัติภารกิจส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครูและนักเรียน โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุม 5,000 โรงเรียนทั่วประเทศ 3. ทำแผนงบประมาณจัดตั้ง 6 ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) โดยวางแผนนำร่องใน 6 ภูมิภาคๆ ละ 1 แห่ง เพิ่มเติมจากศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของเอกชนที่ปัจจุบันมีอยู่ 19 แห่งทั่วประเทศ 4. ถอดบทเรียนเชิงลึก พร้อมนำ 17 โมเดลองค์ความรู้จากองค์กรภาคเอกชนไปขยายผล เพื่อพัฒนาโรงเรียนในการดูแลทั่วประเทศ และ 5. สนับสนุนงบประมาณจากสพฐ. จำนวน 2.5 ล้านบาท จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร “PCARE” (Phenomenon – Content – Application – Reflection – Execution) ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกับชีวิตจริงโดยใช้โน้ตบุ๊กเป็นฐาน แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ “คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา” วางแผนนำร่อง 45 โรงเรียน โดยจะมีการติดตามผล ถอดบทเรียน และทำรายงานวิจัย เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ทำให้เกิดการแบ่งปันองค์ความรู้ สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการเพิ่มโอกาสให้เด็กไทย สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลมากขึ้น โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติมาตรการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาเพื่อการศึกษา สำหรับนักเรียน ป.1 – ม.6 จำนวน 1.6 ล้านคน
สำหรับความร่วมมือจนถึงปัจจุบัน มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ได้มีส่วนร่วมในการยกระดับการจัดการการศึกษาในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี จากโรงเรียนในสังกัดสพฐ. ทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 5,570 แห่ง มีนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาสะสมแล้วกว่า 2.31 ล้านคน โดยผลการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในระยะที่ผ่านมา มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
1. การเปิดเผยข้อมูลสถานศึกษาสู่สาธารณะ (Transparency)
– ปรับเกณฑ์การวัดระดับคุณภาพโรงเรียน (School Grading) ในปีการศึกษา 2564 ให้ท้าทายยิ่งขึ้น โดยเพิ่มน้ำหนักการประเมินด้านผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน เพิ่มตัวชี้วัดด้านคุณธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความตระหนักรู้และสร้างคุณค่าสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
2. กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม (Market Mechanisms)
– แต่งตั้งผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) จากองค์กรเอกชน เพื่อร่วมดูแลโรงเรียนในโครงการกองทุนศึกษา มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี พร้อมจัดอบรมต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะและเตรียมความพร้อมรอบด้านอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมี School Partner 1,567 คน ที่ผ่านการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ
– ประกาศแต่งตั้งและเดินหน้าจัดอบรมออนไลน์ให้แก่ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 พร้อมขยายการรับสมัคร รุ่นที่ 3 อีก 500 คน โดยเปิดโอกาสให้ครูอัตราจ้าง สามารถสมัครได้ อีกทั้งยังแต่งตั้ง ICT Talent Coach ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อติดตามการทำงานของ ICT Talent ภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างทั่วถึง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่จำนวน 1,500 คน ดูแล 3,600 โรงเรียน
– ต่อยอดการระดมทุนโครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา (Notebook for Education) สำหรับโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี สร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยขยายเวลาการระดมทุนเป็น 30 มิถุนายน 2566 พร้อมคัดเลือกโรงเรียนนำร่องที่จะเข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร PCARE
– รวบรวมแนวทางการสนับสนุนโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี 17 โมเดล เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพันธมิตร หรือผู้ที่สนใจนำไปใช้กับโรงเรียนในความดูแล
3. การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน (High Quality Principals & Teachers)
– จัดอบรมออนไลน์เสริมทักษะต่างๆ แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและภาคเอกชน เช่น การพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล การสร้าง Growth Mindset การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นต้น
4. เด็กเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างคุณธรรมและความมั่นใจ (Child Centric & Curriculum)
– พัฒนาและจัดทำชุดความรู้นวัตกรรมคุณธรรมคอนเน็กซ์อีดี และบทเรียนโมเดลคุณธรรมจาก 13 ภาคเอกชน พร้อมทั้งทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่อง และจะขยายผลความร่วมมือกับภาครัฐอบรมครูแกนนำต่อไป
– ภาคเอกชน ขยายผลการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) 19 แห่งทั่วประเทศ พร้อมลงพื้นที่อบรมและติดตามการดำเนินงานตามกระบวนการ Child Centric ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
– จัดทำคลังความรู้จากพันธมิตร ในรูปแบบรายการ Learning Zone อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
5. การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructures)
– ต่อยอดการระดุมทุนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา (Notebook for Education) โดยจัดทำโครงวิจัยและพัฒนาหลักสูตร PCARE ซึ่งจะจัดอบรมให้แก่ครูในโรงเรียนนำร่องเพื่อเสริมทักษะและความสามารถในการใช้อุปกรณ์ไอซีทีมาบูรณาการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัลให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด ตามแนวทาง Digital Device Based Learning (DDBL)
@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp