PTT สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 23 – 27 ม.ค. 66 และแนวโน้ม 30 ม.ค. – 3 ก.พ. 66

92

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น ท่ามกลางคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกฟื้นตัว จากจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นำเข้าน้ำมันดิบในเดือน พ.ย. 65 รวมเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 21.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะจีนหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 และเปิดประเทศ โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) คาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนในปี 66 จะขยายตัวอยู่ที่ +4.8% จากปีก่อนหน้า

สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 85 – 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ด้านปัจจัยเคลื่อนย้ายเงินทุนคาดว่าจะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นหลังการประชุมนโยบายการเงิน Federal Open Market Committee (FOMC) ของสหรัฐฯ วันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. 66 โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งละ 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.0% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค. – 1 ก.พ. 66 และวันที่ 15 – 16 มี.ค. 66 และจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวจนถึงปลายปี 66

จับตามาตรการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) น้ำมันสำเร็จรูปรัสเซียซึ่งขนส่งทางทะเล วันที่ 5 ก.พ. 66 โดยกลุ่มชาติมหาอำนาจ G7 (แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ) และสหภาพยุโรป (EU) เห็นพ้องกำหนดเพดานราคา Diesel ที่ 100-110 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (ปัจจุบันราคา Diesel รัสเซียอยู่ที่ 115-120 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าราคาตลาดยุโรปซึ่งอยู่ที่ประมาณ 125 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) ซึ่งมาตรการดังกล่าวอาจส่งผลต่ออุปสงค์น้ำมันดิบ

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ รายงานอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ประมาณการครั้งที่ 1 ในไตรมาส 4/65 อยู่ที่ +9% จากไตรมาสก่อนหน้า (คาดการณ์ที่ +2.6% จากไตรมาสก่อนหน้า)
  • นาง Jennifer Granholm รมว. กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ แถลงแผนเร่งซื้อน้ำมันดิบเข้าคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ปริมาณ 60 ล้านบาร์เรล (หากราคาน้ำมันดิบ WTI เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 67 – 72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล)

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

  • Reuters ประเมินรัสเซียส่งออกน้ำมันดิบ Urals, Siberian Light และ KEBCO จากท่าส่งออก Ust-Luga ในทะเล Baltic ในเดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้น 50% จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 1 ล้านตัน (1.67 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และมีแผนส่งออกน้ำมันดิบในวันที่ 1-10 ก.พ. 66 เพิ่มขึ้น 10% จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 1 ล้านตัน (0.73 ล้านบาร์เรลต่อวัน)
  • Reuters ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกในปี 66 มาอยู่ที่ +0% จากปีก่อนหน้า (จากคาดการณ์เดิมที่ +2.1% จากปีก่อนหน้า) เนื่องจากเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 1-2 ปี 66 มีแนวโน้มชะลอตัวมากกว่าคาด

 

 

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon