จากภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 65 ที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งกิจกรรมภาครัฐ-ภาคธุรกิจทยอยกลับมาเป็นปกติในช่วงครึ่งหลังของปี 65 รวมถึงการเปิดประเทศทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามามากขึ้น หนุนให้เป็นปีที่มีปริมาณการเดินทางเป็นจำนวนมากใกล้เคียงกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด COVID-19
โดยจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ทำให้รถไฟฟ้าใต้ดินได้รับอานิสงส์ไปด้วย โดยรถไฟฟ้าใต้ดินสายที่โดดเด่นที่สุดและเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศไทย คงหนีไม่พ้นสายสีน้ำเงิน (MRT) เนื่องจากเป็นสายที่มีการเดินทางครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นรถไฟฟ้าสายสำคัญ หรือจะเรียกว่าเป็น “จุดไข่แดง” ก็ได้เช่นกัน
“ไข่แดง” จุดยุทศาสตร์ของ BEM
บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM มี จุดยุทธศาสตร์ หรือจุดไข่แดง คือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) ที่มีลักษณะเดินทางเป็น Circle Line หรือวงแหวนที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางทั่วกรุงเทพฯ ทำให้มีปริมาณผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก รวมถึงรถไฟฟ้าสายอื่นที่มาเชื่อมสถานีกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) จะยิ่งหนุนให้มีปริมาณผู้โดยสารเข้ามายังรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน
อีกทั้งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) ยังเป็นเส้นทางที่ผ่านพื้นที่สำคัญของประเทศไทย เช่น ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ซึ่งเป็นไฮไลท์ของกรุงเทพฯ เนื่องจากมีการจัดงานแสดงและการประชุมสำคัญระหว่างประเทศอยู่เสมอ จึงทำให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเป็นสายที่มีความสำคัญของประเทศไทยอย่างมาก
ดังนั้น ในปี 66 จากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน จะทำให้มีรายได้ในส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT จะโตราว 50-60% รวมถึงการปรับอัตราค่าโดยสาร 3-4 สถานีในราคาเริ่มต้น 17-43 บาท จากเดิม 17-42 บาท ( ราคาโดยสาร 1-12 สถานี) ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารเพียง 1 ครั้งภายใน 2 ปี จะหนุนให้บริษัทฯ มีรายได้เข้ามามากขึ้น
พื้นที่เชิงพาณิชย์ จะเติบโตอย่างไร
ส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์ บริษัทฯ มองว่าเป็นธุรกิจที่จะเข้ามาเป็นตัวตัวสำคัญสำหรับการเติบโตของบริษัทฯในอนาคตได้ เนื่องจากมีมาร์จิ้นสูงมากกว่า 50% จึงต้องการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้ดียิ่งขึ้น โดย มองว่าหากมีรายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์เข้ามามากขึ้น บริษัทฯ จะเดินหน้าพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้รายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์เติบโตก้าวกระโดด
รวมถึงการดึงจุดเด่นของแต่ละสถานที่มาพัฒนาให้สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) กลายเป็นแลนมาร์คสำคัญ ยังช่วยผลักดันให้บริษัทฯ มีรายได้เติบโตมากขึ้น โดยมองว่า “พื้นที่ที่มีเท่าเดิม และจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้” อีกทั้งในปี 66 บริษัทฯ คาดว่ารายได้เชิงพาณิชย์จะโตแตะ 1.2 พันลบ. หรือราว 30% จากปี 65 ที่มีรายได้ 900 ลบ.
ปี 65 กำไรสุทธิพุ่ง 141.2%
บริษัทฯ อวดผลประกอบการปี 65 ทำกำไรสุทธิพุ่งสูงถึง2,436 ลบ. เติบโต 141.2% (YoY) จากปริมาณจราจรทางด่วนเพิ่มขึ้น 22.4% และผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่ม 84.5% หนุนให้รายได้แข็งแกร่ง หรือหากแยกเป็นรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่14,030 ลบ. เพิ่มขึ้น 30.8% โดยรายได้ค่าผ่านทางเพิ่มขึ้นเป็น1,742 ลบ. รายได้ค่าโดยสารและรับจ้างเดินรถเพิ่มขึ้นเป็น1,463 ลบ. และรายได้พัฒนาเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นเป็น 99 ลบ.
อีกทั้งในปี 66 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโตแตะระดับ 1.7 หมื่นลบ. จากปีก่อน COVID-19 อยู่ที่ 1.6 หมื่นลบ. โดยมองว่าปริมาณจำนวนผู้ใช้ทางด่วนในปี 66 จะโตขึ้น 10% หรือแตะระดับ 1.14 ล้านเที่ยวต่อวัน ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) เพิ่มขึ้น 70-75% หรือแตะระดับ 4.5 แสนคนต่อวัน จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 2.7 แสนคนต่อวัน
ควบคุม Cost ได้ดี
ด้าน “นางสาวปาหนัน โตสุวรรณถาวร รองกรรมการผู้จัดการ บัญชีและการเงิน บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ” กล่าวว่า “บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าต้นทุนที่สูง ไม่ได้มีปัญหาต่อบริษัทฯ และไม่ได้แปรผันตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น” อีกทั้งมอง Character ของหุ้น BEM ว่าเป็น “หุ้นไฮบริด ที่มีการเติบโตสูง (Hight Growth) และมีการจ่ายเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ”
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon